‘อุตตม’ เตรียมเปิดเวทีถกยุทศาสตร์อุตฯการศึกษา เล็งกำหนดเขตส่งเสริมลงทุนอีอีซี-ทั่วประเทศ ลุ้นทุนยุโรปลงทุนหลังเลือกตั้ง

นายอุตตม สาวนายน รับมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Transform เศรษฐกิจไทย ก้าวไกลสู่อนาคต” ที่ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดยหนังสือพิมพ์มติชน ถึงความคืบหน้าการส่งเสริมอุตสาหรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมที่ 12 อุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญ จะต้องมีการจัดเวทีให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกันเพื่อกำหยดยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมและมีมาตรการออกมา

ตัวอย่างมาตรการหนึ่ง คือ ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่ผ่านมาได้มีการประกาศและกำหนดเขตส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสหกรรม ถ้าเป็นคลัสเตอร์การศึกษาและการวิจัยจะสามารถกำหนดเขตส่งเสริมการลงทุนที่เป็นรูปธรรม ชักจูงให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยของไทย มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกหรือสถาบันต่างประเทศแล้วเข้าลงทุนในไทย ซึ่งจะมีการกำหนดสิทธิประโยชน์การลงทุนจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ให้เหมาะสม

“ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาและการพัฒนาคน กระทรวงศึกษาไม่ได้คิดแค่หน่วยงานเดียวต้องเข้ามาร่วมกันว่าจะมีการพัมนาอย่างไร ทั้งกลุ่มแรงงานในปัจจุบันว่าจะมีการเสริมทักษะเพิ่มเติมอะไรบ้าง กลุ่มแรงงานใหม่ที่จะเข้ามาในระบบเศรษฐกิจควรจะมีทักษะอะไรบ้าง ตั้งใจและเชื่อว่าจะสามารถดึงมหาลัยทั่วโลกเข้ามาร่วมกัน โดยพื้นที่อีอีซีเป็นพื้นที่หนึ่ง แต่มองถึงพื้นที่อื่นทั่วประเทศด้วย ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่นานหลังจากนี้จะมีความชัดเจน เพราะหน่วยงานต่าง ๆ มีแผนงานอยู่แล้ว” นายอุตตม กล่าว

นายอุตตม กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะริเริ่มปรับเปลี่ยนประเทศซึ่งทุกคนเห็นว่ามีความจำเป็น โดยส่วนตัวเห็นว่าขณะนี้ความพร้อมมีและโอกาสมาแล้ว

ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไรโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งการปรับเปลี่ยนประเทศจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพต้องร่วมกันแบบหุ้นส่วนที่แท้จริง ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคมภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ดำเนินตามเป้าหมาย มุ่งหวังให้เป็นเศรษฐกิจที่สามารถสร้างความแข็งแกร่ง สร้างความมั่งคั่ง กระจายครอบคลุมเพื่อสร้างความยั่งยืน สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ที่สั่งสมมา ทั้งความเลื่อมล้ำและการเข้าถึงโอกาส

นอกจากนี้ บทบาทของไทยในเวทีโลกและภูมิภาคจะต้องชัดเจน เพราะโลกทุกวันนี้เชื่อมโยงไทย และไทยมีทำเลที่ตัง ทรัพยากร และกำลังคนพร้อม จะต้องสร้างพันธมิตรการค้า การลงทุน เพื่อเชื่อมโยงกับโลก

“ความพร้อมการปรับเปลี่ยนประเทศวันนี้ใจมาแล้วเรามียุทธศาสตร์เป็นของตนเองไม่ต้องก็อปปี้ใคร ที่เหลือจะต้องมาร่วมกันปรับเปลี่ยนที่แท้จริง ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับฑูตหลายประเทศในยุโรป และอื่นๆ ขณะนี้เขามองประเทศไทยมีศักยภาพสูงทั้งการค้า ลงทุน เขารู้ว่าเรามียุทธศาสตร์ประเทศแต่ที่ต้องการ คือ ต้องการเห็นไทยมีความเข้มแข็ง มีความพร้อม แต่อยู่ที่ว่าเราจะทำตามยุทธศาสตร์และจะส่งมอบมองส่งการบ้านจริงหรือไม่ ซึ่งหลังจากการเลือกตั้งก็ต้องติดตามว่าการลงทุนจากฝั่งยุโรปจะเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่” นายอุตตม กล่าว

นอกจากนี้ นายอุตตม กล่าวว่า วันที่ 12-13 พฤศจิกายนนี้ คณะจาก จ.มิเอะ ประเทศญี่ปุ่น กว่า 60 คน จะเดินทางร่วมลงนามเปิดศูนย์พัฒนานวัตกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย ที่สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ถือเป็นเป็นตัวอย่างการสร้างพันธมิตรกับต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทั้งสองประเทศมียุทธศาสตร์ที่ตรงกัน โดยเป็นจ.มิเอะ เป็นจังหวัดที่สร้างสตาร์ทอัพลำดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหาร ด้านเทคโนโลยี รถยนต์ เครื่องจักร เป็นต้น

 

ที่มา มติชนออนไลน์