ครม.ไฟเขียว ร่างพ.ร.บ.ยา ตัดมาตราเปิดช่องร้านสะดวกซื้อขายยาได้

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 13 พ.ย. ว่า ครม. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. ยา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ด้วยสภาวะการที่เปลี่ยนไป บัญชียา สภาวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวกับยามีการพูดคุยให้ปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับปัจจุบัน จึงให้มีการแก้ไข โดยกำหนดคณะกรรมการ อนุกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่ได้มาซึ่งผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ และการขึ้นบัญชียา ให้กระบวนการอนุญาตรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สาระสำคัญนั้นที่ผ่านมาใครจะขึ้นบัญชียาต้องผ่านอย.ที่เกี่ยว การแก้ไขกฎหมายจะทำให้อย.มีสิทธิในการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานรัฐหรือเอกชน ทำหน้าที่กลั่นกรองบัญชีใหม่ๆ เพราะที่ผ่านมากระบวนการช้าในเรื่องของการตรวจสอบ การรับรองมาตรฐาน แหล่งผลิต การแก้ไขกฎหมายจะทำให้ความรวดเร็วในการรับรองบัญชียาจะเร็วขึ้น แต่สุดท้ายต้องผ่านความเห็นชอบจาก อย.ทั้งหมด

นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในการแก้ไข พ.ร.บ.ยา มีการแก้ไขบทกำหนดลงโทษ อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพ.ร.บ. เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันจากเดิม 1 หมื่นบาท จะเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน หรือร้านขายยา จาก 3 พันบาท เป็นไม่ให้เกิน 5 พันบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มเพดานสูงสุดของค่าธรรมเนียม ส่วนรายละเอียดว่ายาประเภทใดมีค่าธรรมเนียมเท่าไรกระทรวงสาธารณสุขจะต้องออกกฎหมายลูกต่อไป

เมื่อถามว่าร่างแก้ไขพ.ร.บ.ก่อนหน้านี้เหมือนจะมีการเปิดกว้างให้ร้านสะดวกซื้อขายยาได้ด้วย นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า นั่นคือการเสนอเข้ามาตอนแรกที่จะนำเข้ามา ก็มีการเขียนให้ผู้ประกอบการการยาได้กว้างขึ้น แต่จากความวิตกกังวลของประชาชน ครม.ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องไปร่างพ.ร.บ.ยาขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีการยกและตัดมาตรานั้นออกไปทั้งหมด

“สิ่งที่เป็นกังวลอยู่จะไม่มีในพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมีเฉพาะที่จำเป็นและน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของพ.ร.บ.และบัญชียาให้ทันสมัยรวดเร็วขึ้น ในสิ่งที่กังวลไม่ได้มีบรรจุอยู่ในพ.ร.บ.ยาฉบับนี้ ซึ่งเคยอยู่ในมาตรา 22 ตอนนี้ตัดออกไปทั้งหมดแล้ว” นายพุทธพงษ์ กล่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 13 พ.ย. ว่า ครม. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. ยา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ด้วยสภาวะการที่เปลี่ยนไป บัญชียา สภาวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวกับยามีการพูดคุยให้ปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับปัจจุบัน จึงให้มีการแก้ไข โดยกำหนดคณะกรรมการ อนุกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่ได้มาซึ่งผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ และการขึ้นบัญชียา ให้กระบวนการอนุญาตรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สาระสำคัญนั้นที่ผ่านมาใครจะขึ้นบัญชียาต้องผ่านอย.ที่เกี่ยว การแก้ไขกฎหมายจะทำให้อย.มีสิทธิในการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานรัฐหรือเอกชน ทำหน้าที่กลั่นกรองบัญชีใหม่ๆ เพราะที่ผ่านมากระบวนการช้าในเรื่องของการตรวจสอบ การรับรองมาตรฐาน แหล่งผลิต การแก้ไขกฎหมายจะทำให้ความรวดเร็วในการรับรองบัญชียาจะเร็วขึ้น แต่สุดท้ายต้องผ่านความเห็นชอบจากอย.ทั้งหมด

นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในการแก้ไข พ.ร.บ.ยา มีการแก้ไขบทกำหนดลงโทษ อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพ.ร.บ. เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันจากเดิม 1 หมื่นบาท จะเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน หรือร้านขายยา จาก 3 พันบาท เป็นไม่ให้เกิน 5 พันบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มเพดานสูงสุดของค่าธรรมเนียม ส่วนรายละเอียดว่ายาประเภทใดมีค่าธรรมเนียมเท่าไรกระทรวงสาธารณสุขจะต้องออกกฎหมายลูกต่อไป

เมื่อถามว่าร่างแก้ไขพ.ร.บ.ก่อนหน้านี้เหมือนจะมีการเปิดกว้างให้ร้านสะดวกซื้อขายยาได้ด้วย นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า นั่นคือการเสนอเข้ามาตอนแรกที่จะนำเข้ามา ก็มีการเขียนให้ผู้ประกอบการการยาได้กว้างขึ้น แต่จากความวิตกกังวลของประชาชน ครม.ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องไปร่างพ.ร.บ.ยาขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีการยกและตัดมาตรานั้นออกไปทั้งหมด

“สิ่งที่เป็นกังวลอยู่จะไม่มีในพ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงมีเฉพาะที่จำเป็นและน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของพ.ร.บ.และบัญชียาให้ทันสมัยรวดเร็วขึ้น ในสิ่งที่กังวลไม่ได้มีบรรจุอยู่ในพ.ร.บ.ยาฉบับนี้ ซึ่งเคยอยู่ในมาตรา 22 ตอนนี้ตัดออกไปทั้งหมดแล้ว” นายพุทธพงษ์ กล่าว
/////////////////