พ.ร.บ. ภาษีปิโตรเลียมลงราชกิจกาฯแล้ว มีผล 22 พ.ย.

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศ “พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๑” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน รับสนองพระราชโองการ โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี โดยมีมีใจความว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้

ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนาและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทาหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติมาตรา ๓ มาตรา ๖ และมาตรา ๗ ให้ใช้บังคับสาหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๑๔) ของมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑๔) การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชาระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นามาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับชาระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก”

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกชื่อหมวด ๔ การชำระภาษี แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“หมวด ๔การชาระและขอคืนภาษี”

มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๔/๑ และมาตรา ๔๔/๒ ของหมวด ๔ การชำระภาษี แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔

“มาตรา ๔๔/๑ การขอคืนภาษีเงินได้ปิโตรเลียมหรือภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่

(๑) ในกรณีผู้มีสิทธิขอคืนได้ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือได้ยื่นรายการภายในเวลาที่อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีขยายหรือเลื่อนออกไป ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคาร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ

(๒) ในกรณีผู้มีสิทธิขอคืนอุทธรณ์การประเมินหรือเป็นคดีในศาล ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือหรือนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณีคำร้องขอคืนตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืน ณ สถานที่ตามที่อธิบดีกำหนด

มาตรา ๔๔/๒ เพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้เจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งความแก่ผู้มีสิทธิขอคืนหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสาร หรือหลักฐานอันควรแก่เรื่องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร”

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความใน (๑๔) ของมาตรา ๖๕ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑๔) การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชาระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นามาคำนวณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก”

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความใน (๑๒) ของมาตรา ๖๕ เอกวีสติ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑๒) การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชาระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับชาระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก”

มาตรา ๘ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีที่ค้างอยู่หรือที่พึงชาระสาหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๙ ในการดำเนินการออกกฎกระทรวงและประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และการขอคืนภาษีเงินได้ปิโตรเลียมให้มีความชัดเจนและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้