เงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 62 สูงขึ้น 0.27% ผลจากราคาพลังงานประกอบกับสินค้าเกษตร

เงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 62 สูงขึ้น 0.27% ผลจากราคาพลังงาน ประกอบกับสินค้าเกษตร ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนคาดจะมีผลหลังจากแข็งค่าขึ้น มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรและรายได้ หวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) ทั่วไป เดือนมกราคม 2562 เท่ากับ 101.71 เพิ่มขึ้น 0.27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลง 0.36 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการชะลอตัวของเงินเฟ้อ สาเหตุมากจากการลดลงของราคาพลังงาน ลดลงจาก 1.24% ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.51% ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่หมวดอาหารสดสูงขึ้น 1.14% จากราคาข้าวสาร เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร ส่วนราคาผลผลิตสินค้าเกษตรบางชนิด ลดลงตามปริมาณผลผลิต อย่างไรก็ดี เมื่อไม่รวมอาหารสดและพลังงานออก มีผลทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.69% ขณะที่เงินเฟ้อทั้งปียังคงเป้าหมาย 1.2%

โดยปัจจัยที่มีผลต่อเงินเฟ้อ การลดลงของราคาพลังงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 6.09% ยกเว้น ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซยานพาหนะ (LPG) นอกจากนี้ หมวดผักและผลไม้ ลดลง 4.36% เนื่องจากปัจจัยสภาพอากาศมีผลทำให้ ผลผลิตดีขึ้น ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.34% โดยเฉพาะข้าว แป้ง เยื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 0.76% หมวดการตรวจสุขรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น 0.67% หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา สูงขึ้น 0.29% หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้น 0.22% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 0.01%

อย่างไรก็ดี การชะลอตัวของเงินเฟ้อในเดือนนี้ สาเหตุหลัก มาจากการลดลงของราคาน้ำมีน ตามการลดลงของตลาดโลก การลดลงของราคาผัก ผลไม้ ตามปริมาณที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการชะลอการปรับค่าโดยสารสาธารณะ และการแข็งค่าของเงินบาท ในขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ และหากพิจารณาจากปัจจัยอื่น โดยเฉพาะต้นทุนและปริมาณผลผลิตแล้ว ยังพบว่าการบริโภคยังอยู่ในระดับดี สอดคล้องไปตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และมองว่าเงินเฟ้อจะยังเคลื่อนไหวในระดับที่เสถียรภาพอยู่

กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2562 อยู่ในกรอบ 0.7-1.7% หรือประมาณการณ์ 1.2% ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อยู่ในกรอบ 3.5-4.5% น้ำมันดิบดูไบ 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 32.5-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ พร้อมกันนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงถึงว่าต่ำสุดในรอบ 27 เดือน และอัตราแลกเปลี่ยนก็มีผลทำให้ต่อเงินเฟ้อ และกดดันต่อสินค้าเกษตร ทำให้รายได้ลดลง ซึ่งก็คาดหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะติดตามดูแลต่อไป