‘สมคิด’ หารือ ‘เกษตร-มท.-อุตฯ-พาณิชย์-สธ.-วิทย์’ เร่งแผนบูรณาการงบปี 63 วงเงิน 1.2หมื่นล้าน

นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันที่ 14 ก.พ.2562 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาติดตามแผนบูรณาการและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประจำปี 2563 โดยมี กระทรวงเกษตรฯ เป็นฝ่ายรวบรวมและเลขานุการงบประมาณบูรณาการ ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นการเดินทางมาของรองนายกฯครั้งนี้เพื่อร่วมจัดทำงบประมาณบูรณาการงบร่วมกัน

ทั้งนี้การบูรณาการงบประมาณเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนและเกษตรกร มีรายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้น และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของรายได้ประชากร สร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนสร้างอาชีพและรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีความมั่นคง ตลอดจน พัฒนาผลิตภัณณฑ์ชุมชน โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญหาท้องถิ่น เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์

ตลอดจนส่งเสริมพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้กับสู่ท้องถิ่น ผ่านกลไกสหกรณ์ ร้านค้าชุมชน วิสาหกิจชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนและแหล่งสินเชื่อการเกษตรในภาครัฐ ส่งเสริมการบริหารจัดการและพัฒนาระบบธนาคารที่ดิน สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชขนและกลุ่มอาชีพ ส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อยมโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นรากฐานอขงอาชีพ

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า แผนบูรณาการและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ปี 2563 จะมีการบูรณาการงบประมาณร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้วงเงิน 12,076.9509 ล้านบาท เพื่อยกระดับรายได้ของกเกษตรกร ประชาชน สถานบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ 7,255 ตำบล เป้าหมาย เพื่อลดปัญหาความยากจนของประชาชน โดย 80% ของกลุ่มเป้าหมายต้องมีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน และกลุ่มเป้าหมายต้องมีรายได้สูงขึ้นเฉลี่ย 10%

สำหรับแนวทางการดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพไม่น้อยกว่า 600,000 ราย ภายใต้งบประมาณบูรณาการ 6,804 ล้านบาท ,พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการส่งเสริมแปรรูปสินค้าเกาตรในระดับชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ครอบคลุมจำนวนผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 60,000 คน หรือ 2,000 กลุ่ม

จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 7,000 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้งบประมาณ 3,471.4 ล้านบาท และ พัฒนาระบบบริหารจัดการและกลไกการตลาด โดยการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสถาบัน พัฒนากลไก สหกรณ์ รานค้าชุมชน วิสาหกิจุมชน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงภาคเกษตรภายใต้งบประมาณ 1,801.11 ล้านบาท

 

 

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์