สทนช.หารือบิ๊กตู่ 11มี.ค.นี้ หลังน้ำต้นทุนน้อย “ภูเก็ต-สมุย”วุ่นเขื่อน112 แห่งน้ำน้อยกว่า30%ของปริมาณ-3เขื่อน”

สทนช.หารือบิ๊กตู่ 11มี.ค.นี้ หลังน้ำต้นทุนน้อย “ภูเก็ต-สมุย”วุ่นเขื่อน112 แห่งน้ำน้อยกว่า30%ของปริมาณ-3เขื่อน”อุบลรัตน์-สิรินธร-ลำนางรองน้ำน้อยใกล้เคียงปี59

 

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช.ได้ร่วมหารือกับ การประปาส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่รับผิดชอบน้ำกินใช้ในเมืองท่องเที่ยว และจะนำรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ น้ำกิน น้ำใช้ โดยเฉพาะในเขตเมืองท่องเที่ยว อาทิ เกาะสมุย เกาะภูเก็ต ที่มีประชากรแฝง อย่างนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก การประปาส่วนภูมิภาคต้องดูแลในเรื่องนี้ไม่ให้เกิดปัญหากระทบการท่องเที่ยว

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ได้หารือกับหน่วยงานน้ำทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอสำหรับภาระกิจสำคัญ ทั้งเรื่องของน้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพื่อการเกษตร รวมถึงเพื่ออุตสาหกรรม ที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องน้ำกิน น้ำใช้ในพื้นที่เกาะสมุย การประชาได้ดำเนินการบริหารจัดการ โดยมีระบบเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืดแล้ว ในสมุยจึงไม่มีปัญหา ส่วนภูเก็ตได้มีการสอบถาม พบมีปัญหาคล้ายภูเก็ต แต่การจัดหาน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค จาก 2 ทางคือน้ำจากแหล่งน้ะรรมชาติ และน้ำจากกรมชล เมื่อภูเก็ตเป็นความรับผิดชอบของการประปาฯ การประปาก็ต้องไปดำเนินการซื้อน้ำมาใช้ให้เพียงพอกับความต้องการขจองึคนไทยและนักท่องเที่ยว

ส่วนอ่างที่ปริมาณน้ำน้อย จากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีปัญหาสามารถบริหารจัดการได้ โดยอ่างขนาดกลาง 112 แห่งที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ ขนาดใหญ่ ภาคเหนือ 1 แห่ง คืออ่างแม่มอก ปริมาณน้ำ 27 ล้าน ลบ.ม. หรือ 28%ของความจุอ่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง ได้แก่เขื่อน อุบลรัตน์ปริมาณน้ำ 99 ล้าน ลบ.ม. หรือ 5% ของความจุอ่าง เขื่อนสิรินธรปริมาณน้ำ 128 ล้าน ลบ.ม.หรือ 11%ของความจุ เขื่อน ลำนางรอง ปริมาณน้ำ 34 ล้าน ลบ.ม.หรือ 29% เขื่อนห้วยหลวงมีปริมาณน้ำ 38 ล้าน ลบ.ม.หรือ 29%ของความจุดอ่าง ภาคกลาง 2 แห่ง คือ เขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำ 23 ล้าน ลบ.ม.หรือ 16% ของความจุดอ่าง และเขื่อนกระเสียวมีปริมาณน้ำ 27 ล้าน ลบ.ม.หรือ 10%ของความจุอ่าง อ่างขนาดกลาง 88 แห่งในภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 69 แห่ง ภาคกลาง 12 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ ทุกภาคของประเทศ ปริมาณน้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อัตราการไหลผ่าน 309 ลบ.ม./วินาที อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อัตราการไหลผ่าน 80 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำชี อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ อัตราการไหลผ่าน 0.00 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา อัตราการไหลผ่าน 0.69 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี อัตราการไหลผ่าน 98 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง ส่วนแม่น้ำโขงตั้งแต่บริเวณ จ.เชียงราย จ.นครพนม ถึง จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 9.23 ม. (ทรงตัว), 8.92 ม. (ลดลง 0.02 ม.) และ 11.08 ม. (ลดลง 0.04 ม.) ตามลำดับ

คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ค่าความเค็ม แม่น้ำบางปะกง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับคุณภาพน้ำเพื่อการเกษตร ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ แม่น้ำพอง อ.เมือง จ.ขอนแก่น แม่น้ำมูล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง

ปริมาณน้ำในอ่างฯขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำ 47,282 ล้าน ลบ.ม. หรือ 67%ของความจุอ่าง ปริมาณน้ำใช้การ 23,740 ล้าน ลบ.ม.หรือ 50%ของความจุอาง อ่างฯ ขนาดกลาง จำนวน 419 แห่ง มีปริมาณน้ำ 2,934 ล้าน ลบ.ม. หรือ 53% ของความจุดอ่าง ปริมาณน้ำใช้การ 2,508 ล้าน ลบ.ม. หรือ 49% ของความจุอ่างฯ มีน้ำมากกว่า 80% ของความจุ อ่างขนาดใหญ่ ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ขนาดกลาง 55 แห่ง อ่างฯ มีน้ำระหว่าง 50-80% ของความจุ อ่างขนาดใหญ่ 15 แห่ง ขนาดกลาง 161 แห่ง อ่างฯ มีน้ำระหว่าง 30-50% ของปริมาณน้ำใช้การ ขนาดใหญ่ 14 แห่ง ได้แก่ ภูมิพล แม่กวงอุดมธารา สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์ จุฬาภรณ์ ลำปาว ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ขุนด่านปราการชล คลองสียัด

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางรายภาคสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ จำนวน 447 แห่ง โดย ภาคเหนือ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 15,103 ล้าน ลบ.ม. หรือ 58% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 8,258 ล้าน ลบ.ม. หรือ 44% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 10,723 ล้าน ลบ.ม. ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 4,254 ล้าน ลบ.ม. หรือ 41% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 2,455 ล้าน ลบ.ม. หรือ 29% ของความจุอ่างฯ รวมกัน โดยอ่างสามารถรับน้ำได้อีก 6,113 ล้าน ลบ.ม.

ภาคกลาง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 604 ล้าน ลบ.ม. หรือ 34% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 520 ล้าน ลบ.ม. หรือ 32% ของความจุอ่างฯ รวมกัน และอ่างยังสามารถรับน้ำได้อีก 1,184 ล้าน ลบ.ม.,ภาคตะวันตก มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 21,755 ล้าน ลบ.ม. หรือ 81% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 8,470 ล้าน ลบ.ม. หรือ 63% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 4,992 ล้าน ลบ.ม.

ภาคตะวันออก มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันทั้งสิ้น 1,391 ล้าน ลบ.ม. หรือ 56% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 1,239 ล้าน ลบ.ม. หรือ 53% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 1,087 ล้าน ลบ.ม. ,ภาคใต้ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 6,730 ล้าน ลบ.ม. หรือ 76% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 4,966 ล้าน ลบ.ม. หรือ 70% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 2,133 ล้าน ลบ.ม.
รวมทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 49,837 ล้าน ลบ.ม. หรือ 66% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 25,908 ล้าน ลบ.ม. หรือ 50% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีก 26,231 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลักปัจจุบัน มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 14,298 ล้าน ลบ.ม. หรือ 57% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 7,602 ล้าน ลบ.ม. หรือ 42% ของความจุอ่างฯ รวมกัน และอ่างสามารถรับน้ำได้อีก 10,573 ล้าน ลบ.ม. ส่วนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน วันที่ 7 มี.ค. 2562 แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี P.17 อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ วัดได้ 156 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 4.93 เมตร

แม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี N.67 อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ วัดได้ 173 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 8.70 เมตร แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ วัดได้ 309 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 8.15 เมตร ไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) ในอัตรา 80 ลบ.ม./วินาที ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานีวัดน้ำ อ.บางไทร (C.29A) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 93 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 92 ลบ.ม./วินาที) รวมรับน้ำเข้าฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ในปริมาณ 173 ลบ.ม./วินาที

แม่น้ำป่าสัก ระบายน้ำท้ายเขื่อนพระรามหก 14.82 ลบ.ม./วินาที อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง มีจำนวน 3 แห่ง คือ อุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว และอ่างเก็บน้ำทับเสลาอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำระหว่าง 30 – 60% ของความจุอ่าง ปัจจุบัน (7 มี.ค. 62) มีจำนวน 19 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา ภูมิพล ขุนด่านปราการชล แควน้อยบำรุงแดน แม่มอก ห้วยหลวง น้ำอูน จุฬาภรณ์ ลำปาว ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร คลองสียัด อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ บางพระ กิ่วลม และประแสร์

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 412 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% มีจำนวน 89 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 30 – 60% มีจำนวน 175 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 60 – 100% มีจำนวน 147 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 100% มีจำนวน 1 แห่งกรม

ทั้งนี้กรมชลประทาน วางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2561/2562 ช่วงวันที่ 1 พ.ย. 2561 – 30 เม.ย. 2562) ณวันที่ 1 พ.ย.2561มีปริมาตรน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้ จำนวน 39,570 ล้าน ลบ.ม. โดยวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศจำนวน 23,100 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับความสำคัญดังนี้ เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,404 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 6,440 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรรม 13,953 ล้าน ลบ.ม. และอุตสาหกรรม 303 ล้าน ลบ.ม.

โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 6,500 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 400 ล้านลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 400 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำแม่กลอง 700 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น เพื่อการอุปโภค – บริโภค 1,140 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 1,450 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 5,410 ล้าน ลบ.ม.

ผลการจัดสรรน้ำ ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2561 ถึง ปัจจุบัน 7 มี.ค. 2562 ใช้น้ำไปแล้ว 16,168 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 70% ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ใช้น้ำไป 44.52 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2561 ถึง ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 6,386 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80% ของแผนจัดสรรน้ำ

ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2561/62 ข้อมูล ณ วันที่ 6 มี.ค. ทั้งประเทศ วางแผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทั้งสิ้น 8.03 ล้านไร่ ปัจจุบัน เพาะปลูกไปแล้ว 8.26 ล้านไร่ คิดเป็น 102.91% ของแผนฯ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา วางแผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง รวม 5.30 ล้านไร่ ปัจจุบัน เพาะปลูกไปแล้ว 5.85 ล้านไร่ คิดเป็น 110.35% ของแผนฯซึ่งในเขตชลประทานไปแล้ว 7.8 แสนไร่


ดังนั้นกรมชลประทานมีการเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง โดยระดมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,851 กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ ตามสำนักงานชลประทานต่างๆ จำนวน 1,151 เครื่อง สำรองไว้ที่ส่วนกลาง จำนวน 700 เครื่อง ทั้งนี้ ได้มีการระดมรถยนต์บรรทุกน้ำอีก 200 คัน ให้กระจายไปตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งตามภูมิภาค จำนวน 150 คัน และสำรองไว้ที่ส่วนกลาง จำนวน 50 คัน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคในช่วงฤดูแล้งอย่างเพียงพอ