ปลื้มยอดการใช้สิทธิประโยชน์ลดภาษี FTA-GSP ช่วง 2 เดือนแรก ทะลุ 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปลื้มยอดการใช้สิทธิประโยชน์ลดภาษี FTA-GSP ช่วง 2 เดือนแรก ทะลุ 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ‘อาเซียน’ยืนหนึ่งตลาดส่งออกที่ใช้สิทธิสูงสุด

กรมการค้าต่างประเทศ เผย การใช้สิทธิประโยชน์ FTA และ GSP ช่วง 2 เดือน ปี 62 มีมูลค่าพุ่ง 11,572.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.38% อาเซียนนำโด่งตลาดที่ใช้สิทธิ FTA สูงสุด ส่วนการใช้สิทธิ GSP สหรัฐ ครองแชมป์ มั่นใจปี 62 ยอดการใช้สิทธิ์ทะลุ 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โต 9%

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ช่วง 2 เดือน (มกราคม – กุมภาพันธ์) ของปี 2562 มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ ทั้ง FTA และ GSP รวม 11,572.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 3.38% คิดเป็นอัตราการใช้สิทธิประโยชน์มีมูลค่าทั้งหมด 76.25 % ซึ่งการใช้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการส่งออกในช่วง 2 เดือน (มกราคม – กุมภาพันธ์) ปี2562 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.91% โดยแบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ FTA มีมูลค่า 10,776.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้ม 2.52% คิดเป็นอัตราการใช้สิทธิของมูลค่าการส่งออก 77.80% ส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ GSP มีมูลค่า 796.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.06% คิดเป็นอัตราการใช้สิทธิของมูลค่าการส่งออก 60.00%

สำหรับ การใช้สิทธิประโยนช์ฯ FTA มีรวมกันทั้งหมด 12 ฉบับ พบว่า ตลาดที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. อาเซียน มีมูลค่า 4,013.59 ล้านเหรียญสหรัฐ 2. จีน มีมูลค่า 2,704.21 ล้านเหรียญสหรัฐ 3. ญี่ปุ่น มีมูลค่า 1,407.44 ล้านเหรียญสหรัฐ 4. ออสเตรเลีย มีมมูลค่า 1,332.96 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 5. อินเดีย มีมูลค่า 696.68 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯสังเกตได้ว่า ทุกตลาดมีอัตรากรขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทิประโยชน์ฯยกเว้น ออสเตรเลียและชิลี ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง เนื่องจากรายการสินค้าบางชนิดที่มีการขอสิทธิประโยชน์ฯ ในการส่งออกลดลง เพราะผู้ประกอบการหันไปส่งออกไปยังตลาดตะวันออกเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ในส่วนตลาดที่มีการขยายตัวสูงสุด คือ เปรู อัตราการขยายตัวอยู่ที่ 32.02% รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 17.64% และจีน 9.41% ส่วนกรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับ คือ 11. ไทย-ชิลี 104.79% 2. ไทย-ญี่ปุ่น 99.64% 3. อาเซียน-จีน 92.74% 4. อาเซียน-เกาหลี 86.33% 55. ไทย-ออสเตรเลีย 80.72% ส่วนการใช้สิทธิประโยชนืภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ATA ช่วง 2 เดือน (มกราคม – กุมภาพันธ์) ปี 2562 พบว่า ประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชนฯ สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. เวียดนาม 12.14% 2. ลาว 9.27% 3. กัมพูชา 9.14%

นอกจากนี้ การใช้สิทธิประโยชน์ GSP มีอยู่ 5 ระบบ ประกอบด้วย สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช นอร์เวย์ และญี่ปุ่น สำหรับการใช้สิทธิประโยนช์ฯ GSP ประเทสสหรับฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิมากที่สุด 96% ของการขอใช้สิทธิประโยนช์ทั้งหมด ซึ่งสหรัฐมีมูลค่าการส่งออก 768.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.36% มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ 70.24% ของมูลค่าการส่งออก

นายอดุลย์ กล่าวว่า ทางกรมฯ ได้มีตั้งเป้าหมายอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ ในปี 2562 ประมาณ 81, 025 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9% นอกจากนี้คงต้องมีการจับตามมองแนวโน้มการส่งออกไทยที่อาจจชะะลอตัวลดลง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากภาวะการค้าโลกและอุปสงค์ของประเทสคู่ค้าที่ยังคงผันผวน และการปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯ มั่นใจว่าอัตราการขยายตัวมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้