“SIASUN Robot” จากจีนเล็งหาพื้นที่ 1,200 ไร่ใน EEC ผุด Smart Industrial Park ดันใช้หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม

นายชิต เหล่าวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2560 ทำให้เป็นแรงกระตุ้นและช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุน ล่าสุดบริษัท SIASUN Robot จากจีน ต้องการพื้นที่ 1,200 ไร่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อลงทุนโครงการ Smart Industrial Park โดยจะสร้าง Platform Industrial 4.0 ซึ่งเป็นระบบบริการด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติครบวงจรทั้งหมด

“SIASUN กับ EEC คุยกับเรามาตั้งแต่ปีที่แล้ว เขาต้องการอยากได้พื้นที่ใน EEC เพราะมีสิทธิประโยชน์ ซึ่งเบื้องต้นน่าจะเป็นการลงทุน System Integrator (SI) ก่อน”

ซึ่งก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีการอนุมัติการลงทุนให้กับเอกชนแล้วหลายราย เช่น บริษัทนาชิ ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนแขนกลใน จ.ระยอง บริษัทแองก้า ตั้งโรงงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนแขนกลโรงงานผลิตชิ้นส่วนแขนกล จ.ระยอง เช่นกัน รวมถึง Yaskawa

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมได้นำระบบหุ่นยนต์เข้ามาปรับเปลี่ยนใช้ในโรงงาน ลดอันตราย ลดต้นทุน และลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมยาง ล่าสุดได้ผลักดันเข้าสู่อุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งแต่ละโรงงานมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนหุ่นยนต์ประมาณ 800,000 บาท/ตัว คุ้มทุนภายในเวลา 16-18 เดือน

นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน และประธานคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) กล่าวว่า ในปี 2561-2562 มีโรงงานจำนวน 229 โรงงาน ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต/ผู้ประกอบการจำนวน 65 บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่ารวม 9,641 ล้านบาท และมีผู้ขอสินเชื่อ SME เพื่อปรับระบบรวม 20 ราย มูลค่ารวม 123.5 ล้านบาท

นายชัยพล มหามงคลสวัสดิ์ กรรมการบริหารฝ่ายจัดงานของสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) กล่าวว่า ตั้งเป้าเพิ่ม SI เป็น 200 ราย ภายในสิ้นปีนี้ กิจกรรมพิเศษใน Robotics Cluster pavilion แสดงไลน์การผลิต 4.0 สำหรับ SME ด้วยการเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องจักรเข้าด้วยกัน พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมแก่ผู้ประกอบการที่มีความสนใจ หรือความต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเทคโนโลยี

นายพิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการ โรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการมุ่งเน้นความสำคัญกับการพัฒนากลไกและสร้างสภาพแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ในการบูรณาการและสนับสนุนในการขับเคลื่อน Industrial Transformation ไปสู่ Industry 4.0 ของประเทศไทย โดยกลไกลนี้มีรูปแบบการให้บริการแบบ One-Stop Service และเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน

นายสุทธิศักดิ์ วิลานันท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้หุ่นยนต์มาขึ้น ทั้ง 6 หน่วยงานหลักด้านหุ่นยนต์ ได้แก่ สศอ., โรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านจึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ(CoRE), สำนักงาน EEC, สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) จับมือกันเพื่อเปิดตัว Industrial Transformation Platform (ITP) ภายใต้โครงการ Robotic Cluster Pavilion ภายในงาน MANUFACTURING EXPO 2019 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 มิ.ย.2562 โดย บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด บนพื้นที่ 46,000 คน ณ ไบเทค บางนา