สมคิด มั่นใจไทย-จีน เชื่อมแนวคิดพัฒนาพื้นที่ลงทุน สร้างมั่นคงเศรษฐกิจ

วันที่ 11 มิถุนายน นายหลี่ ซี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน กล่าวปาฐถาพิเศษในพิธีเปิดงานกิจกรรมสร้างเครือข่าวธุรกิจและขยายโอกาสทางการค้าระหว่างไทย-กวางตุ้ง ในโอกาสที่นำคณะนักธุรกิจกวางตุ้งกว่า 100 รายมาเยือนประเทศไทย ที่รร.ดิแอทธินี โฮเทล แบงคอก ว่า ไทยกับจีนเป็นมิตรประเทศและมีความร่วมมือย่างใกล้ชิดมาตลอด 44 ปี การเยือนครั้งนี้เป็นความต่อเนื่องหลังจากที่พล.อ.ประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเข้าพบนายสี เจิ้น ผิง ประธานาธิบดีจีนเมื่อต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงหลายด้าน และการเยือนครั้งนี้ถือเป็นช่วงที่น่ายินดีที่ครั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับเลือกเป็นนายกฯอีกครั้งและเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนไปอีกขั้นหนึ่ง

ทั้งนี้มณฑลกวางตุ้งถือเป็นมณฑลใหญ่ของจีนมีมูลค่าจีดีพีสูงถึง 9.73 ล้านหยวนและจะเพิ่มเป็น 10 ล้านล้านหยวนในปีนี้ โดยกวางตุ้งเป็นหน้าต่างเปิดโลกของจีน เพื่อให้ประเทศทั่วโลกเข้ามาสร้างความสัมพันธ์ในทุกด้าน และกวางตุ้งได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการผลักดัน 1+1 เป็น 9 คือ 1.ยืนยันการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน

อีก1.เป็นการเปิดประเทศผ่านการปฏิรูป ซึ่งจะผ่านงานสำคัญ 9 ประการ ได้แก่ 1.ร่วมกันพัฒนากวางตุ้ง โดยการพัฒนาอ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า โดยจะเชื่อมโยงผ่าน 9 เมือง มีพื้นที่รวม 5.6 หมื่นตารางเมตรมีประชากรรวม 70 ล้านคน ขนาดจีดีพีขนาด 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ถือเป็นดินแดนที่ดึงดูดการลงทุน รองรับการลงทุนจากบริษัทต่างๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย

2.ผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ

3.พัฒนาคุณภาพที่ดี

4.เร่งเศรษฐกิจที่ทันสมัย

5.ร่วมมือเพื่อแก้จนและลดความเหลื่อมล้ำ

6.ฟื้นฟูความสวยงามชนบท

7.ปฏิรูปประเทศ 1 แถบ 1 เส้นทาง ตามแผนการเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจ Greater Bay Area (GBA) และ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน

8.สร้างมณฑลให้เข้มแข็งทั้งภาคสังคมและการค้า และ9.สร้างความสงบสุขของสังคม

การนำคณะนักธุรกิจมาเยือนในครั้งนี้เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ การค้าและการลงทุน โดยไทยกับกวางตุ้งมีขนาดการค้าระหว่างกัน 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์หรือสัดส่วน 1ใน4 ของการค้ารวมระหว่างไทย-จีน และไทย-จีนยังมีการสอดคล้องกันในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนโดยไทยมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และโครงการอีอีซี ขณะที่กวางตุ้งต้องการเป็นหน้าต่างสู่โลกผ่าน 1 แถบ 1เส้นทาง

ในโอกาสนี้ขอเสนอ 5 ข้อเพื่อขยายความสัมพันธ์ ได้แก่ 1.สนับสนุนยุทธศาสตร์ในการใช้พื้นที่อ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกง และมาเก๊า เชื่อมโยงกับแผนไทยแลนด์ 4.0 และอีอีซี 2.ร่วมมือขยายการลงทุนระหว่างกันให้เพิ่มขึ้นในปัจจุบันที่ไทยได้ไปลงทุนในจีนแล้ว 755 โครงการ กวางตุ้งมาลงทุนไทยแล้ว 113 โครงการ 3.ยกระดับการค้าระหว่างกัน ซึ่งชาวจีนมีความนิยมในกลุ่มสินค้าเกษตร ประมง และเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย ขณะที่ไทยก็นิยมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เซมามิคของจีน รวมทั้งใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ชมากขึ้น 4.ส่งเสริมและผลักดันทางทะเลและชนบท โดยเฉพาะการทำการเกษตรและการประมง ผ่านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า เช่น นำข้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งในการเข้าพบพล.อ.ประยุทธิ์ เมื่อวันที่ 10มิ.ย.ที่ผ่านมาก็แสดงความสนใจการใช้เทคโนโลยี 5 จี รวมถึงภาคเกษตรและผลไม้ ซึ่งทางกวางตุ้งสนใจในสินค้าเหล่านนี้จากไทย 5.ขยายสังคม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยปี 2561 คนกวางตุ้งมาเที่ยวไทยกว่า 1.5 ล้านคน อีกทั้งไทยกับกวางตุ้งมีการจับคู่เมืองพี่เมืองกันแล้วถึง 3 แห่ง เชื่อมั่นว่า การมาเยื่อนครั้งนี้จะสร้างความร่วมมือและบรรลุเป้าหมายการลงทุนและการค้าได้ในอนาคต

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาว่า การที่จีนนำคณะนักธุรกิจมาไทยครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุด โดยมาเยือนกว่า 200 คนและเห็นพ้องกับเลขาธิการพรรคมณฑลกวางตุ้ง มีข้อเสนอ 5 ข้อ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม สะท้อนถึงความจริงใจที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน

การนำคณะของนายหลี่ ซี ครั้งนี้ถือว่าเหมาะเจาะและตรงกับสถานการณ์ของไทย ที่ไทยมีนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่ หลังจากไทยไม่ได้การเลือกตั้งมร 6 ปี ซึ่งจะมีความต่อเนื่องในด้านนโยบาย ประกอบกับปีนี้เป็นประธานในการประชุมอาเซียนซัมมิท และจีนตอนใต้กับอาเซียนจะใกล้ชิดมากขึ้น ขณะนี้อาเซียนกำลังเป็นที่จับตาของโลก รวมถึงจีน โดยไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การที่ไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นทั้งเชิงการทูตและทางสายเลือดที่ผูกพันกัน ที่แยกออกกันไม่ได้ และจังหวะที่คณะของจีนมาในครั้งนี้ จะเกื้อกูลได้เป็นอย่างดี ขณะที่จีนเดินหน้าเชื่อมโยงผนึกกำลังร่วมของชาติต่างที่ชูการเปิดประเทศ ปฏิรูปและการเชื่อมโยงระหว่างกันทุกมิติทั้งการลงทุน การค้า ประชาชน เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค

“จีนคือมังกร กวางตุ้งก็เหมือนท้องมังกร ที่อุดมสมบูรณ์ทรัพยากร เมื่อรัฐบาลจีนได้มีการปฏิรูปกวางตุ้งจากดดั้งเดิมที่เป็นอุตสาหกรรมธรรมดามาเป็นอุตสาหกรรมดิจิดัล เป็นผู้นำด้าน เทคโนโลยี ไอที สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ไบโอเทค เอไอ โรบอท อีกทั้งยังเป็นถิ่นที่เกิดผู้ประกอบการสมัยใหม่ และสตาร์อัพ เป็นจำนวนมาก จึงไม่แปลกที่กวางตุ้งจะมีจีดีพีเติบโตสูงสุดของจีนต่อเนื่องกว่า 30 ปี หลังจากนายสี เจิ้น ผิง เลือกกวางตุ้งเป็นหน้าต่างสู่โลกเพื่อกระตุ้นให้เป็นแบบอย่างของการพัฒนา ซึ่งอาเซียนควรใช้โมเดลนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในภูมิภาคอาเซียนและกลุ่มซีแอลเอ็มวีที และผลักดันความร่วมมือเพื่อให้กวางตุ้งเป็นพี่ช่วยเหลือน้องในการพัฒนาประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจ”

จากปัจจุบันอาเซียนมีความเติบโตด้านเศรษฐกิจ 6-8% อีกทั้งอาเซียนเป็นแหล่งซัพพลายเชน แหล่งแรงงาน เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี ทำให้อาเซียนมีความสำคัญมาก ขณะที่อาร์เซ็ปกำลังจะเกิดขึ้นถือเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ส่วนอินเดีย-แปซิฟิก ก็กำลังผลักดันให้เกิดความร่วมมือ โดยไม่ว่ากรอบใดก็มีอาเซียนอยู่ตรงกลาง โดยไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ดังนั้นศักยภาพของอาเซียนจึงปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้นการที่กวางตุ้งเข้ามาก็จะเป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในลักษณะพี่ช่วยน้องเพื่อสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต และทั้งไทยและจีน ก็มีแนวคิดต่อการเชื่อมโครงการพื้นที่ Eastern Economic Corridor (EEC) เพื่อวางแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยและมณฑลกวางตุ้ง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจ Greater Bay Area (GBA) และ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน กับ EEC ซึ่ง GBA เป็นพื้นที่ที่อยู่ในแผนพัฒนาที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

นายสมคิด กล่าวว่า แม้ว่าจะเกิดสงครามการค้า เกิดกระแสกีดกันทางการค้า กำลังสร้างความวิตกกังวลไปทั่วโลก รวมถึงไทยได้รับผลกระทบ การส่งออกติดลบมาหลายเดือน แต่ในท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ท่ามกลางความเสี่ยงภัย วิกฤตได้สร้างโอกาสเป็นจุดที่ทำให้พวกเราชาวเอเชียทั้งหลายต้องเรียนรู้จากการพึ่งพาตนเอง เราเคยเน้นพึ่งพาการส่งออก และอุตสาหกรรม โดยพึ่งพาการค้าโลกเพียงอย่างเดียว เมื่อไรที่โลกลำบากเราก็ลำบาก แต่วิกฤตครั้งนี้ทำให้เราต้องพึ่งพาตนเอง ทำให้เศรษฐกิจเข็มแข็ง แทนที่เอเชียจะทะเลาะกัน ก็ต้องพูดคุย เกื้อกูลกัน ร่วมมือกัน ทำให้เอเชียเข็มแข็ง มีเพียงอย่างเดียวที่เอเชียขาดคือ ความร่วมมือเท่านั้น

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี ประธานหอการค้าไทย-จีน กล่าวว่า การพบปะระหว่างนักธุรกิจไทย-กวางตุ้งในครั้งนี้จะมีความคืบหน้าทั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรมและภาคการเกษตร ซึ่ง 2 ฝ่ายมีความสนใจร่วมลงทุนทั้งในโครงการอีอีซีและเข้าลงทุนในจีน ซึ่งประเมินว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะมีวงเงินต่อการลงทุนกว่าแสนล้านบาท ทั้งนี้ธุรกิจที่ได้รับความสนใจคือ ยานยนตร์ ภาคเกษตร การประมง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้าไทย-จีน สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน รวมทั้งร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม BOI และ EEC เชิญเอกชนระดับ SMEs และ Start up เข้าร่วมงานฯ โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 800-900 ราย ทั้งนี้ภายในงานฯ ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การเสวนาเชิงธุรกิจ และกิจกรรมสร้างเครือข่ายธุรกิจและขยายโอกาสทางการค้า (Business Matching/ Networking) ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

โดยจะมีภาคเอกชนจีนเข้าร่วมเจรจาธุรกิจประมาณ 60 บริษัท การจัดงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย-จีนแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการขยายมูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีน ให้บรรลุเป้าหมาย 1.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การเดินทางเยือนไทยของคณะในครั้งนี้ นอกจากการเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวแล้ว ยังมีกำหนดการเดินทางไปศึกษาศักยภาพของพื้นที่ Eastern Economic Corridor (EEC) เพื่อวางแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยและมณฑลกวางตุ้ง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจ Greater Bay Area (GBA) และ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน กับ EEC ซึ่ง GBA เป็นพื้นที่ที่อยู่ในแผนพัฒนาที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ประกอบไปด้วย 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกง และมาเก๊า โดยมีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทีเป็นนวัตกรรมใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างเส้นทางคมนาคมระหว่างสามเขตแดนให้สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็พยายามที่จะสร้างความเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์ระหว่าง GBA กับ EEC

มณฑลกวางตุ้ง ถือเป็นมณฑลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง กล่าวคือ มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีการนำเข้าสูง ประชากรมีจำนวนมากและมีรายได้ต่อหัวเข้าใกล้ระดับประเทศที่มีรายได้สูง

ในปี 2561 ไทยและกวางตุ้งมีมูลค่าการค้า 23,980 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกจากไทยไปกวางตุ้ง 14,200 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าของไทยจากกวางตุ้ง 9,780 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปกวางตุ้ง อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ผลไม้ น้ำมันและแร่เชื้อเพลิง เป็นต้น

ส่วนสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากกวางตุ้ง อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ประมวลผลอัตโนมัติ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ปัจจุบัน ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 7 ของมณฑลกวางตุ้ง ถึงแม้ว่าจะยังมีการนำเข้าจากไทยไม่มากนัก แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนเพื่อส่งออกไปยังจีนมากขึ้น

 

 


ที่มา : มติชนออนไลน์