เทรดวอร์ทุบส่งออกครึ่งปีแรก ลบ 2.9% พาณิชย์กัดฟันยืนเป้าส่งออกทั้งปี ‘62 โต 3%

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่า 21,409 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ 2.15% ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 6.2% หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 โดยปัจจัยที่กระทบต่อการส่งออกไทยยังเป็นผลมาจากปัญหาสงครามการค้า

ซึ่งเริ่มเห็นผลชัดมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกที่ประเทศไทยเป็นซัพรายเชนเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ เช่น กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า จากการขึ้นภาษีสินค้าจีนครั้งที่ 2 พร้อมกันนี้ ประเมินว่าจะกระทบต่อเนื่อง ขณะที่ ในขณะที่ การนำเข้าเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่า 18,197 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 9.4% ส่งผลให้การค้าเกินดุล 3,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ การส่งออกไทยรวม 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ปี 2562 การส่งออกมีมูลค่า 122,971 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.9% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 119,027 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.4% และการค้าเกินดุล 3,943 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกครึ่งปีแรกของปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ปัจจัยหลักยังเป็นผลมาจากปัญหาสงครามการค้าและความเป็นไปได้ที่ทั้งสหรัฐและจีน จะเจรจาตกลงกันเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ไรหนัก นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาความขัดแย้งของประเทศคู้ค่าอื่นๆ ที่กระทบต่อบรรยากาศการค้าโลก ทำให้ความไม่แน่นอนและความกังวลของผู้บริโภคและนักลงทุนทั่วโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทบต่อภาพการส่งออกไทยในครึ่งปีแรก

การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2562 มีมูลค่า 21.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ 2.15 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 6.2 การส่งออกของไทยมีทิศทางสอดคล้องกับการค้าโลก อุปสงค์ของคู่ค้าสำคัญและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกชะลอตัวต่อเนื่องนับจากปลายปี 2561 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน

ประกอบกับความพยายามในการเจรจาแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ข้อเสนอดีที่สุดของทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ความขัดแย้งของประเทศคู้ค่าอื่นๆ ยังเป็นสถานการณ์ซ้ำเติมบรรยากาศการค้าโลก ทำให้ความไม่แน่นอนและความกังวลของผู้บริโภคและนักลงทุนทั่วโลกเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 9.0% สินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยางพารา เครื่องดื่ม สินค้าเกษตรที่หดตัว ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวที่ 0.04% สินค้าสำคัญที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ ทองคำ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว


สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนแนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2562ยังต้องติดตาม 1 ความยืดเยื้อของข้อพิพาททางการค้า ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในการเจรจาหาข้อยุติ 2 การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจปี 2562 จะขยายตัวที่ 3.3% ซึ่งขยายตัวต่ำสุดนับจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551-2552 เป็นต้น