เอกชนหวังสหรัฐนำเข้าสินค้าตุน ดันยอดส่งออกปี’62 ถึง 0%

นางสาวกัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า สภาผู้ส่งออกยังคงการส่งออกทั้งปี 2552 ไว้ที่ ติดลบ 1% ถึง 0% โดยปัจจัยที่สนับสนุนยังคงเป็นการส่งออกทองคำที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมไปถึงผลกระทบจากสงครามการค้ามีผลทำให้สหรัฐเร่งการนำเข้าสินค้ามากขึ้น ก่อนที่จะมีการปรับภาษีรอบใหม่ ส่งผลให้หลายประเทศผู้ผลิต โดยเฉพาะจีน ต้องเร่งนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์เพื่อเร่งการผลิตในการผลักดันการส่งออก อีกทั้งยังแนวทางการผลักดันการส่งออกของภาครัฐและการลดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีในเรื่องของการขยายการส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตร อาหาร ไลฟ์สไตล์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการส่งออกไปในสหรัฐและอินเดีย ขยายตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลงทำให้ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนที่ต่ำลง แต่ต้องคอยจับตาภาษีน้ำมันนำเข้าของจีนที่อาจจะมีผลกระทบ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนจากปัญหาสงครามการค้าที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ปัญหาของการออกเป็นสมาชิกของสหราชอาณาจักรที่อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและผู้ส่งออกรวมไปถึงเศรษฐกิจโลก

“บรรยากาศการเมืองของตะวันออกกลางเกี่ยวกับสถานการณ์และอิหร่าน ความขัดแย้งของอินเดียและปากีสถาน อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ภัยธรรมชาติที่มีผลต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่อาจจะสร้างความเสียหายได้ ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการแห่งการส่งออกและการแข่งขันของไทย”

อย่างไรก็ดี สภาผู้ส่งออกต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเร่งบุกตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสในการส่งออกโดยเฉพาะยางพารา อุตสาหกรรมอาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการสูงและประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน และการพิจารณาตลาดที่มีโอกาส โดยเฉพาะตลาดกรีซออสเตรีย ยูเครน โดยประเทศไทยสามารถผลักดันการส่งออกทดแทนตลาดที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า แล้วต้องการให้มีการสนับสนุนช่องทางการค้า e-commerce platform หรือ National Digital Trade platform (NDTP) ซึ่งเอกชนร่วมกันผลักดันเพื่อขยายช่องทางการค้า

ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ก็มองเป็นภาพพวกโดยต้องการให้ภาครัฐ เร่งกรอบการเจรจาในกรอบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการค้าการประกอบ โดยเฉพาะตลาดอินเดีย ขณะที่เรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่าเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องมีผลต่อการแข่งขันของไทย

การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2562 มีมูลค่า 21,205 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 4.28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเดือนกรกฎาคม มีมูลค่า 21,095 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้การค้าเกินดุล 110 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมการส่งออกไทย 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2562 การส่งออกมีมูลค่า 144,176 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.9% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 140,122 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.8% และการค้าเกินดุล 4,054 ล้านเหรียญสหรัฐ