กรมวิชาการเกษตรแจงไม่เคลียร์ พร้อมซื้อเวลาแบน 3 สารวัตถุอันตรายต่อไป

ไม่เคลียร์! กรมวิชาการเกษตรยืดเวลารวบข้อมูลแบน 3 สารวัตถุอันตราย จ่อชงบอร์ดแบนเฉพาะพาราควอต-ควอร์ไพริฟอส ไร้ไกลโฟเซต จี้ผู้ประกอบการรายงานแผนนำเข้าส่งออกพื้นที่ใช้ให้ครอบคลุม

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการพิจารณายกเลิก 3 วัตถุอันตราย ที่ประกอบไปด้วย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต หลังจัดประชุมรวบรวมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องรอบด้าน อิงข้อมูลวิชาการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ล่าสุด เห็นควรให้จำกัดการเฉพาะใช้ “ไกลโฟเซต” และไม่มีแนวทางยกเลิกตามข้อเสนอ แต่ให้ผู้ประกอบการรายงานการนำเข้า การผลิต การส่งออก การจำหน่าย พื้นที่การใช้ และปริมาณคงเหลือ และต้องระบุพื้นที่ห้ามใช้ในฉลากวัตถุอันตรายควบคุมการโฆษณา ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ส่วนอีก 2 ชนิด คือ พาราควอตและควอร์ไพริฟอส ต้องส่งเรื่องหารือไปยังคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้รวบรวมข้อมูลด้านพิษวิทยาของสาร ด้านประสิทธิภาพในการใช้ ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านการห้ามใช้ในต่างประเทศ และด้านการห้ามใช้ตามข้อตกลงของอนุสัญญาประกอบกับข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งข้อมูลด้านสุขภาพอนามัย ที่ได้รวบรวมจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากกรมฯ ยังไม่มีความเชี่ยวชาญที่จะพิจารณานำข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยมาวินิจฉัยได้อย่างชัดแจ้งว่าสารดังกล่าวมีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่มีการกล่าวอ้างหรือไม่ จึงเห็นสมควรที่จะขอคำปรึกษาในเรื่องดังกล่าวจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ รวมไปถึงผู้แทนจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข ตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 7 โดยกรมวิชาการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัตถุอันตรายตามพ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เท่านั้น

“กรมวิชาการจะนำเสนอข้อมูล 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1.การทบทวนค่าพิษวิทยา 2.การห้ามใช้ในประเทศต่างๆด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ 3.การปฏิบัติภายใต้อนุสัญญาประชาคมโลก 4 ข้อ 4.ผลการรับฟังความเห็น และ 5.ผลกระทบสุขภาพอนามัย ซึ่งยอมรับว่ายังติดขัดในข้อที่ 5 เพราะกรมวิชาการเกษตรไม่มีผู้เชี่ยวชาญและต้องอ้างอิงข้อมูลจากหลายภาคส่วนซึ่งไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงต้องใช้เวลา”

นายสุวิชย์กล่าวต่อไปว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสาคัญในการลดการใช้สารเคมี และมีนโยบายที่จะ ผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานปลอดภัยจากสารตกค้างทั้งในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะ สนับสนุนการลด ละ เลิก การใช้ เมื่อมีความจาเป็น โดยคำนึงถึงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น กระทรวงเกษตรฯ จะศึกษาและเร่งรัดหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อเป็นทางเลือกทดแทนการใช้สารดังกล่าวต่อไป กรมวิชาการเกษตรเองต้องพูดให้น้อยที่สุด เพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกทางและจะหารือที่ประชุมเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งเร็วๆ นี้” อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว