“จุรินทร์” ลุยจับคู่ธุรกิจสินค้าเกษตร-ผลิตภัณฑ์แปรรูป คาดเงินสะพัด 7,000 ล้าน

“จุรินทร์” ลุยจับคู่ธุรกิจสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป คาดเงินสะพัด 7,000 ล้านบาท มั่นใจดันเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายฉลุย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนต รีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานสักขีพยานการทำข้อตกลง MOU ในงานการจับคู่ธุรกิจ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์วันนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกและใช้เวทีการเจรจาการค้าโครงการจับคู่ธุรกิจสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป เบื้องต้นมูลค่าการเจรจาจากการจัดโครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป คิดเป็นจำนวน 232.6 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,980 ล้านบาท

ทั้งนี้ แบ่งเป็น 1.มูลค่าการเจรจาจากการลงนาม MOU ระหว่างบริษัทไทย และคู่ค้าต่างประเทศได้แก่ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จีน และอินเดีย จำนวน 14 ฉบับมูลค่าการซื้อขายคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 138.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,160 ล้านบาทประกอบด้วย สินค้าข้าว (ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวหอม ข้าวขาว ข้าวเหนียว) ปริมาณรวม 145,000 ตัน ภายในหนึ่งปี สินค้าผลไม้อบแห้ง มะพร้าวอบแห้งมะม่วงอบแห้ง 500 ตู้ ภายในห้าปี สินค้ามะขามหวาน 20 ตู้ ภายในหนึ่งปี การลงนาม MOU ข้อตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรระหว่างกรมกับ ( บริษัท Supermarket Grocery Supplies Pvt. Ltd.) (5 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือประมาณ 150 ล้านบาท) ภายในสองปีและมูลค่าคาดการณ์การค้าภายในงานเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) คิดเป็นจำนวน 94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 2,820 ล้านบาท

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จัดให้มีการพบปะกันระหว่างผู้ส่งออกของไทยและผู้นำเข้าจากประเทศต่างๆที่มาจากทั้งประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ อาเซีย ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป อเมริกา และแอฟริกา รวมทั้งสิ้น 176 บริษัท ขณะเดียวกันยังมีบริษัทจากประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกมารวมกันอยู่ในที่นี้รวมทั้งสิ้น 150 บริษัท เพื่อเจรจาทำธุรกิจกัน ก่อให้เกิดการซื้อขาย ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นโอกาสและจังหวะผู้ส่งออกไทยที่จะช่วยกันนำตัวเลขการส่งออกให้กับประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้มากขึ้น

สำหรับเป้าหมายต่อไปจะเน้นไปที่กลุ่มตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ และยังมีอีกหลายกลุ่มที่ได้ตั้งเป้าไว้ อาทิ รัสเซีย อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ โดยล่าสุด ได้นำคณะภาคเอกชนกับกระทรวงพาณิชย์ไปเจรจา เมืองเจนไนและมุมไบ ผลการเจรจาเป็นที่น่าพอใจมาก โดยเฉพาะ สินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยางพาราสามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ 9,000 ล้าบาท และยังมีสินค้าอื่นๆ รวมมูลค่า 12,000 ล้านบาท รวมถึง ผลการเจรจากับประเทศตุรกี รวมกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) วานที่ผ่านมา สามารถขายหมอนยางพาราเฉพาะการยาง 10 ล้านใบซึ่ง 10 ล้านใบ โดยกยท.จะนำมาแจกจ่ายให้กับสหกรณ์และ SME ต่างๆ สหกรณ์การเกษตรช่วยผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพของการยางแห่งประเทศไทย และส่งออกไป การจัด Bisiness Matching ต่อไป

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศยังคงมุ่งเน้นการผลักดันผู้ประกอบการรายย่อย SME และสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์แปรรูปต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถมีโอกาสส่งออกไปต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเป็นการกระตุ้นยกระดับฐานรากให้มีรายได้เพิ่ม

“วันนี้สินค้าข้าว ยางพารา ก็มีสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มเกษตรกร มาเปิดโต๊ะเจรจากับผู้นำเข้าต่างประเทศด้วยซึ่งหลายรายก็ประสบความสำเร็จ รวมอยู่ในงาน 2,800 กว่าล้านบาท จะช่วยให้กลุ่ม SME เกษตรกร สถาบันการเกษตร สามารถส่งออกได้อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้การส่งเสริมของกระทรวงพาณิชย์ ผมยังคงทำงานอย่างหนักในการเจรจากับต่างประเทศและกระตุ้นภายในโดยเฉพาะฐานรากควบคู่กันไป” นายจุรินทร์ กล่าว

สำหรับ ประเด็น สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ (เทรดวอร์) นายจุรินทร์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจซึ่งกระทบไปทั่วโลก ไม่เฉพาะประเทศไทย รวมถึงค่าเงินบาทแข็ง แต่ยังเชื่อมั่นว่าไตรมาสที่ 4 จะเป็นบวกมากขึ้น จากการเจรจาธุรกิจและนโยบายประกันรายได้สินค้าเกษตร โดยภาพรวมนั้นได้ให้สำนักงานโยบายยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือต้องบริหารจัดการการค้าและการส่งออกของประเทศใหม่ ซึ่งจะเร่งรัดให้มีการซื้อขายสินค้ามากขึ้นนอกจากทำหน้าที่หัวหน้าเซลล์แมนประเทศที่จะนำคณะกระทรวงพาณิชย์และเอกชนไปเปิดตลาดในต่างประเทศแล้วยังเชิญผู้นำเข้าต่างประเทศมาพบกับผู้ส่งออกของเราในประเทศด้วย