กนศ.ไฟเขียวกรมเจรจาฯเร่งรับฟังความเห็น CPTPP เตรียมชง ครม.ชี้ขาด เม.ย.นี้

แฟ้มภาพ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์รวบรวมผลการศึกษา ผลการรับฟังความคิดเห็น ข้อดี ข้อเสีย สำหรับการเข้าร่วม หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP (“The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) ซึ่งมีสมาชิก 11ประเทศ รวมไปถุงการพิจารณาเข้าร่วมสมาชิกและการเยียวยาสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป เบื้องต้นคาดว่า จะเร่งเสนอเข้า ครม. ให้ได้ภายในเดือนเมษายน 2563 นี้

สำหรับสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ที่มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน มี GDP รวมมูลค่า 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 13% ของ GDP โลก และยังมีอีกหลายประเทศให้ความสนใจที่จะเข้าร่วม เช่น เกาหลีใต้ อังกฤษ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และโคลัมเบีย ล่าสุด มี 7 ประเทศได้ให้สัตยาบรรณข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยจะมีการกำหนดประชุมกันในระดับรับมนตรี ที่เม็กซิโก ในเดือนสิงหาคม 2563 นี้

ดังนั้น กรมฯจึงจะเร่งพิจารณาผลศึกาทั้งหมดเพื่อให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบก่อนที่จะมีการประชุมในเดือนสิงหาคม 2563 นี้ หาก ครม. เห็นชอบจะได้แสดงเจตจำนงค์ในการเข้าร่วมต่อไป ซึ่งจากนั้น จะได้เข้าสู่ขั้นตอนของการจัดตั้งคณะทำงานเจรจา เพื่อเดินหน้าในการเจรจาเข้าร่วมเป็นสมาชิก สำหรับผลการศึกษาเบื้องต้นนั้น ที่กรมฯได้ศึกษาและรับฟังความคิดเห็นและเสนอเข้าสู่ที่ประชุม กนศ. พิจารณา จะเห็นว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกจะทำให้ จีดีพี ไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.12% มูลค่า 13,323 ล้านบาท หากไม่เข้าร่วม จีดีพี ไทยลดลง 0.25% มูลค่า 26,6629 ล้านบาท เมื่อเทียบการขยายตัวจีดีพีไทยปี 2561

“จะเห็นว่าเมื่อเวียดนามเข้าร่วมสถิติการส่งออกตั้งแต่ปี 2558-2562 การส่งออกโตขึ้น 7.58% สิงคโปร์ ส่งออกโตขึ้น 9.92% ขณะที่ประเทศไทยการส่งออกเข้าไปในกลุ่มประเทศ CPTPP โตเพียง 3.23% จะเห็นว่าโอกาสที่ประเทศไทยจะเสียไปนั้นสูง และหากรอให้ประเทศที่สนใจเข้าร่วมเข้าไปก่อน การเจรจาอาจจะยากขึ้นได้”

สำหรับประเด็นที่หลายหน่วยงานให้ความกังวลนั้น เช่น เรื่องของการเข้าถึงสิทธิบัตรยา ประเด็นนี้ไม่ต้องกังวลแล้วเพราะได้ถูกถอกออกข้อตกลง วึ่งถูกถอดออกไปภายหลังจากสหรัฐได้ถอนออกจากการเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2560 และประเทศสมาชิก็ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ทุกอย่างสามารถทำได้เหมือนเดิม การคุ้มครองพันธุ์พืช ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงเกษตรกร สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชใช้ในการเพาะปลูกได้ แต่หากจะทำการค้าจำเป็นจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ได้มีการกำหนดมูลค่าของวงเงินขั้นต่ำไว้อยู่ที่ 100-1,000 ล้านบาท ในการเปิดประมูล โดยแต่ละประเทศมีระยะเวลาในการปรับตัว หากมูลค่าต่ำกว่าที่กำหนดไม่จำเป็นต้องเปิดให้มีการแข่งขันในกลุ่มประเทศ CPTPP กล่าวคือ หากมูลค่าต่ำไม่ต้องเปิดให้แข่งขัน

ขณะที่ประเด็นในเรื่องของการเปิดตลาดสินค้าและบริการนั้น ในข้อตกลงเปิดช่องทางให้แต่ละประเทศมีเวลาในการปรับตัวในการลดภาษี ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่ 0% มากสุดอยู่ที่ 25 ปี เนื่องจากบางสินค้า บริการ ก็ยังเป็นสินค้าที่อ่อนไหว อีกทั้ง ก็บพว่าบางประเทศก็ไม่สามารถทำการเปิดตลาดให้ได้ก็มี ซึ่งก็ต้องอยู่ในการเจรจาต่อรองของแต่ละประเทศที่ตกลงกันไว้ นอกจากการเปิดตลาดดังกล่าวแล้วการลงทุน การจ้างงานก็สูงขึ้น จีดีพี ของประเทศสมาชิก้เติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

นางอรมน กล่าวอีกว่า หากประเทศไทยมีการพิจารณาเห็นชอบไฟเขียนในการเดินหน้าเจรจาเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้วนั้น การเดินหน้าก็จำเป็นต้องตั้งทีมคณะเจรจาขึ้นมาโดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะเดินหน้าเจรจาก็อาจจะเปิดรับฟังความคิดเห็นด้วย หากดุเป้าหมายหรือประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ เช่น ตลาดเม็กซิดก แคนนาดา ที่ประเทศไทยยังมีมีข้อตกลงทางการค้าเลย การขยายตลาดส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่อาจจะเจรจาให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดสินค้าให้ประเทศไทยเพิ่มขึ้น หรือบางประเทศอาจจะให้ไทยลดภาษีสินค้าลง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนบริการก็ต้องขึ้นอยุ่กับการเจรจาต่อรองว่าจะเปิดอะไรได้บ้าง แต่ทั้งนี้ แต่ละการเจรจก้ต้องมีช่องทางหรือข้อยกเว้นในการปรับตัวในการลดภาษี สูงสุด 25ปี เป็นเวลาที่พอในการปรับตัวและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

อย่างไรก็ดี จากนี้กรมฯก็ต้องขอระยะเวลาในการทำงานรวบรวมข้อดี ข้อเสีย รวมไปถึงมาตรการเยียวยา ซึ่งเบื้องต้นได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเฟทีเอ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา เมื่อได้รวรวมก็จะเร่งนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ต่อไป