ปิดจ๊อบแล้ง! แต่ยังขาดน้ำ ซ้ำฝนปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 5%

ปิดจ๊อบแล้ง! แต่ยังขาดน้ำ ซ้ำฝนปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 5% แม้ส.ค.-ต.ค. คาดพายุเข้าไทย 2 ลูก

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ระบุว่าในปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะปริมาณน้ำฝนปีนี้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ที่ 5% เทียบกับปีที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 11% ทั้งนี้ หากย้อนหลังกลับไปในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าสถิติปริมาณน้ำฝนของไทยจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5-10% ทุกปี ที่เป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในขณะนี้

ทั้งนี้ กรมอุตุฯ คาดว่าในปีนี้จะมีพายุเข้ามาในเขตประเทศไทย 2 ลูก ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม- มิถุนายน อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง และเกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้ในทุกพื้นที่ เช่นเดียวกับในเขตชลประทาน การบริหารจัดการน้ำในฤดูฝนจะใช้น้ำฝนเพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ การระบายน้ำในเขื่อนจะเพื่อระบบนิเวศน์เท่านั้น และต้องการเก็บน้ำไว้ในอ่างเพื่อใช้ในฤดูแล้งหน้าให้มากที่สุด

ก่อนหน้าที่ไทยประสบภาวะฝนแล้ง กรมชลประทานได้ขุดลอกและปรับปรุงอ่างเก็บน้ำเอาไว้มาก จึงคาดว่าจะเก็บน้ำได้มากขึ้น จากปกติปริมาณน้ำจากฝนที่ตกลงมา 100% จะเก็บน้ำลงอ่างได้เพียง 60% เท่านั้น ที่เหลือต้องปล่อยทิ้งตามลำน้ำธรรมชาติ

“ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำอย่างรัดกุมที่สุดเนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด เหตุจากในช่วงฤดูฝนปี 62 มีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แม่น้ำสายต่างๆ มีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยจำเป็นต้องจัดสรรน้ำให้เพียงพอ และที่สำคัญปีนี้ปริมาณน้ำต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ที่ 5% ถือว่าไม่น้อย หากเทียบกับปีที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 11% และแม้จะมีพายุเข้ามาในเขตประเทศไทย 2 ลูก ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม- มิถุนายน อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง”

อย่างไรก็ตาม สำหรับการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2562/63 ที่สิ้นสุดลงไปแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 พบว่า ณ วันที่ 30 เมษายน 2563 มีการใช้น้ำตลอดฤดูแล้งที่ผ่านมารวมทั้งสิ้นประมาณ 17,053 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 96% ของแผนฯแผนวางไว้ 17,699 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา วางแผนจัดสรรน้ำไว้รวม 4,500 ล้าน ลบ.ม.

โดยใช้น้ำจาก 4 เขื่อนหลักรวม 3,500 ล้าน ลบ.ม. อีกส่วนหนึ่งจะผันมาจากแม่กลอง 1,000 ล้าน ลบ.ม. ผลการใช้น้ำตลอดฤดูแล้งรวมทั้งสิ้น 4,595 ล้าน ลบ.ม. ถือได้ว่าการใช้น้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งที่วางไว้