ภัยแล้งกระทบ “ข้าว-อ้อย-มันสำปะหลัง” คาดเสียหาย 7.6 หมื่นล้าน

แล้ง
NICOLAS ASFOURI / AFP

ก่อนที่ “พายุซินลากู” จะเข้ามาระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-3 ส.ค. 2563 ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำได้ถึง 1,315 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ประเทศไทยต้องเผชิญกับ “ภาวะภัยแล้ง” ปี 2563 ที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรหลายพื้นที่

ล่าสุด ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า จากการประเมินผลกระทบภัยแล้งปี 2563 คาดการณ์ว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภาคเกษตร ติดลบ -5.9% จากปีก่อน มูลค่า 1,326.6 พันล้านบาท โดยเป็นการลดลงจากประมาณการเมื่อครั้งเดือนเมษายน 2563 ที่คาดว่าจีดีพีภาคเกษตรจะติดลบ -3.6% ถึง 2.1% ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะภัยแล้งกระทบผลผลิตข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลังรวม 106.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 76,333 ล้านบาท (ตามกราฟิก)

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ล่าสุดได้ทบทวนเป้าหมายขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญซึ่งดำเนินการได้ในปี 2566 รวม 557 โครงการ เพื่อให้นำโครงการที่มีความจำเป็นเข้าสู่กระบวนการขอรับงบประมาณ อาทิ โครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ปี 2565-2566 โครงการพัฒนากลุ่มบ่อน้ำบาดาลสำหรับอุตสาหกรรม ปี 2564-2565

กราฟิก ภัยแล้ง

ทั้งนี้ สทนช.อยู่ระหว่างตั้งคณะทำงานกำหนดพื้นที่พัฒนาน้ำบาดาลขึ้นประกอบด้วย 14 หน่วยงาน อาทิ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กองทัพบก หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมการทหารช่าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำบาดาล กำหนดแนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การขุดเจาะน้ำบาดาล ตลอดจนการบริหารศักยภาพน้ำบาดาลในภาพรวม ให้สอดคล้องกับศักยภาพน้ำบาดาลแต่ละพื้นที่ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ม.ค. และวันที่17 มี.ค. 2563 เห็นชอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง 1,297 โครงการ ได้ปริมาณน้ำ 11.11 ล้าน ลบ.ม.

ภาพรวมจากรายงานการติดตามสถานการณ์น้ำบาดาลในประเทศไทยปี 2562 ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558-2562 จากการจัดทำบ่อสังเกตการณ์น้ำบาดาล 2,506 บ่อทั่วประเทศ