“ชาวไร่” ขอพบกันครึ่งทาง

อ้อย

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลต่างรับทราบปัญหาเรื่องคุณภาพอ้อยร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกันโดยไม่มีการปิดหีบ

“การตัดอ้อยสด มีกากใบปนจะส่งผลให้คุณภาพผลผลิตต่อตันอ้อยลดลง แต่แรงงานคนไม่พอ รถตัดอ้อยไม่พอ ทำให้ปริมาณอ้อยที่ตัดได้ต่อวันนั้นลดลง จาก 40,000-50,000 เหลือเพียง 20,000 ตัน/วัน ชาวไร่บางรายใช้วิธีตัดล้ม จึงมีกากใบแห้งติดไปด้วย”

“หากต้องการให้ลดการเผาอ้อย โรงงานกับชาวไร่ ต้องพบกันครึ่งทาง ในส่วนของชาวไร่เองได้พยายามปรับวิธีการตัดอ้อย โดยใช้เครื่องจักรขนาดเล็ก พยายามลดติดใบอ้อยก่อนตัดส่งเข้าหีบ เป็นลักษณะการตัดแบบเป็นท่อน ๆ ซึ่งชาวไร่ก็ต้องลงทุนซื้อเครื่องสางใบใหม่ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเพื่อลดการเผาอ้อยตามที่รัฐต้องการ แต่ก็เป็นต้นทุนที่ต้องแบกรับ”

นอกจากปัญหาต้นทุนจากการตัดอ้อยสดแล้ว ชาวไร่อ้อยยังมีต้นทุนจากการหาสารเคมีทดแทนสารพาราควอต ทั้งกลูโฟซิเนต และสารที่ใกล้เคียงประเภทอื่นมีราคาที่สูงกว่า รวมถึงการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย แต่แน่นอนว่าประสิทธิภาพมันไม่ได้ดีเต็ม 100% จึงส่งผลให้ผลผลิตต่ำลง บวกกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

ล่าสุดได้ส่งหนังสือเพื่อขอเข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปลายปี 2563 เพื่อขอให้พิจารณาถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาสารพาราควอตเป็นหลักในการกำจัดวัชพืช เพียงช่วยปลูก 3-4 เดือน ไม่ได้ตลอดทั้งปี

“ชาวไร่อ้อย แค่ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายคิดใหม่ โดยหลักแล้วเราไม่อยากให้ยกเลิก”