
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า แผนการชักจูงนักลงทุน มีเป้าหมายจะชักจูงประเทศที่มีศักยภาพ คือ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน อเมริกา ยุโรป และเลือกนักธุรกิจที่สนใจจะร่วมมือถ่ายทอดเทคโนโลยีกับไทยจริง ดังนั้น จึงให้สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน 14 แห่งในต่างประเทศระบุชื่ออุตสาหกรรม บริษัทเป้าหมาย S-curve ศึกษารายละเอียด เพื่อใช้มาตรการเชิงรุกเข้าไปแนะนำ รวมทั้งชักชวนเข้ามาลงทุนในไทยโดยตรง และให้กองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน หรือหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (BUILD) เดิม ประสานงาน เชื่อมโยงจับคู่นักลงทุนในอุตสาหกรรม S-curve กับอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต และกับ SMEs ไทย เพื่อให้เป็นซัพพลายเชนรองรับกัน
“หลังจากที่กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) เดินทางมาไทย เราจัดคณะไปติดตามผลการหารือในจังหวัดใหญ่มีแนวโน้มลงทุน และเตรียมจัดสัมมนาใหญ่ในประเทศต้นปีหน้า ให้บริษัทลูกต่างชาติกลับไปสื่อสารให้บริษัทแม่รู้ ซึ่งต้องทำโปรโมชั่นและบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) มากขึ้น”
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
- รู้จัก น้ำมัน EURO 5 เริ่มใช้ 1 ม.ค. 67 มีผลกับค่าการตลาดน้ำมันอย่างไร
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
รายงานสถิติการยื่นขอส่งเสริมลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (ม.ค.-มิ.ย.) 2560 มีสัดส่วน 61% ของยอดขอส่งเสริม 371 โครงการ มูลค่า119,029 ล้านบาท เช่น ดิจิทัล รถยนต์ hybrid โดยญี่ปุ่นยังคงสัดส่วนมากที่สุดตามด้วยสิงคโปร์และจีน
แหล่งข่าวกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า แผนการชักจูงนักลงทุนเป้าหมายตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้สรุปในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) อาทิ BMW Fomm Hitachi Boeing 3M เป็นต้น