สรท. จี้รัฐ นำเข้าตู้เปล่า ดันส่งออกไทยปี 64 โต 7%

ส่งออก

สรท. เสนอรัฐเร่งรัดนำเข้าตู้เปล่า 1.8 ล้านทีอียู เร่งแก้ไขปัญหาแหลมฉบังแออัด จัดหาแรงงานเพียงพอ สร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท พร้อมปรับคาดการณ์ส่งออกทั้งปี 2564 ขยายตัว 6-7% สนับสนุนการเจรจาสิทธิพิเศษทางการค้าเพิ่มโอกาสส่งออก ไทย-อียู – CPTPP

วันที่ 4 พฤษภาคม 2564 นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 6-7% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในปี 2564 ได้แก่

1.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา การ ขยายตัวของตัวเลขทางเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขการว่างงานที่ลดลงจนถึงระดับก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 ยอดค้าปลีกที่เพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางสหรัฐ 1.8 ล้านล้านดอลลาสหรัฐ

ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อชองประชาชน จีน การขยายตัวของ GDP แข็งแกร่งมากในQ1/2021 จากการบริโภคในประเทศที่กลับมาฟื้นตัวและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อภาคการผลิตเพิ่มขึ้น

2.มูลค่าและปริมาณการส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดเป็น ประวัติการณ์ จากการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์และส่วนประกอบ
รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้สูงสุดในรอบ 28 เดือน นับจากเดือน พฤศจิกายน 2561

3.ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4.ค่าเงินบาทที่ทรงตัวในกรอบการอ่อนค่า

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่

1.ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง

1.1) การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และ Space Allocation ในเส้นทางยุโรปและ US East Coast รวมถึงปัญหา Congestion ในส่วนของ Inland ในเส้นทาง US West Coast ทำให้บางสายเรือมีการงดรับ Booking ท่าเรือที่เป็น Inland Port ชั่วคราว โดยสามารถรับจองระวางเพียงแค่ Base Port ได้
เท่านั้น

1.2) ค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูงในหลายเส้นทาง อาทิ US West Coast / East Coast และ Europe รวมถึงการเก็บเพิ่มค่า Surcharge ในบางเส้นทาง อาทิ Low Sulphur Surcharge ในเส้นทาง Jebel Ali (ดูไบ) และ Peak Season Surcharge ของตู้ Reefer ในเส้นทางยุโรป เป็นต้น 1.3) ความแออัดในท่าเรือแหลมฉบังที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

2.การระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย เนื่องด้วยมีการกลับมีการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัสใน
ประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ อาทิ อินเดีย สหภาพยุโรป ที่ยังมีความรุนแรงซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนรวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงเศรษฐกิจยูโรโซน Q1/64 อยู่ที่ขยายตัว 0.6% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

3.สถานการณ์วัตถุดิบขาดแคลน ราคาเหล็กในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องด้วยการลดกำลังการผลิตราว 50% ของจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกจากมาตรกาควบคุมมลภาวะทางอากาศทำให้เกิดภาวะ Short Supply ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ

4.สถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้

1.เร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน ภาครัฐจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาตู้ สินค้าขาดแคลน โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในปี 2021 สรท. คาดว่าประเทศไทย ต้องนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาจำนวนทั้งสิ้น 1,865,248 TEUs ให้เพียงพอรองรับการส่งออกที่จะพลิกฟื้นกลับมา

2.เร่งแก้ไขปัญหาความแออัดในท่าเรือแหลมฉบัง

3.เร่งจัดหาแรงงานป้อนเข้าสู่ระบบรองรับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการแรงงานต่างด้าวไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนคน ขอรัฐบาลพิจารณาแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติม โดยอาจใช้รูปแบบ

4.รักษาเสถียรภาพของค่าเงินให้อยู่ระหว่าง 31-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

ขณะที่ การเพิ่มโอกาสการแข่งขันการส่งออกไทยในปี 2564 โดยเฉพาะการเจรจาเพิ่มสิทธิพิเศษทางการค้า ทาง สรท. พร้อมสนับสนุนเปิดโอกาสให้ไทยเจรจา CPTPP แต่ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมกับสนับสนุนการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการให้รัฐเร่งเจรจาให้เร็วที่สุด