ทุเรียนไทยสุดปังถึงซีอาน ลอตสองอีกหมื่นกว่าลูก หมดเกลี้ยง 45 นาที

ส่งออกทุเรียนไทยถึงซีอาน ลอตสอง ต่อจากเสินเจิ้น 45 นาที เต็มลำ 25 ตันกว่าหมื่นลูก จากแพลตฟอร์มพรีออเดอร์ เตรียมขยายผลสินค้าเกษตรอื่น ๆ

วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผย ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสบความสำเร็จเป็นครั้งที่ 2 ภายใน 2 สัปดาห์ในการส่งออกทุเรียนทางเครื่องบินลอตที่สองไปจีนจำนวน 25 ตัน (11,200 ลูก) สู่เมืองซีอาน เมืองเอกของมณฑลส่านซี ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนด้วยกลยุทธ์ใหม่ระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre order platform) เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาขายออนไลน์เพียง 45 นาที

“ก่อนหน้านี้ได้ทดลองขายด้วยแพลตฟอร์มใหม่เป็นครั้งแรก 20 ตัน ใช้เวลา 9 ชั่วโมงก็ตื่นเต้นกันมากว่า ขายไม่ถึงวันได้เกือบหมื่นลูกเต็มลำเครื่องบิน และขนขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิส่งไปยังเมืองเซินเจิ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา แต่เมื่อวานขายไม่ถึงชั่วโมงเต็มลำ 25 ตัน

นับเป็นครั้งที่ 2 ของการจำหน่ายทุเรียนผ่านระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform) ไปประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของผลไม้ไทย โดยครั้งนี้เป็นการเปิดตลาดตอนในของจีนคือมณฑลส่านซีในภาคตะวันตกเฉียงเหนือด้วยแพลตฟอร์มใหม่บนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ บริษัทเอกชน และสหกรณ์ผลไม้

เช่น สหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี และเป็นการสร้างแบรนด์ทุเรียนไทยในระดับสหกรณ์ผลไม้ (Cooperative Farm based Branding) ตามแนวทางเกษตรสร้างสรรค์ (Creative Agriculture) ต่อไปเกษตรกรชาวสวนทุเรียนและสหกรณ์จะสามารถขายได้ราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้ขยายผลไปยังสินค้าเกษตรอื่น ๆ” นายอลงกรณ์ กล่าว

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยความสำเร็จคือการเน้นคุณภาพและมาตรฐานของทุเรียนในระบบ GAP และ GMP ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ระบบการประกันสินค้า ระบบทรัพย์สินทางปัญญา (สร้างแบรนด์) การสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า (Trust) และความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาคเกษตรกรและกระทรวงเกษตรฯ

ภายใต้ “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” และโมเดล “เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการปฏิรูปไม้ผลทั้งระบบของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) และการขับเคลื่อนโมเดล “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ร่วมกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์

ประการสำคัญคือ โครงการดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากภาครัฐ แต่เป็นระบบที่ให้เอกชนรับผิดชอบการขายและการขนส่งโลจิสติกส์ภายใต้แพลตฟอร์มที่คณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซของกระทรวงเกษตรฯ และฟรุ๊ตบอร์ด