มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคส่งคําชี้แจงศาลปกครอง ขอคุ้มครองชั่วคราวดีล ซีพี-เทสโก้

ซีพี ควบรวมเทสโก้

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผนึก 36 องค์กรผู้บริโภค ส่งคําชี้แจงขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราว กรณี กขค. อนุญาตควบรวมธุรกิจ ซีพี – เทสโก้โลตัส แจงหากปล่อยให้รวมกิจการต่อไปจะเพิ่มอำนาจครอบงำธุรกิจ ปิดทางเลือกผู้บริโภค ทำลายกิจการรายย่อย

วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าว ”ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ องค์กรผู้บริโภคในฐานะผู้ฟ้องศาลปกครองร่วมกับ 36 องค์กรผู้บริโภค รวมทั้งผู้บริโภครายบุคคล กรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) มีมติอนุมัติให้ บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวล ลอปเม้นท์ จํากัด ควบรวมกิจการกับ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส จํากัด อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้ส่งคําชี้แจงถึงเหตุผลที่ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยระบุว่า หากศาลไม่คุ้มครองชั่วคราวจะทำให้เกิดการผูกขาดจนยากต่อการแก้ไข เยียวยาภายหลัง

คําชี้แจงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้ เมื่อมีการรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัทสะท้อนให้เห็นว่าหลังรวมธุรกิจจะทำให้สามารถครอบงำตลาดค้าปลีกได้ทุกประเภท นอกจากนี้ เมื่อรวมกับธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่จะส่งผลให้ทั้งสองบริษัทมีอำนาจผูกขาดตลาดตั้งแต่ต้นน้ำถึง ปลายน้ำ ซึ่งเป็นการผูกขาดตลาดในแนวดิ่ง คือ

แม้บริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด จะประกอบกิจการในตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ แต่ก็ยังเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ทางนโยบายกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ เสมือนหนึ่งเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน ซึ่งในเครือธุรกิจดังกล่าวนั้นประกอบธุรกิจในตลาดค้าส่งสมัยใหม่ ได้แก่ บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) กิจการที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าบริโภค กิจการด้านกลุ่มการเกษตรและ ปศุสัตว์ และธุรกิจการขนส่งสินค้า สุดท้ายหากปล่อยให้มีการกระจุกตัวเพิ่มมากขึ้น

ทั้งการรวมธุรกิจ การขยายสาขา การมีอำนาจเหนือตลาด จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยต้องถูกกีดกันออกจากตลาดการแข่งขันทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในตลาดค้าปลีก และไม่เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นในตลาด

นอกจากนี้ การรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัทจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกขนาดเล็กน้อยลง เนื่องจากการรวมธุรกิจครั้งนี้ทำให้ทั้งสองบริษัทมีอำนาจเหนือตลาดมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อมีอำนาจเหนือตลาดก็ยังส่งผลให้มีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้า รวมถึงชนิด และปริมาณของสินค้าที่จําหน่ายได้

จากรายงานการวิจัยของศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ที่ระบุว่า ปัจจุบันประเทศกําลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับปัญหาข้อจํากัดด้านเทคโนโลยี ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ รวมถึงปัญหาสภาพคล่องซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่มีอยู่มากที่สุดจำนวน 8.95 แสนราย จากผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งหมด 9.05 แสนราย หากคำสั่งรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัท