เปิดฮาวทูส่งออก “จีน-อินเดีย” อย่างไรให้ฉลุย

ฮาวทูส่งออกจีน-อินเดีย อย่างไรให้ฉลุย หลัง FTA เปิดโอกาสสร้างแต้มต่อผู้ประกอบการสินค้าเกษตรไทย ชี้ดาวรุ่ง ผลไม้สด ผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องเทศ สมุนไพร เติบโตพุ่ง 

วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 นายนราธิป อ่ำเที่ยงตรง ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาด ที่ปรึกษาด้านพัฒนาศักยภาพธุรกิจองค์กร ภาครัฐ เอกชน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสมาร์ท โมชั่น จำกัด กล่าวในงาน สัมมนาออนไลน์ Webinar ภายใต้หัวข้อ ‘’FTA นำเกษตรไทย ทะลุโควิด ตะลุยตลาดมังกรและแดนภารตะ‘‘ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ว่า  ตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งเน้นการเร่งขยายตลาดให้กับสินค้าไทยส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพอย่างจีนและอินเดีย ซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงและนิยมสินค้าของไทย จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะสามารถส่งออกสินค้าเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับจีนและอินเดียเป็นประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างแต้มต่อและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยได้ 

โดยจากการศึกษาของทั้ง 2 ตลาด พบว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะทำตลาดจีนและอินเดียต้องเรียนรู้ก่อนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไป คือ 1.เปิดใจ เข้าใจตลาด ปรับตัวต่อตลาดและตลาดสมัยสมัยใหม่ ซึ่งปัจจุบันมิติทางสังามและพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าในอดีต  2.เรียนรู้ตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ เนื่องจากทั้งจีนและอินเดียเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรค่อนข้างข้าง New Generation โดยเฉพาะ Y Z  มีผลต่อตลาด ศึกษาทั้งนโยบายที่มาจากภาครัฐ หรือสังคม ผู้ประกอบไม่ควรช้า เพราะแค่หยุดก็เท่ากับถอยหลัง ควรอาศัยช่วงจังหวะที่จะศึกษา วางกลยุทธ์ตลาดให้แยบยลมากขึ้น และ ควรมี lOhAS = lifestyle of health and Sustainability เพราะปัจจุบัน ลูกค้าจีน อินเดียมองความเป็นมืออาชีพ Prefestional consumer เราต้องเป็นมืออาชีพ มั่นใจในสินค้า ควรศึกษานอกจากระเบียบทั้งสองประเทศ ทุกมิติ ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันของ2ประเทศในอนาคต ตลาดจะมีความเป็นเมือง มากขึ้น จากอดีตที่ส่งสินค้าป้อนตลาดหลักก็เริ่มกระจายตัวเมืองรอง รายมณฑล

ส่วนเทคนิคที่ผู้ประกอบการไทย ควรเจาะตลาดพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ Convenience ต้องมี 8 สะดวก โดยเฉพาะยุคเปลี่ยนผ่านช่วงโควิด 1.สะดวกหา 2.สะดวกซื้อ 3.สะดวกใช้ 4.สะดวกเก็บ+รักษา (Package Design) 5.สะดวกใจ มีคุณค่า มีประโยชน์ 6.สะดวกจ่าย 7.สะดวกขาย (สำหรับตลาด Wholesale / Retail) 8.สะดวกแปรรูป (สำหรับตลาด Manufacturing) ทั้งหมดนี้ต้องสร้างความแตกต่าง ควรให้ตลาดผสานกับสินค้า มีงานวิจัย มีความ Smart ลูกค้ายุคใหม่จะซื้อจากหัวใจของเจ้าของแบรนด์ สรุปว่า อาหารที่ดี มีที่มา ราคาคุ้มค่า ศึกษาตลาดได้จริง

ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ต้องการขยายตลาดสินค้าเกษตร อาหาร และอาหารแปรรูป จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อเตรียมความพร้อมส่งออกไปตลาดจีนและอินเดีย รวมทั้งใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อให้กับสินค้าเกษตรไทย 

สำหรับ ปัจจุบันไทยมีความตกลงการค้าเสรีกับจีนและอินเดีย ได้แก่ FTA อาเซียน-จีน ไทย-อินเดีย และอาเซียน-อินเดีย ซึ่งส่งผลให้จีนและอินเดียได้ลดและยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกส่วนใหญ่จากไทยแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้เปรียบเมื่อต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการจากประเทศอื่นในตลาดจีนและอินเดีย โดยนับตั้งแต่ปี 2548 ที่ไทยมี FTA กับจีน พบว่า ในปี 2563 การส่งออกของไทยไปจีนขยายตัวถึงร้อยละ 225 และนับตั้งแต่ปี 2547 ที่ไทยมี FTA กับอินเดีย พบว่า ในปี 2563 การส่งออกของไทยไปอินเดียขยายตัวถึงร้อยละ 500    

สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกของไทยไป 18 ประเทศคู่ FTA มีมูลค่ากว่า 8,428 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 20 โดยไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนมูลค่ากว่า 4,459 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 45 และไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปอินเดียมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 84 สินค้าเกษตรของไทยที่ขยายตัวได้ดีในตลาดจีนและอินเดีย เช่น ผลไม้สด ผลไม้แช่เย็น ผลไม้แช่แข็ง ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องเทศ สมุนไพร ผลไม้กระป๋อง และผลไม้แปรรูป เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของการค้าไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ทั่วโลกจะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19