
เมื่อปี 2563 บริษัท พาวเวอร์ แอนด์ เอ็นเนอร์ยี่ แมเนจเม้นท์ จำกัด รวมตัวกับธุรกิจน้ำมัน บริษัท ภาคภิญโญ จำกัด เปิดตัวปั๊มน้ำมันน้องใหม่ แบรนด์ “ฟีนิกซ์ สเตชั่น”
พลิกกลยุทธ์ปั้นแฟรนไชส์น้ำมัน ยึดเส้นทางรองสร้างระบบเศรษฐกิจให้ชุมชน “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “โกศล แสงรังษี” ประธานกรรมการบริหาร ถึงการฝ่าความท้าทายตลาดพลังงานว่า
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- กรุงไทย-ออมสิน ระเบิดโปรฯ เงินฝาก “ดอกเบี้ยพิเศษ” เช็กเงื่อนไขที่นี่
การเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีก
บริษัทมี concept เป็น convenience station วางรูปแบบสถานีบริการ 2 แบบ คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ รวมทั้งบริหารสถานีบริการน้ำมันด้วยตัวเอง และแบบ franchise
โดยแบ่งเป็น 4 ขนาด คือ S พื้นที่ 1-2 ไร่ เงินลงทุน 10 ล้านบาท ไซซ์ M พื้นที่ 2-3 ไร่ ลงทุน 20 ล้านบาท ไซซ์ L พื้นที่ 4 ไร่ขึ้นไป ลงทุน 30 ล้านบาทและ micro station พื้นที่ 200 ตร.ว. ขึ้นไป เงินลงทุน 5 ล้านบาท และยังมีร้านต้นน้ำ คาเฟ่ ที่ออกแบบให้เป็น coworking space และบริการอัดประจุไฟฟ้า EV เพิ่มด้วย
“เราดำเนินนโยบายลักษณะป่าล้อมเมือง ไม่ได้ต้องการสู้กับคู่แข่งรายใหญ่ เลือกไปในเส้นทางที่คู่ค้าอื่นไม่ไป ไม่สนใจ หรือไปไม่ถึง เริ่มต้นจากเส้นทางสายรองในต่างจังหวัดมีแนวความคิดอยากให้คนในชนบทสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ปลุกชีวิต ชุบชีวิตให้กับชุมชนฟื้นขึ้นมาใหม่ เอาปั๊มน้ำมันเข้าไปตั้ง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างเศรษฐกิจในชุมชน”
ปี’64-65 ปูพรม 300 สาขา
ตามแผนปี 2564 จะเริ่มเปิด 10 สาขานำร่องที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และที่จะเปลี่ยนจากปั๊ม LPG อีก 50 สาขา จากนั้นในปี 2565 จะขยายสาขาและสถานีอัดประจุไฟฟ้า EV รอบกรุงเทพฯ ปริมณฑล 300 แห่ง
“ตั้งเป้ายอดขายน้ำมันเส้นทางสายหลัก 150,000 ลิตร/เดือน และเส้นทางสายรองในเขตปริมณฑล 100,000 ลิตร/เดือน หรือ 3,333 ลิตร/วัน เช่น ปทุมธานี สุพรรณบุรี นครปฐม อยุธยา นนทบุรี และสระบุรี”
นอกจากนี้ยังมีแผนเดินหน้าโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการปั๊มแก๊ส LPG เป็นปั๊มน้ำมันฟีนิกซ์ 300 แห่ง
เปลี่ยนปั๊ม LPG เป็นปั๊มน้ำมัน
ผู้ประกอบการปั๊มแก๊ส LPG ได้รับผลกระทบเริ่มทยอยปิดตัวลง ตั้งแต่ปี 2560-2564 จากปริมาณการใช้ LPG สำหรับภาคการขนส่ง ลดลง 12% ในปี 2564 คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ LPG มีแนวโน้มลดลง 1-5.5%
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะยกเลิกการสนับสนุนราคา LPG ภาคการขนส่ง ทำให้รถยนต์ที่ใช้ LPG ลดลง 12.2-15.8% เหลืออุดหนุน LPG ใช้ในครัวเรือน ซึ่งจะทำให้ราคา LPG ปรับตัวสูงขึ้น ผู้ใช้แก๊ส LPG ในภาคการขนส่ง เช่น รถแท็กซี่หันมาใช้น้ำมันดีเซล หรือเบนซินกันมากขึ้น
จากปัญหาดังกล่าวจึงมีโครงการ Phoenix Station Plus ช่วยเหลือปั๊มแก๊ส LPG โดยร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ให้วงเงินสินเชื่อรีโนเวตปั๊มจาก LPG เป็นปั๊มน้ำมันและอัดประจุไฟฟ้า 3-5 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไมโคร สเตชั่นของเรา ลงทุนไม่สูงและให้ผลตอบแทนใน 4 ปี
สสว.จะให้สิทธิพิเศษเป็น vender list จัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ ให้ความรู้และแนวทางการทำธุรกิจ การแก้ไขปัญหาและวางแผนธุรกิจ และเรายังให้สิทธิพิเศษไม่เสียค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าออกแบบสถานีบริการ ส่วนลดพิเศษราคาน้ำมัน ป้ายทาวเวอร์ 50% เข้าร่วมแพลตฟอร์ม Phoenix Online ช่วยประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย
สู่ Market Place
เราตั้งใจเอา IT แพลตฟอร์มนำ 5G มาใช้เป็นต้นแบบของธุรกิจปั๊มน้ำมัน มีระบบจองโรงแรมออนไลน์ ระบบเรียนออนไลน์ พร้อมทั้งรวบรวมธุรกิจในชุมชน เช่น หมูปิ้งเฮียนพ ลูกชิ้นจัง มาละเด้อ ยำแซ่บ มาไว้
พร้อมวางระบบขนส่งทำให้ปั๊มเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเป็น market place มากกว่าปั๊มน้ำมัน
ราคาน้ำมัน “ขาขึ้น”
ไตรมาส 4 ทิศทางน้ำมันขาขึ้น เพราะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมันมีปริมาณสูงขึ้นจากที่เป็นช่วงฤดูกาลหนาวและทั่วโลกฉีดวัคซีนโควิด-19 กันมากขึ้น ช่วยสร้างความเชื่อมั่น ทำให้คนกล้าออกมาใช้ชีวิต และจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เราจึงเตรียมโปรโมชั่นพิเศษสำหรับเกษตรกร จำหน่ายน้ำมันดีเซลราคาถูกกว่าราคาประกาศ 10-20 สตางค์/ลิตร ช่วงปลายเดือน ม.ค. 2565 นำร่องได้ก่อน 9 สาขา ในจ.นครปฐม 2 แห่ง จ.สมุทรสาคร 6 แห่ง และ จ.ปราจีนบุรี 1 แห่ง
ส่วนการบริหารสต๊อกน้ำมันไม่มีปัญหา เนื่องจากมีพันธมิตรอย่างบริษัท ภาคภิญโญ ทำให้คลังน้ำมัน 3 แห่ง อยู่ที่ท่าฉลอม มหาชัย และพระประแดง มีน้ำมันเพียงพอสำหรับให้บริการ และมีระบบขนส่งที่รวดเร็ว มีระบบการบริหารจัดการที่ดี