สศก.ชี้จับตาครึ่งปีหลังเจอปัจจัยคุกคาม เพื่อนบ้านตีตลาดข้าว-ราคาน้ำมัน หลังดัชนีราคาสินค้าฯวูบ!

สศก.ชี้จับตาครึ่งปีหลังเจอปัจจัยคุกคาม เพื่อนบ้านตีตลาดข้าว-ราคาน้ำมัน หลังสำรวจดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน มิ.ย.วูบร้อยละ 5.55

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งวัดจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรประจำเดือนมิถุนายน 2560 ลดลงร้อยละ 5.55จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มิถุนายน 2559) แต่ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มร้อยละ6.21คาดว่ากรกฎาคมยังทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 59ในขณะที่ครึ่งปีหลังยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจากปัจจัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตคู่แข่ง เศรษฐกิจคู่ค้า และราคาน้ำมันดิบโดยเฉพาะปริมาณผลผลิตคู่แข่งเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมาร์ รัฐบาลเมียนมาร์ขยายพื้นที่ปลูกข้าวตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำอิระวดี พร้อมทั้งวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวปอซานมุยมีลักษณะเป็นข้าวหอมเมล็ดสั้น รวมถึงตระกูลข้าวหอมกัมพูชา เวียดนาม ส่งผลให้สินค้าบางตัวราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมถึง มันสำปะหลัง ราคาส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ต่ำประกอบกับฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้หัวมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์แป้งค่อนข้างต่ำ สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และสุกร

ขณะเดียวดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.45เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มิถุนายน 2559)สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก สับปะรดโรงงาน เงาะโรงเรียน มังคุด ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาวแวนนาไม ส่งผลต่อภาพรวมดัชนีรายได้เกษตรกรช่วงเดือนเดือนมิถุนายน 2560 พบว่า เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2559 ร้อยละ6.21จากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นคาดว่าดัชนีรายได้เกษตรกรเดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมาjถึงแม้ว่าดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ดัชนีราคาลดลง (มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา)


“สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างยางพารา เนื่องจากมีการหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการออกมาตรการร่วมกันเพื่อผลักดันราคายางให้สูงขึ้น มังคุด ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากตลาดยังมีความต้องการต่อเนื่องจากช่วงต้นฤดูกาล ไก่เนื้อ ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิต ไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคโดยปัจจัยหลักแนวโน้มความต้องการของตลาดต่างประเทศยังคงเป็นบวก ภาวะตลาดโลกไทยยังคงครองตลาดอาเซียนเป็นหลักสัดส่วน 22% จีน 18% ญีปุ่น สหภาพยุโรป อเมริกา 12%