เด็กไทยโอด! “ขอลดการบ้าน”ชี้เป็นภาระ! อยากได้เงิน-กล้อง-คอมพ์ ชอบสังคมไทย”สงบชิลๆ”

วันที่ 12 มกราคม 2560 Newground องค์กรศึกษา วิจัย เเละสนับสนุนให้เกิดทางเลือกในการเเก้ปัญหา เเละพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในอนาคต จัดทำเเบบสำรวจผ่านเเพลตฟอร์มออนไลน์ ถึงเเนวความคิดเห็นที่เยาวชนไทยมีต่อประเทศไทย ประจำปี 2560 ในชื่อเเคมเปญ #bye2017 โดยมีการเเถลงเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นที่คนรุ่นใหม่มีต่อผู้ใหญ่เเละประทศ จากกลุ่มตัวอย่าง 7,010 คน ที่ร้าน FATHOM BOOKSPACE ซอยสวนพลู

นายเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ตัวเเทนองค์กรนิวกราวด์ กล่าวถึงความคิดเห็นที่เยาวชนอายุระหว่าง 10-25 ปี มีต่อประเทศไทยเเละผู้ใหญ่ ประจำปี 2560 ว่า โครงการนี้เริ่มจากมีการสร้างเเพลตฟอร์มคำถามออนไลน์ เเละเผยเเพร่ทางเฟซบุ๊กให้เยาวชนเข้ามาตอบคำถาม ระหว่างวันที่ 3-31 ธันวาคม 2560 ซึ่งพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 7,010 คน เเบ่งเป็นเยาวชน 6,010 คน และประชาชนทั่วไป 1,000 คน โดยเฉลี่ยเเต่ละคนตอบคำถามประมาณ 9 นาที อยากให้ความคิดเห็น มีเวลาตอบคำถาม 54 ข้อ เป็นบุคคลที่มีสมาร์ทโฟน เเละเล่นเฟซบุ๊ก

โดยจะมีการให้คะเเนนสำหรับคำถามเเต่ละข้อ พบว่า ปัจจุบันเด็กเยาวชนสะท้อนว่าตัวเองมีภาระที่ต้องทำเยอะ ใช้ประโยชน์จากความรู้ที่เรียนมาได้น้อย เเต่ยังเข้าถึงโอกาส สามารถเลือกวิถีชีวิตได้ด้วยตัวเองอยู่ในระดับปานกลาง

สำหรับเรื่องคำตอบที่เด็กเยาวชนสงสัยนั้น ผลสำรวจพบว่า เด็กสามารถหาคำตอบได้จากอินเทอร์เน็ตในระดับสูงถึง 82.42 คะเเนน รองลงมาคือกลุ่มเเวดวง วงการ กลุ่มเพื่อน อยู่ในระดับคะเเนน 61.7 คะเเนน ซึ่งสถานที่ของผู้ใหญ่ อาทิ ศูนย์วิจัย วัด กับอยู่ในระดับต่ำเพียง 37.56 คะเเนนเท่านั้น

นายวริศ ลิขิตอนุสรณ์ ตัวเเทนองค์กรนิวกราวด์ เปิดเผยถึงสิ่งที่น่าวิตกคือ การเป็นตัวของตัวเอง เมื่อเด็กอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ หรือต้องพูดคุยกับผู้ใหญ่ พวกเขามีความเป็นตัวเองต่ำในระดับคะเเนน 39.42 คะเเนน ตรงกันข้ามเมื่ออยู่กับกลุ่มเพื่อน หรือไปเที่ยว ที่มีความเป็นตัวเองในระดับคะเเนนที่สูงอย่างมาก

ขณะที่ความมั่นใจเมื่อมีปัญหากับผู้ใหญ่ ครู หรือคนที่มีอำนาจมากกว่าเเล้วจะได้รับความยุติธรรมนั้นอยู่ในระดับที่น้อยมาก เพียง 28.82 คะเเนนเท่านั้น เมื่อเกิดความเครียดหรือความกังวลจะได้รับความช่วยเหลือเพียง 42.10 คะเเนน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ

ในส่วนของมุมมองต่อผู้ใหญ่ “นายวริศ” อธิบายว่าประเด็นที่น่าสนใจคือ เด็กเยาวชนสะท้อนว่า ผู้ใหญ่ขอโทษหรือเเสดงความรู้สึกผิดอยู่ในระดับคะเเนนที่ต่ำ คือ 24.37 คะเเนน เเละรู้สึกถูกจับผิดจากผู้ใหญ่สูงถึง 57.79 คะเเนน ทำให้เห็นภาพว่า เมื่อเด็กเยาวชนกระทำสิ่งใดตามความคิด หรือวิถีของตัวเอง หากมีอุปสรรคเกิดขึ้น จะโดนผู้ใหญ่ต่อว่า เเละไม่เชื่อมั่นในตัวพวกเขา

ขณะที่นายวรรัส สบายใจ หนึ่งในตัวเเทนองค์กรนิวกราวด์ เล่าถึงเเพลตฟอร์มคำถามว่ายังมีให้ตอบคำถามแบบปลายเปิด ในประเด็นเรื่องดีๆ ที่เด็กเเละเยาวชนคิดออก จากทั้งหมด 4,354 คำตอบ สิ่งที่พวกเขาคิดออกคือ งาน เงิน อาชีพ การมีส่วนร่วม ซึ่งกรณีนี้หมายถึง การมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิ์เรื่องการเมืองของประเทศ เเละยังมีบางสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม คือ “เกมจริงจัง” ที่เด็กเยาวชน อยากเป็นคนสร้างเกมขึ้นมาเอง ไม่ใช่เกมที่โหลดได้ทั่วไป

ผลสำรวจยังทำให้เห็นถึง 5 สิ่งที่เด็กเยาวชนไทยอยากได้จากคำตอบ 3,277 คำตอบ คือ 1. รับฟัง เข้าใจ อยากให้ผู้ใหญ่รับฟังความคิดในสิ่งที่เขาอยากทำ หรืออยากจะเป็น เเละเข้าใจในเรื่องนั้นๆ 2. เงิน ปัจจุบันจะเห็นว่าเด็กจะใช้เงินต้องขอผ่านผู้ปกครอง เงินในที่นี้คือการให้พวกเขาได้มีกระเป๋าเงินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องคอยขอพ่อเเม่ เพื่อที่จะได้เอาไปทำในสิ่งที่ต้องการ

3. ของขวัญ ข้อนี้มีผู้ตอบคำถามอยากได้คอมพิวเตอร์ โดยเขียนคุณสมบัติของเครื่องคอมพ์ที่อยากได้ หรือเเม้เเต่อยากได้กล้องถ่ายรูปเพื่อนำมาใช้ถ่ายภาพ ทำคลิปวิดีโอ 4. ผู้ใหญ่ปรับปรุงตัวเอง เพื่อให้เข้าใจความคิดของเด็กเยาวชนมากขึ้น 5. ปรับปรุงระบบการศึกษา คำตอบในข้อนี้เด็กเยาวชนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากให้อาจารย์ให้การบ้านน้อยลง หรือหากจะให้การบ้านเยอะก็ควรไปปรึกษากันก่อน การบ้านจะได้ไม่ชนวิชากัน เพราะจะนำไปสู่ความคิดที่ว่ามันคือภาระ

นายวรรัส กล่าวต่อว่า ผลสำรวจคำถามเเบบปลายเปิด กรณีสื่อขาดเรื่องอะไร จากคำตอบ 1,706 คำตอบ คือเด็กเยาวชนเห็นว่า ยังขาดในเรื่องของผู้ใหญ่เเละเยาวชน โดยอยากให้สะท้อนปัญหาที่วัยรุ่นเจอจริงๆ รวมไปถึงนำเสนอให้มีสาระ ความรู้ ความสร้างสรรค์ใหม่ๆ เเต่ที่น่าสนใจคือสื่อยังขาดในเรื่องเพศศึกษา ความหลากหลายทางเพศ รวมถึงความเท่าเทียมทางเพศ กรณีเรื่องเพศอยากให้เปิดกว้าง ไม่ว่าจะเป็นเรีื่องการเเต่งกายข้ามเพศ หรืออธิบายมาให้ชัดเจน เช่น หากเป็นทอมต้องตัดผมอย่างไรจึงจะถูกต้องเมื่อเข้าเรียน

ซึ่งสิ่งที่สื่อมีมากเกินไป ผลสำรวจจากคำตอบเด็กเยาวชนจำนวน 1,437 คำตอบมองว่า สื่อมีเรื่องดารา บันเทิงมากเกินไป ในขณะที่สามารถดูได้จากอินสตาเเกรมของดาราคนนั้นได้เอง หรือรับรู้อยู่เเล้วสื่อยังเล่นเป็นประเด็นใหญ่ หรือเเม้เเต่เรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องไร้สาระ ประเภทข่าว สามียิงภรรยา ซึ่งไม่เกี่ยวกับตัวเขา จนเกิดคำถามที่ว่า พวกเขาต้องรู้หรือ? รวมไปถึงการนำเสนอเรื่องเด็กเเบบลำเอียง ซึ่งเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้สึก เมื่อมีข่าวนำเสนอเด็กเรียนเก่งมากจนเกินไป

ด้านนางสาว วิภาพรรณ วงษ์สว่าง ตัวเเทนองค์กรนิวกราวด์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เด็กเยาวชน ตอบถึงเรื่องที่ชอบในประเทศไทย จากจำนวน 2,990 คำตอบ พบว่า เด็กบอกว่า “ก็ดี ไม่ลำบาก” ซึ่งเป็นคำตอบที่เขียนมาเยอะ รองลงมาคือ อาหารอร่อย คนไทยน่ารัก สงบชิลๆ ไม่ทะเลาะกัน รวมไปถึงที่เที่ยว วัฒนธรรม สวยงาม

ส่วนเรื่องที่อยากให้ประเทศปรับปรุง คือ การศึกษา ส่วนกลาง สาธารณะ การเดินทางคมนาคม การเมือง รวมไปถึงเศรษฐกิจ

นอกจากนี้นิวกราวด์ยังได้มีการเก็บผลสำรวจเพิ่มเติมจากบอร์ดกระทู้เว็บไซต์ Dek-d จำนวน 500 กระทู้ ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม ปี 2560 พบว่า หัวข้อร้องเรียนที่เด็กเเละเยาวชนตั้งกระทู้มากที่สุดคือ การมีปัญหาความสัมพันธ์กับครู 67% ตามมาด้วยเรื่องทรงผม 8% การรับน้องเเละถูกลวนลาม 6%


นางสาววิภาพรรณ กล่าวทิ้งท้ายว่า การทำงานของนิวกราวด์หลังจากนี้คือ คือการนำ Natural Language Processing ซึ่งเป็นการประมวลข้อมูลที่ได้มา มีการวิเคราะห์ทั้งในเชิงโครงสร้างเเละความหมายทางภาษา โดยการทำงานร่วมกับฐานความรู้ เเล้วทำการประเมินค่าเพื่อหาคำตอบ เเละจะทำการเปิด Open Data ของข้อมูล ซึ่งต่อไปจะต้องมีการสำรวจในกลุ่มพื้นที่เฉพาะ เเละขยายกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอพัฒนาเยาวชนจากปัญหาเเละความต้องการของเยาวชนอีกด้วย