KBTG จับมือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) เปิดหลักสูตร ปริญญาโท KBTG Kampus พัฒนา Tech Talent ด้วยการศึกษายุคใหม่ เสริมแกร่งทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงกำลังเร่งปฏิกิริยาขึ้น ความร่วมมือมีการขยับขยายและเห็นภาพถึงการพัฒนาการมากขึ้นในเรื่องของการนำเครื่องมือ นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใข้รวมไปถึงเอไอ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกภาคส่วนร่วมมือกันแก้ปัญหาโดยนำเอไอมาใช้
“เอไอเป็นทาสเรา เราเป็นผู้ใช้และต้องใช้ให้เป็น ทุกคนต้องปรับเปลี่ยน สิ่งที่ต้องทำคือ การหาวิธีการใช้เอไออย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่การปิดกั้นเอไอ” รศ.ดร.คมสันกล่าวย้ำ
ณ ทุกวันนี้ประชากรไทยมีอัตราเกิดลดลง คนไม่ได้ตายที่อายุ 70 สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ การมองในมุมกว้างว่าจะสร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มคนสูงวัยที่จะกลายเป็นประชากรหลักของประเทศได้อย่างไร สร้างความเป็นอยู่ดีที่และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต คุณภาพจะดีขึ้นได้นโยบายของประเทศต้องสอดรับกับ Ageing Society และต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจกันร่วมหาโมเดลเพื่อดูแลผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้
จับมือสร้างจุดแข็งร่วมกัน
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล บอกเล่าถึงการปรับตัวให้เท่ากันกับสังคม เศรษฐกิจในปัจจุบันว่า เอไอเป็นหนึ่งใน Technology Disrupt แต่เรื่องทางการเมือง (Geopolitics) ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน และภาวะโลกร้อนก็เป็นเรื่องน่ากลัวหากไม่มีการเตรียมรับมือ
“ในมุมมองของการศึกษาจึงต้องขยับเข้ามาสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs และสังคมกำลังเข้าสู่ภาวะผู้สูงวัย จึงมีความสำคัญที่ต้องหาทางที่จะนำเอไอมาใช้ในไอเอ (Artificial Intelligence) ได้อย่างไร”
ประเทศไทยขาดความร่วมมือกัน ปัจจุบันมีการสอน Committed Reality และปีหน้าจะตัดเกรดผ่าน Metaverse ได้อย่างน้อย 2-3 วิชา ซึ่งมหิดลมีนโยบายในการที่ให้อาจารย์สามารถเข้าถึงเอไอพรีเมี่ยมได้ภายในสิ้นปีนี้ จุดสำคัญคือพิทโฟลของมหาวิทยาลัยขาดความรู้เรื่องกฎหมาย และขาดแอนาไลซิสทางเศรษฐศาสตร์ที่ดี ความร่วมมือกันในแต่ละมหาวิทยาลัยจะสร้างเอาต์คัมและอิมแพ็กต์ได้ในระยะยาว
ความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในยุคเอไอ
ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การปรับตัวต้องยอมรับให้ได้ว่า โลกของเรากำลังเผชิญกับสารพัดสงคราม อยู่ท่ามกลางสมรภูมิหลายแบบ เช่น ความขัดแย้งต่าง ๆ ในโลก และยังมีสงครามยุคใหม่ สงครามการค้า สงครามการเมือง สงครามทางเทคโนโลยีต่าง ๆ สงครามออนไลน์ หรือแม้แต่สงครามไซเบอร์
นอกเหนือจากความเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือการวางตำแหน่งของประเทศไทยว่าจะอยู่ตรงไหนของโลกใบนี้ โดยมีความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถทิ้งได้
มหาวิทยาลัยจึงต้องเสริมความแข็งแกร่งผ่านการร่วมมือกัน การใช้เอไอเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ การร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ โดยให้ความรู้พื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยในปี 2570 มธ.จะบังคับให้นักศึกษาทุกคน ทุกคณะต้องฝึกงาน
“ความรู้ขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็น เอไอฉลาดแค่ไหน หากผู้ใช้งานไม่เก่ง ไม่มีความรอบรู้ ก็จะไม่สามารถเกิดผลลัพธ์อันดีได้ จึงต้องสร้างสมดุลระหว่างความรู้พื้นฐานของโลกใบนี้กับเอไอ เพื่อที่จะสามารถยกระดับการพัฒนาประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม สนุกกับเอไอในการทำงานได้ แต่ต้องบาลานซ์โลกของปัญญาประดิษฐ์เข้ากับโลกธรรมดาให้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องละออกจากโลกออนไลน์ไปใช้ชีวิตนอกบ้านบ้างจึงจะดี” ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
KTBG ช่วยสร้างคน เพื่อให้คนไปสร้างอนาคต
เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท KBTG กล่าวว่า การศึกษายุคใหม่ต้องนำไปสู่อนาคต ต้องสามารถใช้งานได้จริง และตรงกับธีมที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีใช้ตอบโจทย์ได้หลากหลาย รวมไปถึงช่วยในการปรับตัวกับสิ่งต่าง ๆ โลกมนุษย์ในอนาคตมีความรู้ที่ลึก และรอบรู้ในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งสามารถผนวกความรู้เข้าด้วยกันได้
การนำเอไอมาช่วยในการศึกษาสามารถช่วยยกระดับได้หลาย ๆ เรื่อง เช่น Syntactic Patient, การทำอุปกรณ์ช่วยเหลือแก่บุคลากร สามารถช่วยสร้างอนาคต สร้างคนที่รู้เท่าทันเทคโนโลยีอย่างมีความหลากหลายให้เหมาะสมกับที่ประเทศไทยควรจะสร้าง ในส่วนนี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างคนให้แก่มหาวิทยาลัย สร้างผู้นำแห่งอนาคต สร้างอนาคตให้ประเทศต่อไป
การทำทูบช่วยบุคลากร เริ่มพัฒนามากกว่าไพบอทโปรแกรม เอไอที่ช่วบยกระดับได้ในหลาย ๆ เรื่อง ช่วยสร้างอนาคต สร้างคนรู้เทคโนโลยี มีความหลากหลาย เป็นอนาคตที่ประเทศไทยควรจะสร้าง เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างคนให้แก่มหาวิทยาลัย สร้างผู้นำแห่งอนาคต สร้างอนาคตให้แก่ประเทศ
KBTG Kampus ได้ต่อยอดเปิดตัวหลักสูตรระดับปริญญาโท ร่วมออกแบบหลักสูตรกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย โดยคัดสรรโจทย์จากงานวิจัยจริงมาพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมปัจจุบันและอนาคต รวมถึงมุ่งเน้นสาขาวิชาที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตั้งแต่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูล ด้านปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรม ไปจนถึงด้านความปลอดภัย จนได้ออกมาเป็น
KBTG Kampus 3 หลักสูตร
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
3. หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรแล้ว KBTG จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้สนใจเข้าศึกษาต่อและดูแลหลักสูตรเพื่อรองรับนักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าจนถึงเรียนจบ โดยหวังจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบและยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย ไปจนถึงอุตสาหกรรมไอทีระดับประเทศ ผ่านการพัฒนา Tech Talent รุ่นใหม่ ตอกย้ำการเป็นองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำของไทย พร้อมได้มีการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้กับทางมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
KBTG Kampus จะประกอบไปด้วย 3 โปรแกรมหลัก
1. KBTG Kampus ClassNest ร่วมมือกับพันธมิตรในการออกแบบพัฒนาหลักสูตร Bootcamp สร้างบุคลากรเทคโนโลยีรุ่นใหม่ โดยคัดเลือกผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศมาช่วยอัพสกิลคนไอทีทุกเพศทุกวัย เพื่อบ่มเพาะทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน รวมถึงเพิ่มโอกาสเข้าทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ โดย KBTG มีการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก และหลังจากเรียนจบหลักสูตรแล้ว ผู้เรียนยังสามารถยื่นคะแนน Post-Test ตรงเข้าสัมภาษณ์รอบสุดท้ายกับ KBTG ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา KBTG Kampus ClassNest ได้จัด Bootcamp มาแล้วทั้งสิ้น 7 หลักสูตร คือ Java & Go Software Engineering (2 รุ่น), Cyber Security (2 รุ่น), Infrastructure และ M.A.D (Machine Learning, AI, Data) ที่ทำร่วมกับแพลตฟอร์มมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีผู้สนใจสมัครรวมแล้วกว่า 3,000 คน และผู้เข้าร่วมหลักสูตรแล้วกว่า 1,000 คน
2. KBTG Kampus Apprentice เปิดให้นิสิตนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3-4 ได้เข้ามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานและพัฒนาทักษะผ่านการปฏิบัติงานจริงที่ KBTG กับผู้เชี่ยวชาญและทีมงานในช่วงระหว่างปีการศึกษา ซึ่ง KBTG ร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำร่องโปรแกรม Apprentice และขยายผลไปยังคณะอื่น ๆ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทดแทนการเรียนในห้องเรียน ด้วยการสัมผัสโลกทำงานจริงเป็นเวลาร่วม 2,000 ชั่วโมง จนถึงปัจจุบันมี Apprectice เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 50 คนในหลากหลายสาขาการทำงานใน KBTG ปัจจุบัน KBTG Kampus ได้ต่อยอด KBTG Apprentice ในระดับปริญญาโทร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยเป็นหลักสูตรนำร่องดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้น
3. KBTG Kampus Co-Research ต่อยอดความร่วมมือสู่การทำงานวิจัยร่วมกัน ระหว่าง KBTG และพันธมิตรมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยี เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและธุรกิจ S-Curve ใหม่ ๆ พร้อมยกระดับขีดความสามารถและขับเคลื่อนการทำวิจัยทางด้าน Deep Tech จากรั้วมหาวิทยาลัยออกสู่โลกภายนอก พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างอิมแพ็กต์ต่อผู้ใช้งานจริงในระดับภูมิภาค