ม.ศรีปทุม เปิด 2 หลักสูตรใหม่ รับเทรนด์ GEN Z ไม่อยากทำงานประจำ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิด 2 หลักสูตรใหม่ สาขาสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ สาขาการเป็นเจ้าของธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรม ตอบโจทย์ GEN Z และ Millennials อยากทำธุรกิจส่วนตัวที่ยืดหยุ่นมากกว่าทำงานประจำ

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เผยสถิติ Deloitte กว่า 66% ของ Gen Z และ 71% ของ Millennials สนใจหารายได้เสริม-ทำธุรกิจส่วนตัว ชี้ SMEs และสตาร์ทอัพเป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทย สร้างงานกว่า 14 ล้านตำแหน่ง เปิดปัจจัยผลักดัน คนรุ่นใหม่อยากทำธุรกิจมากกว่าทำงานประจำ

จากปัจจัยความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสมัยใหม่และ การสนับสนุนจากรัฐ-เอกชน แต่ยังพบอุปสรรคสำคัญด้าน เงินทุน ทักษะด้านบริหารธุรกิจ และการปรับตัวสู่ยุค AI โดยเดินหน้าเปิดหลักสูตรปั้นเจ้าของธุรกิจและ Startup ที่เก่งรอบด้าน เน้น AI Technology, Digital Marketing, Innovation เรียนรู้จาก CEO ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง สร้างเครือข่ายธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ

ผศ.ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย คณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ
ผศ.ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย คณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ

ผศ.ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย คณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ เปิดเผยว่า การสำรวจจาก Deloitte Global 2023 Gen Z และ Millennial Survey เปิดเผยแนวโน้มที่สำคัญของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในตลาดแรงงาน โดยพบว่า Gen Z และ Millennials ในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแนวทางการทำงานและสร้างรายได้

โดยให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น ลักษณะการทำงานแบบ Gig Economy ความหลากหลายในรูปแบบงาน และการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนผ่านธุรกิจส่วนตัวและการทำงานอิสระมากกว่าการพึ่งพางานประจำแต่เพียงอย่างเดียว

เทรนด์ใหม่ หารายได้ผ่านงานอิสระ

ข้อมูลจากรายงานระบุว่า 66% ของ Gen Z และ 71% ของ Millennials แสดงความสนใจในการหารายได้เสริมผ่านงานอิสระ เช่น งานผ่านแอปพลิเคชันด้านการขนส่ง การสร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์ และการทำธุรกิจขนาดเล็กที่ตอบโจทย์ตลาดเฉพาะกลุ่ม ความสนใจนี้สะท้อนถึงความต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยการลงทุนในทักษะส่วนบุคคลและธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ADVERTISMENT

ทั้งนี้ SME และสตาร์ทอัพ แกนกลางของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นเส้นเลือดฝอยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทย และหากสามารถเติบโตขยายกิจการให้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้ก็จะกลายเป็นเส้นเลือดใหญ่ของระบบเศรษฐกิจไทยได้

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า SMEs มีสัดส่วนถึง 99% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างงานมากกว่า 14 ล้านตำแหน่ง นอกจากนี้ ธุรกิจเหล่านี้ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คิดเป็นมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาทในปี 2024

ADVERTISMENT

ธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยเองก็เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น FinTech, HealthTech, และ AgriTech ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน การเติบโตของธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ที่มองหาวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มในยุคที่เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังขับเคลื่อนโลก

นอกจากนี้ในเทรนด์โลก จากการสำรวจของ Guidant Financial ในสหรัฐฯ พบว่า มากกว่า 13% ของธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ในประเทศเป็นของ Millennials โดยในกลุ่มนี้ 55% มั่นใจในความสามารถที่จะบริหารธุรกิจของตนเองให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ รายงานจาก Mintel ยังชี้ว่า 25% ของ Millennials ทั่วโลกมีแผนที่จะเริ่มต้นธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าความมั่นใจและแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่กำลังขยายตัวในระดับโลก

3 ปัจจัยผลักดันคนรุ่นใหม่หันมาทำธุรกิจส่วนตัว

  1. ความยืดหยุ่น งานประจำแบบดั้งเดิมที่มีชั่วโมงทำงานที่แน่นอนเริ่มไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน
  2. เทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์มการพัฒนาของเทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมตสินค้าและบริการ การใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซขยายตลาด
  3. การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเริ่มต้นธุรกิจ เช่น การลดขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท และการจัดตั้งกองทุนสนับสนุน SMEs

อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเริ่มต้นธุรกิจจะดูเหมือนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การขาดความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารธุรกิจ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในปัจจุบันมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน เช่น โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) “Ideation” สนับสนุน 100,000 บาทและโปรแกรม Proof of Concept (POC) ภายใต้โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) สนับสนุน 1,500,000 บาท ที่เปิดกว้างให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงได้ขึ้นกว่าเดิม

เรื่องขาดทักษะและความรู้ เช่น การวางแผนการเงินและบัญชีสมัยใหม่ การตลาดดิจิทัล และการจัดการซัพพลายเชน เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ขาดการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ AI จะช่วยให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มุมมองในอนาคตการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การเติบโตของ SMEs และสตาร์ทอัพในประเทศไทยไม่เพียงแต่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสให้กับชุมชนท้องถิ่น เช่น ธุรกิจในกลุ่ม Green Business และ Social Enterprise ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในอนาคต การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้คนรุ่นใหม่สามารถบรรลุเป้าหมาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้มองเห็นเทรนด์และความสำคัญของการสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพและ SMEs ของประเทศจึงได้เดินหน้า พัฒนาหลักสูตรสร้างเจ้าของธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ โดยคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเข้าสู่โลกธุรกิจ โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีที่เน้นการบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการสร้างธุรกิจสองสาขาหลัก

2 หลักสูตรใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

  1. สาขาสหวิทยาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นหลักสูตรแรกของประเทศที่ตอบโจทย์การเลือกเรียนข้ามศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถเป็นที่หนึ่งในแบบของตนเอง อีกทั้งยังเปิดกลุ่มมุ่งเน้นการสร้างเจ้าของธุรกิจดิจิทัลและแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. สาขาการเป็นเจ้าของธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้าง Startup และเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) และนวัตกรรม ประกอบให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้การแนะนำอย่างใกล้ชิดจากเจ้าของธุรกิจที่มีประสบการณ์ สถาบันการเงินและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ พร้อมสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่

รวมถึงหลักสูตรระยะสั้นสำหรับการเพิ่มทักษะ (Upskill) และการปรับเปลี่ยนทักษะ (Reskill) สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้แนวคิด คิด ทำ ขาย Local to Global ที่มีผู้สมัครเต็มตั้งแต่เปิดลงทะเบียน ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้ามาในหลักสูตรจะมีกระบวนการเติมทักษะในด้านต่างๆอาทิ Creativity Digital Marketing Storytelling Content Creator เป็นต้นผ่านการลงมือทำตั้งแต่ต้นและนำไปใช้ได้ทันที

ผศ.ดร.เกรียงไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกหลักสูตรเน้นการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงและการสร้างเครือข่ายในระดับประเทศและนานาชาติ เช่น การใช้ AI และเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยกระดับการบริหารธุรกิจตามแนวคิด “University AI” ของมหาวิทยาลัย ที่ได้ดีไซน์ให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบได้

เพราะมหาสิทยาลัยเชื่อว่า ไม่ใช่แค่การเรียนในห้องเรียน แต่คือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือทำจริง และได้รับประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในสายงาน เพื่อต่อยอดความสำเร็จในโลกอนาคต และถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ชอบเพื่อไปต่อยอดเป็นอาชีพหรือทำงานในอนาคตได้ มีการเรียนข้ามศาสตร์ในคณะอื่นที่ผู้เรียนสนใจ และยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากเครือข่ายพันธมิตร แบรนด์ที่ประสบผลสำเร็จ จากระดับนานาชาติ ในประเทศ และภาคเอกชน มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน