ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัว นักลงทุนจับตาเริ่มประชุมเฟดคืนนี้

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2560 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (25/7) ที่ระดับ 33.42/44 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันจันทร์ (24/7) ที่ 33.40/42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีเนื่องจากได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยบริษัทมาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นของสหรัฐ เพิ่มขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 54.2 ในเดือนกรกฎาคม สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 54.0 และเเพิ่มขึ้นจากระดับ 53.0 ในเดือนมิถุนายน ถึงแม้ว่าสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะรายงานยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐ ลดลงเกินคาด 1.8% สู่ 5.52 ล้านยูนิตในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญที่นักลงทุนตั้งตารอในสัปดาห์นี้จะเป็นผลการประชุมและแถลงการณ์จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งทางเฟดจะเริ่มจัดการประชุมในคืนนี้ โดยนักลงทุนคาดว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม และนักลงทุนจะรอดูสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้หรือไม่ และเฟดจะเริ่มต้นปรับลดปริมาณการถือครองตราสารหนี้ลงเมื่อใด โดยมีนักวิเคราะห์หลายท่านได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว เช่น นายสตีเฟน อินเนส จากบริษัท OANDA กล่าวว่า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ดสหรัฐอยู่ในระดับต่ำในระยะนี้ นักลงทุนจึงคาดว่าเฟดอาจจะแสดงความเห็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และปัจจัยนี้อาจจะส่งผลลบต่อดอลลาร์สหรัฐ  และนายคาโดตะกล่าวว่า ผมไม่คิดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ และการเมืองในสหรัฐ ส่วนปัจจัยอื่นที่ยังคงกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ก็คือประเด็นด้านการเมืองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับทีี่ปรึกษาของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ล่าสุดนายจาเรค คุชเนอร์ ลูกเขยและที่ปรึกษาระดับสูงของ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้บอกกับคณะผู้สอบสวนของวุฒิสภาในวันจันทร์ (24/7) ว่า เขาได้พบปะกับเจ้าหน้าที่ของรัสเซียจำนวน 4 ครั้งในปีที่ผ่านมา แต่เขาไม่ได้สมรู้ร่วมคิดกับรัสเซียในการมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งของสหรัฐในปี 2016 ซึี่งนักลงทุนคาดว่าเริื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อมาตรการกระุตุ้นเศรษฐกิอจของ ปธน.ทรัมป์ ที่มีแผนปรับลดภาษี และการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค

ส่วนปัจจัยภายในประเทศไทยก็มีการแถลงการณ์ของนายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าววา ตั้งแต่ต้นปี 2560 เงินบาทแข็งค่าประมาณ 7% จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ เป็นสำคัญ อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมายังมีเงินลงทุนโดยตรงของภาคธุรกิจที่ไหลเข้ามาเป็นปัจจัยกดดันเพิ่มเติมด้วย โดยแม้ในภาพรวมการแข็งค่าของเงินบาทจะสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของเงินสกุลภูมิภาค แต่ระยะหลังเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็ว สะท้อนปฏิกิริยาของตลาดที่อ่อนไหวกับความผันผวนในระยะสั้นที่มากเกินไป ดังนั้น ธปท.จะติดตามสถานการณ์ในตลาดการเงินดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ด้านภาคเอกชนควรพิจารณาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับกับความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.41-33.48 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 33.45/47 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรในวันนี้ (25/7) ค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.1637/40ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (24/7) ที่ 1.1650/52 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และปัจจัยความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินของภูมิภาคยูโรในอนาคต โดยนายอีฟส์ เมิร์ช กรรมการบริหารของคณะกรรมการนโยบาย ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปัจจุบันทำให้อีซีบีมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่การผ่อนคลายนโยบายทางการเงินในระดับที่สูงมากยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากในตอนนี้ยังคงไม่มีสัญญาณการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ส่วนทางด้านของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาก็มีสัญญาณชะลอตัวลง เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) คอมโพสิตขั้นต้นของไอเอชเอส มาร์กิตสำหรับยูโรโซน ลดลงสู่ระดับ 55.8 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 56.3 ในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 56.2 ทั้งวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1629-1.1669 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1655/57 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับค่าเงินเยนในวันนี้ (25/7) เปิดตลาดที่ระดับ 111.29/31 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากรตะดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (24/7) ที่ระดับ 110.75/78 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงจากการกดดันของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยทั้งนี้การเคลื่อนไหวระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 110.80-111.42 เยน/ดอลลาร์สหรับ และปิดตลาดที่ระดับ 111.36/41 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในช่วงสัปดาห์นี้ ดัชนีความเชื่อมมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (25/7) ดัชนีราคาผู้บริโภคของออสเตรเลีย (25/7) ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของอังกฤษ (26/7) ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ (26/7)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ 0.10/0.25 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้ัองกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -1.30/-0.30 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ