ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังประธานเฟดส่งสัญญาณ ชะลอขึ้นดอกเบี้ยเดือนธ.ค.

ภาพ : pixabay

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลัง เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด ส่งสัญญาณชะลอขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม พร้อมเตือนว่า ภารกิจของเฟดในการต่อสู้กับเงินเฟ้อนั้นยังอีกยาวไกล ขณะที่ปัจจัยในประเทศเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (01/12) ที่ระดับ 34.97/99 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (30/11) ที่ระดับ 35.27/29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้กล่าวปาฐกถาว่าด้วยนโยบายการเงินและการคลังที่สถาบันบรู้กกิงส์ในวันพุธ (30 ก.ย.) ตามเวลาสหรัฐ โดยระบุว่า เฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน ธ.ค. ขณะเดียวกันก็เตือนว่า ภารกิจของเฟดในการต่อสู้กับเงินเฟ้อนั้นยังอีกยาวไกล และยังมีคำถามสำคัญหลายอย่างที่เฟดยังไม่ได้รับคำตอบ ซึ่งรวมถึงคำถามที่ว่าอัตราดอกเบี้ยจำเป็นต้องถูกปรับขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดที่เท่าใดและใช้ระยะเวลานานเท่าใด

ทั้งนี้ แม้ว่านายพาวเวลล์ไม่ได้ระบุว่า เขาคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้าย (terminal rate) จะอยู่ที่ระดับใด แต่เขาส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้ายอาจจะอยู่สูงกว่า 4.6% ซึ่งเป็นระดับที่กรรมการเฟดหลายคคนได้คาดการณ์กันไว้ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันเขากล่าวว่า การแก้ปัญหาเงินเฟ้อนั้น จะสามารถทำได้ด้วยการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับคุมเข้ม (restrictive level)ในระยะเวลาหนึ่ง กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ต.ค.ปรับตัวขึ้น 7.7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.9% และชะลอตัวจากระดับ 8.2% ในเดือน ก.ย.

อย่างไรก็ดี นายพาวเวลล์กล่าวว่า แม้ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลง แต่ต้นทุนการซื้อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปีหน้า ขณะที่ดัชนีวัดเงินเฟ้อในภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูงและตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะยังเป็นแรงส่งสำคัญของเศรษฐกิจในระยะต่อไป และจะช่วยลดทอนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโยก แม้จะมีการปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 65 และ 66 ลดลงจากเดิมเล็กน้อย

โดย กนง.ประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 65 จะขยายตัวได้ 3.2% จากเดิมที่ 3.3% และปี 66 ขยายตัว 3.7% จากเดิม 3.8% ขณะที่ปี 67 จะขยายตัวได้ 3.9% กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ต.ค.ปรับตัวขึ้น 7.7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.9% และชะลอตัวจากระดับ 8.2% ในเดือน ก.ย.

อย่างไรก็ดี นายพาวเวลล์กล่าวว่า แม้ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลงแต่ต้นทุนการซื้อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปีหน้า ขณะที่ดัชนีวัดเงินเฟ้อในภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูงและตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว พร้อมกันนี้ยังเชื่อว่าในช่วงปลายปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เทียบกับช่วงก่อนมีโควิด จากแรงหนุนของการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 34.88-35.10 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.97/99 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (1/12) ที่ระดับ 1.0441/43 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (30/11) ที่ระดับ 1.0367/71 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนชะลอตัวสู่ระดับ 10.0% ในเดือน พ.ย. เมื่อเทียบรายปี

การปรับตัวของดัชนี CPI ในเดือน พ.ย. มีสาเหตุจากการชะลอตัวของราคาพลังงาน โดยดีดตัวขึ้น 34.9% ในเดือน พ.ย. แต่ต่ำกว่าระดับ 41.5% ในเดือน ต.ค. นอกจากนี้ ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นในอัตราที่ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2564 และในอัตราที่มากกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ดัชนี CPI พุ่งแตะ 10.6% ในเดือน ต.ค.ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ยูโรสแตทเริ่มรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2540 และสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำหนดไว้ที่ระดับ 2%

ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0393-1.0460 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0428/30 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (1/12) ที่ระดับ 136.58/60 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (30/11) ที่ระดับ 138.89/91 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนแข็งค่าตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 135.83-138.13 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 136.35/37 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน พ.ย. (2/13)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -12.25/-12 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -18/-15 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ