หุ้นไทยสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวผันผวนตามตลาดสหรัฐ ดัชนีอาจยืนเหนือ 1,800 ได้อีกครั้ง หากไม่เกิดการเทขายหนัก

หุ้นไทยสัปดาห์นี้ (12-16 ก.พ.) เคลื่อนไหวผันผวนตามตลาดสหรัฐฯ ดัชนีอาจยืนเหนือ 1,800 ได้อีกครั้ง หากไม่เกิดการเทขายหนัก ติดตามตัวเลข ศก.สำคัญๆ กลยุทธ์ลงทุนควรเน้นหุ้นที่ปรับตัวลงไปมากและมีพื้นฐานดี หุ้นเด่น HANA, BJC, BH, HUMAN, TICON

ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ KTBST เปิดเผยว่าทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ (12-16 ก.พ.) ดัชนีฯยังมีความผันผวนตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ หากดัชนีฯตลาดหุ้นสหรัฐฯไม่เกิดการเทขายอย่างรุนแรง ดัชนีฯมีโอกาสที่จะกลับขึ้นไปยืนเหนือระดับ 1,800 จุดได้ โดยแนวรับสำคัญอยู่ที่ระดับ 1,760 จุด นักลงทุนยังต้องติดตามตัวแปรที่จะมีผลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed สัปดาห์นี้ คือรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในวันที่ 14 ก.พ. ซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงไปมาก รวมไปถึงการแถลงแผนลงทุนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 12 ก.พ., รายงานตัวเลข GDP ของอียูวันที่14 ก.พ. , การประชุม กนง.ของไทยในวันที่ 14 ก.พ. เช่นกัน และรายงานกาไรของบริษัทในตลาดฯ

สำหรับกลยุทธ์ลงทุนในสัปดาห์นี้ ด้วยตลาดหุ้นสหรัฐฯยังผันผวนสูง แต่ด้วยตลาดหุ้นไทยที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว จึงน่าจะเป็นจังหวะในการเลือกซื้อหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามาก การลงทุนในสัปดาห์นี้จึงควรเลือกซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ราคาลงมามากหรือจะเป็นหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องพร้อมตัดขายหากดัชนีฯ ร่วงต่ำกว่าระดับ 1,760 จุด โดย หุ้น Top Picks ของสัปดาห์นี้ที่น่าสนใจคือ HANA, BJC, BH, HUMAN และ TICON ส่วน หุ้นแนะนาเชิงเทคนิคได้แก่ GPSC, AMANAH, VIH

ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือ การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คาดว่าจะทรงตัวในระดับ 2.1% จากช่วงก่อนหน้า ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะออกมาที่ 1.8% อย่างไรก็ดี ในช่วงระยะสั้นการที่เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอาจจะส่งผลเสียต่อบรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นได้ เนื่องจากจะเป็นแรงกดดันให้เกิดการคาดการณ์ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอีกครั้ง

ขณะที่ตลาดยุโรป ติดตามการรายงานตัวเลข GDP ล่วงหน้าจากเยอรมันในวันที่ 14 ก.พ. โดยคาดว่าจะออกมาที่ 2.9% เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้าที่ 2.8% และทางยุโรปจะรายงาน GDP ออกมาที่ 2.7% ชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้าที่ 2.8%


ด้านทางเอเชียติดตามการรายงาน GDP ไตรมาส 4 ปีที่ผ่านามาจากทางญี่ปุ่น ในวันที่ 14 ก.พ. โดยคาดว่าจะออกมาที่ 0.9% ชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้าที่ 2.5% และประเทศไทยจะมีการประชุม กนง. ในวันเดียวกัน คาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% จากช่วงก่อนหน้า หลังอัตราเงินเฟ้อยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่คาดไว้