
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า หลังงบการค้าสหรัฐขาดดุลมากขึ้น ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจซบเซา จับตาผลประชุมเฟดและแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางเช้าวันที่ 2 ก.พ.นี้
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2565 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/01) ที่ระดับ 32.76/77 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/1) ที่ระดับ 32.83/84 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
- เปิดชื่อ 10 อันดับโรงเรียนดัง กทม. นักเรียนแห่สมัครสอบเข้า ม.1 สูงสุด
- Café Amazon เฉลยเอง ไวรัลนกหน้าร้านสะดวกซื้อ กำลังจะเกิดอะไรขึ้น?
- ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิต อายุ 55 ปี หลังซ้อมแข่งรถที่บุรีรัมย์
เงินบาทแข็งค่าขึ้นหลังจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อและการใช้จ่ายซึ่งปรับลดลง 0.2% และตั้งคำถามเกี่ยวกับความจำเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐจำเป็นต้องคงดอกเบี้ยสูงไว้นานถึงสิ้นปี ซึ่งนักลงทุนในตลาดคาดว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงในช่วงหลังของปี 2023 ถึงแม้สกุลเงินดอลลาร์จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักเช่นยูโรและเยน
แต่สกุลเงินบาทนั้นแข็งค่าขึ้นมาจากจำนวนการลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาในไทยและการเปิดประเทศของจีนซึ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยมากขึ้น จึงทำให้สกุลเงินบาทนั้นมีความต้องการสูงขึ้นและนักลงทุนคาดว่าหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประเทศไทยจะมีแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในโซนเอเชีย
โดยที่นักลงทุนจะจับตามองผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในเช้าวันพฤหัสที่ 2 และการแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางโดยคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อและการจ้างงานมีการปรับตัวลงตามคาด อาจจะทำให้ธนาคารกลางสามารถปรับลดดอกเบี้ยในช่วงสิ้นปีได้และสถานการณ์ดอกเบี้ยสูงจะไม่นำพามาสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 32.69-32.79 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 32.73/74 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/01) ที่ระดับ 1.0/65/69 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/1) ที่ระดับ 1.0886/889 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร สกุลเงินยูโรโดยรวมแล้วยังคาดว่ามีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเนื่องจากนักลงทุนยังมองว่าทางธนาคารกลางยุโรปยังจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยสูงขึ้น 0.5%
ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มชะลอตัวการปรับดอกเบี้ยขึ้นหลังจากเงินเฟ้อในประเทศเริ่มลดตัวลงโดยคาดการว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า เช่น อเมริกาและจีนจะส่งผลให้นักลงทุนมีความกล้าเข้ามาถือสินทรัพย์เสี่ยงในสกุลเงินอื่นนอกเหนือจากดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินยูโร เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0851-1.0889 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0880-1.0882 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/01) ที่ระดับ 130.18/20 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/1) ที่ระดับ 129.79/82 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยหลักมาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจจากสหรัฐที่แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและทำให้นักลงทุนหวังว่าทางธนาคารจะเปลี่ยนนโยบายเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงท้ายปีของ 2023 เลยทำให้ตะกร้ามูลค่าของดอลลาร์มีการสะท้อนขึ้นจากระดับ 101.6
โดยคาดว่านักลงทุนยังคงคาดหวังว่าทางธนาคารกลางญี่ปุ่นจะส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการประชุมครั้งต่อไป เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อในเมืองกรุงโตเกียวได้ออกมาสูงสุดรอบ 30 ปี ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 129.18-130.29 เยน/ดอลลาร์และปิดตลาดที่ระดับ 130.12-130.14 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการว่างงานของสหรัฐ (1/2) ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (2/2), ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (2/2), ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (2/2), ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐ (3/2), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการของสหรัฐ (3/2)
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -10/-9.75 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -10-7.6 สตางค์/ดดอลลาร์สหรัฐ
- กรุงศรีฯ มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 32.50-33.25 บาท/ดอลลาร์
- จับตาธนาคารกลางขยับดอกเบี้ย คาดเฟดขึ้น 0.25% หนุนบาทแข็งค่า
- Kbank คาดบาทแข็งทั้งปี ลุ้นนักท่องเที่ยวทะลัก 30 ล้านคนดันเศรษฐกิจโต
- คลังคงจีดีพีปีนี้โต 3.8% รายได้ท่องเที่ยวพุ่ง1.2 ล้านล้าน ส่งออกเสี่ยงติดลบ
- ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% แบงก์ไหนขึ้นตามแล้วบ้าง