ดอลลาร์อ่อนค่า ขานรับเฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด

ดอลลาร์
ภาพ : pixabay

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ขานรับเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ประธานเฟดยันระบบธนาคารยังคงแข็งแกร่ง มีฐานเงินทุนและสภาพคล่องที่มากเพียงพอ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (23/3) ที่ระดับ 34.20/22 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาคเมื่อวันพุธ (22/3) ที่ระดับ 34.43/45 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น ครั้งที่ 9 ติดต่อกันนับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2565

อย่างไรก็ดี เฟดส่งสัญญาณใกล้ยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่แสดงความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารสหรัฐ ทั้งนี้ ในการคาคการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ในปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้งหลังการประชุมครั้งนี้ และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.8% ในปี 2567 และ 1.2% ในปี 2568

โดยคณะกรรมการ FOMC คาดว่าการปรับเพิ่มกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกระดับหนึ่งในวันข้างหน้านั้นจะเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาจุดยืนด้านนไยบาย ซึ่งก็คือการลคเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%

นอกจากนี้ นายพาวเวลล์เปิดการแถลงข่าวด้วยการพูดถึงระบบธนาคารของสหรัฐว่า “ระบบธนาคารของเรายังคงแข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่น โดยมีฐานเงินทุนและสภาพคล่องที่มากเพียงพอ เฟดยังคงติดตามสถานการณ์ในระบบธนาคารอย่างใกล้ชิด และเราพร้อมที่จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อปกป้องระบบธนาคารให้มีความปลอดภัยและแข็งแกร่ง

โดยนายพาวเวลล์ได้กล่าวถึงกรณีของธนาคาร SVB ว่า ธนาคารแห่งนี้มีระบบการบริหารจัดการที่ “ย่ำแย่” อย่างไรก็ดี เขาเชื่อว่าวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นจากการล้มละลายของ SVB จะไม่ลุกลามจนสร้างความเสียหายต่อระบบธนาคารของสหรัฐ

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 3-4% จากภาคการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยทั้งปี คาดว่าจะอยู่ที่ราว 25-30 ล้านคน ในขณะเดียวกันปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังมีความน่าเป็นห่วง ซึ่งจะกดดันการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในระดับฐานราก ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่ยังปรับขึ้น

โดยนักวิเคราะห์ดาดว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวาระถัดไปจะปรับขึ้นดอกเบี้ออีก 0.25% ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 34.04-34.22 บาทดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.08/10 บาทดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้านี้ (23/3) ที่ระดับ 1.0884/86 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (22/3) ที่ระดับ 1.0788/90 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่าเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้นายโยอาคิม นาเจล ประธานธนาคารกลางเยอรมนี กล่าวให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์สว่า ผู้กำหนดนโยบายของยูโร โซนต้อง “ดึงดัน” เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อต่อสู้กับกาวะเงินเฟ้อ ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 3.50% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0881-1.0929 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0884/86 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (23/3) ที่ระดับ 130.83/85 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (22/3) ที่ระดับ 132.51/52 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการอ่อนค่าของดอลลาร์หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด ทั้งนี้จะหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 130.42-131.30 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 31.25/26 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ และดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap pia) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -8.80/-8.30 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -12.00/-10.50 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ