ตลาดการเงิน ยังคงผันผวนจากวิกฤตธนาคาร

ดอลลาร์
ภาพ : pixabay

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (27/3) ที่ระดับ 34.26/28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (24/3) ที่ระดับ 34.12/14 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดออลาร์สหรัฐ สืบเนื่องมาจากการที่นักลงทุนกังวลกับวิกฤตภาคธนาคารทั้งในสหรัฐ และยุโรป ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแทนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

อย่างไรก็ตามวิกฤตทางด้านธนาคารยังคงเป็นปัจจัยขับเลื่อนตลาดเงินที่สำคัญในช่วงนี้ รวมถึงความเชื่อมั่นทางภาคธนาคารลดลงอย่างมากทำให้ยอดเงินฝากของสหรัฐลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ทางด้านนักลงทุนและนักวิคราะห์จึงเรียกร้องให้มีการประสานงานกันระหว่างธนาคารต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเงิน ทั้งนี้ทางประธานเฟดสาขามินเนอาโพลิส กล่าวว่าวิกฤตทางด้านธนาคารอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าใกล้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ทางฝั่ง IMF ก็ได้ออกมาเตือนว่าวิกฤตธนาคารอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศยากจน ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาทางเอสแอนด์พีโกลบอล ได้มีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เตือนเนื่องจากได้รับแรงหนุนของการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยที่มจากระดับ 50.1 มาสู่ระดับ 53.3 ในเดือนมีนาคม ทางฝั่งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ 49.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ในวันพุธที่ 29 มีนาคม จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการงิน เรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 1.75% เพื่อให้สอคคล้องกับการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ โดยตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเริ่มชะลอตัวลงบ้างแล้ว ไดยเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ ต่ำสุดในรอบ 13 เดือนที่ 3.8% เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 34.20 – 34.42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.41/43 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูไรเปิดตลาดเช้านี้ (27/3) ที่ระดับ 1.0762/63 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่จากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (24/3) ที่ระดับ 1.0733/34 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร วันศุกร์ที่ผ่านมาค่าเงินยูโรอ่อนค่าเป็นอย่างมากช่วงก่อนปิดตลาด เนื่องจากหุ้นของธนาคารดอยซ์แบงก์ได้ร่วงลงราว 14% เนื่องจาก Credit Defauit Swaps หรือ CDS ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 4 ปี นอกจากดอยช์แบงก์แล้ว CDS ของธนาคารอื่น ๆ ในยุโรปก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับธนาคารเครดิตสวิส ทำให้นักองทุนวิตกกังวลเรื่องเสถียรภาพธนาคารของยุโรป ก่อนที่ค่าเงินยูโรจะกลับมาแข็งค่าช่วงปิดตลาดวันจันทร์ เนื่องจากทางนายกรัฐมนตรีของยอรมนี นายโอลาฟ ชอลซ์ ให้คำกล่าวว่าเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ว่าดอยซ์แบงก์เป็นธนาคารที่มีฐานะเงินทุนที่แข็งแกร่ง มีความสามารถในการชำระหนี้และมีกำไรดิดต่อกันถึง 10 ไตรมาส ต่างจากธนาคารเครดิดสวิสที่ประสบปัญหาขาดทุน ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0745-1.0782 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูไร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0760/61 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (27/3) ที่ระดับ 130.88/89 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (24/3) ที่ระดับ 129.77/78 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์ แต่เรื่องวิกฤตธนาคารนั้นทางฝั่งหน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่นได้ออกมาสร้างความเชื่อมั่นว่าระบบการเงินของญี่ปุ่นยังคงแข็งแกร่งอยู่และยากที่จะเกิด Bank run ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 139.41 – 131.38 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 131.35/36 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ใด้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือน ม.ค. (27/03), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค. จาก Conference board (28/03), ยอดสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (29/03), ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาส 4/2565 (30/03), ดัชนีราคาการใช้ง่ายเพื่อการบริ โภคส่วนบุคคล ก.พ. (31/03), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (31/03)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -10.4 / -10.1 สตางค์ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -13.5/-11.1 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ