
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบเงินสกุลหลัก หลังสหรัฐและยุโรปออกมาตรการสร้างความเชื่อมั่นต่อวิกฤตภาคธนาคาร หลังจากบรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (PDIC) เปิดเผยว่า ธนาคาร Fist Citizens BancShares ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) แล้ว
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาคเช้าวันนี้ (28/3) ที่ระดับ 34.32/34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (27/3) ที่ระดับ 34.43/45 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1 มิ.ย.นี้ ใครมีสิทธิรับวงเงินค่าซื้อสินค้า 900 บาท
- “เหล้า-เบียร์” เจ๊กอั้ก ! ร่างกฎหมายใหม่ คุมเข้ม-สุดโหด
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 1 มิ.ย. ย้อนหลัง 10 ปี
โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ปรับลดลง 0.26% แตะที่ระดับ 102.8484 ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเข็งค่าตามการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย
หลังคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร หลังจากบรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (PDIC) เปิดเผยว่า ธนาคารเฟิร์สต์ ซิติเซนส์ แบงก์แชร์ส (Fist Citizens BancShares) ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) แล้ว โดยข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมถึงเงินฝากและเงินกู้ทั้งหมดของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB)
นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด โดยนักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 60% ในการคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในเดือน พ.ค.และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ค. ซึ่งเร็วกว่าที่เฟดคาดการณ์ไว้
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 52.7% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00% และให้น้ำหนักเพียง 47.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเปี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 2-3 พ.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนคาคว่าเฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือน ก.ค.
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการจัดประชุมในวันพรุ่งนี้ (29/3) โดยคาดว่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.75% เพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (Policy Space) ในระยะข้างหน้า
โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการดำเนินนโยบายของ ธปท. ภายใต้นโยบายการเงินกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยึดหยุ่น และเป็นกลไกในการส่งผ่านไปยังระบบสถาปันการเงิน เพื่อควบคุมงินเฟ้อพื้นฐานให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยไม่ไปรบกวนหรือเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.23 – 34.44 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.28/29 บาทต/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (28/3) ที่ระดับ 1.0811/14 ดอลลาร์สหรัฐ/ยุโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (27/3) ที่ระดับ 1.0768/70 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ตามการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์
อีกทั้งค่าเงินยูโรได้รับเรงหนุนหลังจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี IFO เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวขึ้นเกินคาดในเดือน มี.ค. ซึ่งส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งใหญ่ที่สุดของยุโรปกำลังฟื้นตัว แม้วิกฤตด้านพลังงานและเงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0796-1.0834 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0816/1.0818 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (28/3) ที่ระดับ 130.78/79 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (27/3) ที่ระดับ 131.57/59 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าแตะกรอบบนของระดับ 130 เยน เนื่องจากธุรกิจส่งออกบางรายในญี่ปุ่นได้ขายเงินดอลลาร์เพื่อซื้อเงินเยน ก่อนหมดปีงบประมาณ 2565 ในสัปดาห์นี้ โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 130.51-131.60 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 131.15/18 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือน ก.พ., ราคาบ้านเดือน ม.ค.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค.จาก Conference Board และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐ
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ -10.25/-9.75 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -14/-12.15 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ