กางพอร์ตธุรกิจ ‘ชูวิทย์’ กระจายมรดกหุ้นแจกลูกสาว-ชายทั้ง 5

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

กางพอร์ตธุรกิจของเจ้าพ่อแฉ “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” หลังกลับไทยในรอบ 1 ปี เตรียมพร้อมแบ่งมรดกหุ้นให้ลูกทั้ง 5 จากธุรกิจในเครือทั้ง 7 บริษัท มีทั้งอสังหาฯ โรงแรม และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหาร 

เรียกได้ว่าเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางสำหรับการกลับมาของ “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” อดีตนักการเมืองที่ได้รับฉายาเจ้าพ่อแฉแห่งวงการ ทีได้ประกาศวางมือจากทุกอย่าง พร้อมเปิดเผยในว่าตนกำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งตับระยะที่ 5 ภายหลังจึงเดินทางไปรักษาตัวที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับ “ตระการตา กมลวิศิษฎ์” ลูกสาว เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566

ถึงแม้ว่าจะเป็นถึงอดีตนักการเมืองชื่อดัง แต่ชูวิทย์นั้นเดินสายนักธุรกิจทันทีที่จบการศึกษาปริญญาตรีจากสหรัฐอเมริกา อาทิ หมู่บ้านจัดสรร อาบอบนวด “วิคทอเรีย ซีเคร็ท” และขยายกิจการจนเป็นเจ้าของอาบอบนวด 6 แห่ง ในเครือเดวิสกรุ๊ป และก่อตั้งมูลนิธิต้นตระกูลกมลวิศิษฎ์ ซึ่งสำหรับปัจจุบันในฐานะพ่อ ชูวิทย์ได้มีการจัดแจงสินทรัพย์ให้กับลูกๆ ผ่าน 7 บริษัทที่ตนก่อตั้ง ได้แก่

ADVERTISMENT
  • ตระการตา กมลวิศิษฎ์
  • ต่อกระกูล กมลวิศิษฎ์
  • ต้นตระกูล กมลวิศิษฎ์
  • เติมตระกูล กมลวิศิษฎ์
  • ดวงตระการ กมลวิศิษฎ์

‘ประชาชาติธุรกิจ’ พาไปส่องรายได้-กำไรทั้ง 7 บริษัท และสัดส่วนการถือหุ้นของลูกทั้ง 5 ของชูวิทย์

1.บริษัท ต้นตระกูล จำกัด – ธุรกิจอสังหาฯ

ทุนจดทะเบียน 170,000,000 บาท
มูลค่าบริษัท 49,365,497 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ต้นตระกูล, เติมตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 24.75% และชูวิทย์ถือหุ้นจำนวน 0.01%
รายได้รวมปี 2563 27,066,979.40 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2563 -770,943.09 บาท

2. บริษัท สุขุมวิท ซิลเวอร์ สตาร์ จำกัด – ธุรกิจอสังหาฯ

ทุนจดทะเบียน 250,000,000 บาท
มูลค่าบริษัท 194,649,424 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ต้นตระกูล, เติมตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 24.50% และบริษัทต้นตระกูล จำกัด และบริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด ถือหุ้นจำนวน 2%
รายได้รวมปี 2563 8,931,578.96 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2563 1,967,768.35 บาท

ADVERTISMENT

3.บริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด – ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด

ทุนจดทะเบียน 170,000,000 บาท
มูลค่าบริษัท -244,730,124 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ต้นตระกูล, เติมตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 24.75% และบริษัทต้นตระกูล จำกัด ถือหุ้นจำนวน 1.00% และชูวิทย์ถือหุ้นจำนวน 0.01 %
รายได้รวมปี 2563 19,921,395 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2563 -27,758,835 บาท

4.บริษัท เดวิส ซิลเวอร์ สตาร์ แมเนจเมนท์ จำกัด – ธุรกิจอสังหาฯ

ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท
มูลค่าบริษัท 12,817,339 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ต้นตระกูล, เติมตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 24.25% บริษัทต้นตระกูล จำกัด และบริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด ถือหุ้นบริษัทละ 1.45% และชูวิทย์ถือหุ้นจำนวน 0.10 %
รายได้รวมปี 2563 0 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2566 -516,802 บาท

ADVERTISMENT

5. บริษัท ภาติฌาน จำกัด – ธุรกิจอสังหาฯ

ทุนจดทะเบียน 44,000,000
มูลค่าบริษัท 21,222,456 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ดวงตระการ ถือหุ้นจำนวน 75.98% ต้นตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 5.50% บริษัทต้นตระกูล จำกัด และบริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด ถือหุ้นบริษัทละ 1.00% และชูวิทย์ถือหุ้นจำนวน 0.02 %
รายได้รวมปี 2563 1,263,158 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2563 373,585 บาท

6.บริษัท ทรัพย์สินตระการตา จำกัด – ธุรกิจให้คำปรึกษาการบริหาร

ทุนจดทะเบียน 3,000,000 บาท
มูลค่าบริษัท 2,399,114 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ต้นตระกูล, เติมตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 24.48% บริษัทต้นตระกูล จำกัด และบริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด ถือหุ้นบริษัทละ 1.00% และชูวิทย์ถือหุ้นจำนวน 0.07 %
รายได้รวมปี 2565 0 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2565 12,800 บาท

7.บริษัท บุญต่อตระกูล จำกัด – ธุรกิจให้คำปรึกษาการบริหาร

ทุนจดทะเบียน 3,000,000 บาท
มูลค่าบริษัท 1,974,986 บาท
สัดส่วนการถือหุ้น : ต้นตระกูล, เติมตระกูล, ต่อตระกูล, ตระการตา ถือหุ้นคนละ 24.48% บริษัทต้นตระกูล จำกัด และบริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด ถือหุ้นบริษัทละ 1.00% และชูวิทย์ถือหุ้นจำนวน 0.07 %
รายได้รวมปี 2565 0 บาท
กำไร(ขาดทุน)สุทธิปี 2565 7,925 บาท

จากรายละเอียดธุรกิจข้างต้นพบว่า 4 ใน 7 ธุรกิจประเภทด้านอสังหาริมทรัพย์ 1 ธุรกิจโรงแรม และ 2 ธุรกิจให้คำปรึกษาการบริหาร ทางด้านมูลค่าของบริษัทพบว่า มีบางบริษัทที่ประสบกับภาวะขาดทุนติดลบ ซึ่งมากที่สุดกว่า -27,758,835 บาท ของบริษัท สมบัติเติมตระกูล จำกัด ที่ประกอบธุรกิจประเภทโรงแรม สวนทางกับธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่แม้ว่าจะได้กำไรเพียงหลักล้าน แต่มีมูลค่าบริษัทสูงขึ้น 194,649,424 บาท

อย่างไรก็ตามการกระจายหุ้นให้กับลูกเท่า ๆ กันในทั้ง 7 บริษัทของเจ้าพ่อธุรกิจ นอกจากเป็นการแบ่งผลประโยชน์ที่ยุติธรรมแล้ว ยังเป็นรักษาเสถียรของธุรกิจในเครือได้เป็นอย่างดี อีกทั้งช่วยกระจายความเสี่ยงกับการบริหารธุรกิจที่หลากหลายได้อีกด้วย

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ Creden Data