แบงก์ชาติ ชี้ไทยเผชิญความไม่แน่นอน ย้ำนโยบายการเงินต้อง Resiliency

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

ผู้ว่าการ ธปท.เผยโลกเผชิญไม่ความแน่นอน-ผลข้างเคียง จับตานโยบายสหรัฐ “กำแพงภาษี-ขาดดุลการคลัง” หนุนเงินเฟ้อสูง กดดันดำเนินนโยบายการเงิน ชี้ต้องดำเนินนโยบาย Resiliency ทนทาน-ยืดหยุ่น เหมาะสมทุกสถานการณ์ จับตาสินค้าจีนทำการบริโภค-การผลิตเริ่มแตกต่างกัน เผย 11 ธ.ค.นี้ประกาศนโยบายแก้หนี้

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand’s Monetary and Financial Policy : Building Resiliency for an Uncertain World” นโยบายการเงินนำประเทศรับมือบริบทโลกใหม่” ว่าการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า สิ่งที่โลกกำลังจะเจอในระยะข้างหน้า ไม่ใช่ ความเสี่ยง (Risk) แต่จะเป็นเรื่องของความไม่แน่นอน (Uncertain) ซึ่งดูหรือคาดเดาได้ยากกว่าความเสี่ยงที่เราสามารถคาดการณ์และบริหารจัดการความเสี่ยงได้ว่าจะเกิด Shock อะไรขึ้น

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

ขณะเดียวกัน ความไม่แน่นอน จะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน และมีผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึง (Unintended Consequences) เพราะมองได้ยาก เนื่องจากโลกเชื่อมหลากหลายมิติ เช่น ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในซีเรียและตะวันออกลางเชื่อมไปถึงการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หากมองความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้าไม่ช้าหรือเร็ว จะมีอยู่ 2-3 เรื่อง คือ 1.การแยกตัวของการค้า (Geoeconomic Fragmentation) เพิ่มขึ้น

2.นโยบายเศรษฐกิจประเทศหลัก โดยในช่วงโควิด-19 นโยบายเศรษฐกิจประเทศไปในทิศทางเดียวกัน คือ การปรับดอกเบี้ยขึ้น แต่หลังจากหลังโควิด-19 จะเห็นว่านโยบายไปคนละทิศทาง และความเร็ว (Speed) ที่ต่างกัน เช่น นโยบายสหรัฐที่คาดว่าจะต้องเห็นแน่ ๆ ไม่ว่าจะมาช้าหรือเร็ว จะเป็นเรื่องการตั้งกำแพงภาษี (Tariff) นโยบายลดภาษีต่าง ๆ และลดรายจ่ายที่ทำได้น้อย จะนำไปสู่การขาดดุลการคลังมากขึ้น และการลักลอบการเข้าเมือง

“ซึ่งทั้ง 3 นโยบายนี้ จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น จากเดิมที่คาดว่าจะเข้ากรอบได้ ก็ทำได้ยากขึ้น ดังนั้น การทำนโยบายการเงินก็จะยากขึ้น

ADVERTISMENT

3.Markets & Pricing of Risk จะเห็นว่าหุ้น NVDIA มีมูลค่าถึง 3.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหุ้นเพียงตัวเดียวมีมูลค่าตลาดมากกว่าตลาดหุ้นในประเทศแคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นต้น ดังนั้นการคำนวณความเสี่ยงของตลาดจะมีมากพอหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังต้องติดตาม เพราะโอกาสที่โลกจะมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนมีมากขึ้น

ทั้งนี้ หากดูผลข้างเคียงที่มีต่อไทยนั้น เช่น เรื่องการนำเข้าของสินค้าจีนจะเห็นว่าในปี 2563-2564 ในตลาดอาเซียนมีการนำเข้าค่อนข้างสูง ซึ่งเวียดนามเป็นอันดับ 1 และไทยเป็นอันดับ 2 แต่สิ่งที่เห็น คือ การฉีกของการเติบโตระหว่างการบริโภคและการผลิต ซึ่งจากเดิมการบริโภคและการผลิตจะขยายตัวใกล้เคียงกัน

ADVERTISMENT

โดยในปี 2555-2563 จีดีพีการผลิตอยู่ที่ 1.6% และการบริโภคขยายตัว 1.8% โดยค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์การผลิตและการบริโภคอยู่ที่ 0.79% และหากดูปัจจุบันในปี 2564-ไตรมาสที่ 3/2567 จีดีพีการผลิตอยู่ที่ 0.6% และการบริโภคอยู่ที่ 2.1% โดยค่าเฉลี่ยอยู่เพียง 0.05%

”ดังนั้น การจะบอกว่าจะต้องกระตุ้นการบริโภค ซึ่งความจริงการบริโภคไม่ได้โตชะลอ และจะยิ่งกลายเป็นการนำเข้าสินค้าจีนมากขึ้น และจะยิ่งมีผลข้างเคียงกระทบไปยังสินเชื่อด้วย โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์และมือสองที่ได้รับผลกระทบจากรถยนต์อีวี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น”

สำหรับการดำเนินนโยบาย Resiliency ไม่ใช่แค่เสถียรภาพ (Stability) แต่กว้างกว่านั้น คือ จะต้องมีความทนทาน ยืดหยุ่น ล้มแล้วลุกเร็ว ปรับตัว แต่ก็หนีไม่พ้นเรื่องของเสถียรภาพ ทั้งนี้ เศรษฐกิจจะ Resilient ได้ ต้องมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.เสถียรภาพ (Stability) โดยนโยบายการเงินจะต้อง Robust Policy ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ จะช่วยเรื่อง Resiliency ได้ดีกว่า เพราะไม่ได้ใช้นโยบายเพียงอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียว รวมถึงทำนโยบายโดยดูจาก Outlook Dependent มากกว่า Data Dependent ซึ่งมีเสียงรบกวน (Noise) มีความผันผวน ซึ่งจะทำให้นโยบายขาดเสถียรภาพ

2.มีภูมิคุ้มกันทางการเงิน (Buffer) และทางเลือกอื่น ๆ (Option) เช่น หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ธปท.ได้ออกมาตรการ Responsible Lending ออกมา โดย 9 เดือนแรกปี 2567 สถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้แล้ว 6.1 ล้านบัญชี มูลค่า 2.1 ล้านล้านบาท โดย ธปท.ติดตามให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามเกณฑ์ต่อเนื่อง และภายในวันที่ 11 ธันวาคมนี้ จะมีการประกาศมาตรการแก้หนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติม ซึ่งรายละเอียดที่ออกมานั้นมีทั้งที่ถูกและไม่ถูกอาจจะต้องรอทางการอีกครั้ง

และ 3.เติบโตจากโอกาสใหม่ (Digital & Transition) ธปท.ได้มีการวางรากฐานตามกระแสโลกใหม่ เช่น ระบบชำระเงิน (Payment) ที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ธปท.ต้องการเชื่อมระบบการชำระเงินไปสู่การให้สินเชื่อ (Financing) ด้วย โดยผ่านโครงการ Your Data หรือการเพิ่มธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ที่จะมีการประกาศรายชื่อกลางปี 2568 และสามารถเริ่มดำเนินงานได้ภายในปี 2569

“นโยบายการเงินที่ Resiliency สิ่งที่เราไม่อยากเห็น คือ การให้ Forward Guidance มากเกินไป โดยหากเงื่อนไขเปลี่ยนไป และนโยบายที่เหมาะสมเปลี่ยนไป เพราะเราไม่อยากเห็นนโยบายไปอีกทางหนึ่ง และต้องกลับลำ ซึ่งจะไม่สนับสนุนให้เกิด Resiliency หรือแทนที่นโยบายการเงินจะลดความผันผวน กลายเป็นไปเพิ่มความผันผวนและไม่แน่นอนมากขึ้น”