ครม.ไฟเขียว พ.ร.ก. 2 ฉบับ นำร่องไทยเก็บภาษีนิติบุคคล 15% ตามกติกา OECD

TAX

ครม.ไฟเขียว พ.ร.ก. 2 ฉบับภาษีส่วนเพิ่ม รองรับการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% ตามแนวทาง OECD เร่งประกาศใช้ปี’68 “จุลพันธ์” ชี้สามารถช่วยดึงการลงทุน คาดเก็บรายได้ได้เพิ่มปีละ 1 หมื่นล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า วันนี้ (11 ธ.ค.) ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 2 ฉบับเกี่ยวกับการปฏิรูปภาษีนิติบุคคลในไทย โดยต้องเก็บภาษีจากบริษัทนิติบุคคลต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย เพื่อเป็นการรองรับเกณฑ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้แก่

  1. พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. ….
  2. พระราชกำหนดการแก้ไขพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

สำหรับกฎหมายดังกล่าวจะเป็นไปตามเกณฑ์ของ OECD ภายใต้แนวทางการดำเนินการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทที่เข้าตามมาตรการต้องเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax : GMT) ในอัตรา 15% และต้องส่งเงินภาษีบางส่วนที่จัดเก็บได้ให้กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โดยขั้นตอนต่อไปจะประกาศบังคับใช้ให้ทันกำหนดที่จะเริ่มเก็บในปี 2568 หลังจากนั้นจะรายงานให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรรับทราบต่อไป

นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ เปิดเผยว่า การออกกฎหมายในเรื่องภาษีเป็น พ.ร.ก.นั้น เป็นเรื่องของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเป็นเรื่องที่ไม่ได้ต้องการที่จะบอกต่อสาธารณชนให้ทราบล่วงหน้ายาวนานขนาดนั้น เมื่อตัดสินใจทำต้องขยับทันที

สำหรับขั้นตอนในการประกาศและมีผลบังคับใช้

โดยในส่วนของภาษีเกณฑ์ของ Global minimum tax ถือเป็นหลักการที่ทั่วโลกมีการรับรู้ร่วมกันว่าเป็นหลักปฏิบัติของ OECD และมีประเทศที่เข้ามาร่วมในกติกานี้มากกว่า 100 ประเทศแล้ว มีการประกาศการใช้กฎหมายไปแล้วกว่า 20-30 ประเทศ และจะมีเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ

ADVERTISMENT

“หากเราขยับก่อนจะได้เปรียบ ซึ่งช่วยดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนเข้ามาได้ เราเชื่อว่าเมื่อกลไกนี้ออกจะสามารถเก็บเงินรายได้เพิ่มเติมจากบริษัทที่เป็นมัลติเนชั่นแนลได้อีกปีละ 1 หมื่นล้านบาท” นายจุลพันธ์กล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยนั้นก็มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาสอบถามในส่วนนี้อยู่มาก หากรัฐบาลสามารถประกาศได้ชัดเจนก็จะทำให้นักลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะมีการเลือกเสียภาษีในประเทศไหน จะเสียที่ประเทศไทยหรือประเทศต้นทาง

ADVERTISMENT