พิชัย เล็งแก้หนี้เฟส 2 อัดสินเชื่อ 1 ล้านล้านบาท ช่วยคนชนบทเข้าถึงสินเชื่อ

นายพิชัย ชุนหวชิร

พิชัย เล็งแก้หนี้เฟส 2 อัดสินเชื่อ 1 ล้านล้านบาท ช่วยผู้เข้าไม่ถึงสินเชื่อที่อยู่ในชนบท มองเฟสแรกหนี้ NPLs ในระบบลดลง 10% กว่าๆ

นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบักทึกข้อตกลงความร่วมมือและหนังสือแสดงเจตนารมณ์และเปิดตัวโครงการ “คุณสู้ เราช่วย ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว ” ว่า มาตรการแก้ไขหนี้ รัฐบาลมีโจทย์ที่จะช่วยเหลือเป็นเฟส 2 ในการเติมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มั่นใจว่าจะเพิ่มขึ้น จากภาคเศรษฐกิจหลายตัว เช่น การลงทุนในประเทศและต่างประเทศ เป็นจังหวะดีที่เราจะใส่เม็ดเงิน เข้าไป น่าจะเป็นเฟสที่ 2

ซึ่งระยะต่อไปรัฐบาลจะพิจารณาเติมเงินเข้าไปช่วยผู้เข้าไม่ถึงสินเชื่อที่อยู่ในชนบทผ่านกลไกแบงก์รัฐ เกือบ 1 ล้านล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์ จะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อหาแนวทางดำเนินนโยบายการให้สินเชื่อผ่อนปรน โดยจะมีการพิจารณาอีกครั้ง อย่างถี่ถ้วน

ขณะที่การช่วยเหลือจากสมาคมธนาคาร คลังและสถาบันการเงินอื่น โดยใช้เม็ดเงินในการช่วย เมื่อช่วงเช้า ครม.ได้ผ่านวาระ FIDF ขอลดลงแค่ครึ่งเดียว โดยมีหลักการช่วยประมาณ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตามจะทดลองทำเป็นปีๆไป ในส่วนของกระทรวงการคลังวงเงินช่วยเหลือไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน  3.9 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนนี้จะมีส่วนที่สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือในสัดส่วนใกล้เคียงกัน หรือเท่ากัน หรือเงินช่วยเหลือถึงปีละ 7.8 พันล้านบาท  รวม 3 ปี 2 แสนกว่าล้าน

ส่วนการลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนำระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) จาก 0.25%ต่อปี เป็น 0.125% ต่อปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2568 เพื่อให้แบงก์รัฐมีความสามารถในการเข้าไปดูแลลูกค้า ซึ่ง ธนาคารออมสิน จะเป็นภาคใหญ่ที่ดูแล ครอบคลุมลูกหนี้กลุ่มน็อนแบงก์ ดิจิทัลพีโลน สินเชื่อไม่มีหลักประกัน รวมทั้งจะดูเรื่องการแฮร์คัทหนี้ให้ด้วย ส่วนวิธีการจะเป็นรูปแบบซอฟต์โลน หรือรูปแบบใดยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดคุณสมบัติ

ในส่วนของโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs กรณีมีมูลหนี้วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายนั้น เงื่อนไขกำหนดให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ 10% ของวงเงิน ส่วนที่เหลือจะยกหนี้ให้ ซึ่งพบว่ามีจำนวนไม่เยอะ โดยประชาชนจะต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าโครงการ

ADVERTISMENT

“ดังนั้นเมื่อโครงการดำเนินเสร็จสิ้นไปแล้ว เศรษฐกิจดีขึ้น เราจะเห็นเงินต้นลดลง จะเห็น NPLs ในระบบลดลง 10% กว่าๆ จากปัจจุบันอยู่ 16 ล้านล้านบาท โดยเป็นหนี้เอ็นพีแอลกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ธนาคารพาณิชย์อาจต้องรอ 12 เดือนบวกลบ จะเห็นยอดเอ็นพีแอลลดลง ซึ่งยอมรับว่าตนอยากเห็นยอดเอ็นพีแอลต่ำกว่า 80% ” นายพิชัย