
“อาทิตย์” ซีอีโอ SCBX แนะรัฐบาลขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะเกินเพดาน 70% ชี้นโยบายต้องเยียวยา-กระตุ้นพร้อมกัน มองเศรษฐกิจวิกฤต-เปราะบาง หลังคน 60% มีรายได้ไม่พอจ่าย หนี้ครัวเรือนแตะ 90% แผลใหญ่ถ่วงประเทศ
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX กล่าวในงานสัมมนา “Thailand Economic Drives 2025″ ภายใต้หัวข้อ ”เศรษฐกิจไทย ความท้าทาย และโอกาสในปี 2025“ ว่า วันนี้สิ่งที่เห็นคนประมาณ 60% มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งไทยเป็นประเทศที่ช้าที่สุดในการฟื้นตัว โดยใน 80 ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่ 72 ที่พ้นจากโควิด-19 แปลว่าโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยช่วงที่มีสูญญากาศ การเมือง ทำให้ไทย Recover ช้า
โดยในช่วงโควิด-19 คนที่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ทำให้รายได้หายฮวบไปเลย ทำให้ต้องไปกู้เงินมาใช้ ซึ่งหลังโควิด-19 พบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นไปแตะ 90% กลายเป็น “แผลใหญ่” และ “หน่วงประเทศไทย” อีกยาว
ดังนั้น การบริหารประเทศไปข้างหน้า โดยเทียบกับตัวเลขประเทศอื่น 5-7% โดยไทยคงไม่เอาหนี้ครัวเรือนลง โดยการใช้หนี้คืน แต่ต้องทำให้คนมีรายได้ ซึ่งตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) 2-3% จะเห็นว่า ตัวเลขคนข้างบนเป็นตัวดึงไม่ให้ตัวเลขแน่เกินไป แต่ตัวเลขคนอีก 60% ยังคงไม่เห็นแสงสว่างมากนัก
“ถ้ารัฐบาลเชื่อว่าปัญหาที่เห็นมีความจำเป็นต้องกระตุ้นและเยียวยา หากเศรษฐกิจไม่ผลักดันแรง ๆ จะ Take off และหากไม่ Take off เราไม่ทำมันจะวิ่งช้า ๆ เป็นโจทย์ยากของ Policy Maker จะทำอย่างไร โดยเอา Resource ที่มีไป Relocate อย่างไร เพราะงบประมาณจำกัด และต้องกู้มา และความกังวลในเรื่องสังคม ทำให้โครงการจาก 5 แสนล้านบาท เหลือ 1 แสนล้านบาท ทำให้จากแรงผลักดันแรง ๆ ก็เป็นไปได้ช้า เหมือนโยนหินลงไปในทะเล”
อย่างไรก็ดี สิ่งที่รัฐบาลทำถือว่าดี แต่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งการพาประเทศให้พ้นตัวถ่วง จะต้องทำทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และยาว โดยหลักการ คือ การกระตุ้นและเยียวยาพร้อมกันขนาดใหญ่ เป็นสิ่งจำเป็น หากเยียวยาแล้วต้องกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายและลงทุนด้วย
ตัวอย่างเช่น Entertainment Complex หรือดิจิทัลวอลเลต และการอนุญาตการถือครอง 99 ปี หากดูจากทรัพยากร (Resource) ที่มีภายใต้การเยียวยา ปรับปรุง ระยะสั้น-ยาว ภายใต้จีดีพี และหนี้ครัวเรือน 90% และหนี้สาธารณะที่อยู่กว่า 60% จากกรอบเพดาน 70% สะท้อนว่าไทยมีรูมน้อยมาก และอยู่ในจุดอับที่ไม่มีทรัพยากรมาดำเนินการ
ดังนั้น หากไม่หลอกตัวเอง ตอนนี้เพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 70% แปลว่าเหลือรูมน้อยมาก ขณะที่รายได้เอกชนมีรายได้โดยรวมถ่ายทอดไปสู่ภาษี ที่ไม่ขยายตัว สิ่งที่จะทำให้ประเทศนั้นมีแรงขับเคลื่อนอย่างรุนแรง สิ่งที่อยากเสนอ คือ กรอบวินัยการเงินการคลัง ในเรื่องของหนี้สาธารณะ ควรจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราวว่าจะต้องทำให้มันขึ้นไปชั่วคราวกี่ปี และต้องทำไปมากแค่ไหน และนำรายได้ภาษีตรงไปที่งบประมาณโดยตรง เพื่อนำไปส่งผ่านไปสู่สวัสดิการ สาธารณสุข และลดภาระหนี้ หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง อาจจะเป็นแค่การขนส่ง รวมถึงเน้นดำเนินการให้เกิดประโยชน์
อย่างไรก็ดี เรื่องของการรักษากรอบวินัยการเงินการคลัง เป็นเรื่องที่ดีถูกต้องในภาวะประเทศปกติ แต่ตอนนี้เห็นว่าประเทศไทยไม่ปกติอย่างแรง เพราะตัวเลขชี้วัดต่าง ๆ สะท้อนว่าตัวเลขไม่ปกติอย่างแรง ซึ่งจะทำอย่างไรให้การเยียวยาและกระตุ้นไปพร้อม ๆ กัน และลิงก์ไปกับสิ่งที่ทำระยะยาว
“เรามีไอเดียพร้อม แต่จะเอาไอเดียมาให้เกิดประโยชน์ได้จริง เช่น เราฟังภูเก็ตแซนด์บอกซ์ และอื่น ๆ เป็นนโยบายเซ็กซี่ โดยอยากให้รัฐบาลทำเรื่องเซ็กซี่น้อยลง เน้นเรื่องใกล้ตัว เช่น ไม่ท่วม ไม่แล้ง ภาคอุตสาหกรรมได้ประโยชน์จากทรัพยากรเพียงพอ และอาจชิปจากบรรเทากระตุ้นจากการให้ ส่งตรงไดเร็กต์ไปให้คนยากจน หรือ Subsidy ให้คนที่มีภาระหนี้ให้กับคนที่มีรายได้น้อย มีภาระน้อยลง เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในปี’68 และเป็นสิ่งที่เราเผชิญในสเต็ปแรกต้องทำแค่นี้ ก่อนจะไปดวงจันทร์และดาวอังคาร”