
สันติธาร มองโจทย์ใหญ่เศรษฐกิจไทย แค่ Resililense ยังไม่พอ หลังจีดีพีโตช้าลงเหลือเฉลี่ย 3% ย้ำไทยต้องหาเครื่องยนต์ใหม่ ผ่าน Key Word 3 สำคัญ หนุนเศรษฐกิจโต “โลก-เทคโนโลยี-ยั่งยืน”
ดร.สันติธาร เสถียรไทย ที่ปรึกษาด้าน FUTURE ECONOMY สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ กล่าวในงานสัมมนา “Thailand Economic Drives 2025″ ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ว่า นับตั้งแต่เปิดปี 2568 ไทยเจอหลายเหตุการณ์ แต่คนมักจะบอกว่าไทย อึด ถึก ทน เพราะไทยมีความยืดหยุ่น (Resililense)
แต่หากดูการเติบโตไม่พอ เพราะหากย้อนกลับไปในก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งไทยเติบโต 7% และลดลงมาเหลือ 5% และช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เหลือ 3% และหลังโควิด-19 อยู่เฉลี่ยกว่า 2% ซึ่งปีนีัอาจจะดีกว่านั้น แต่โเยเฉลี่ย (Normal) เศรษฐกิจอย่างเก่งจะอยู่ที่ 3% เมื่อเทียบกับ อินโดนีเซีย 5-6% อินเดีย 7-8% และเวียดนาม 6-7%
ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่เติบโตน้อยลง ส่วนหนึ่งที่มีผล คือ ไทยมีแรงงานน้อยลง เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ไทยหดตัวลงเรื่อยๆ และประชากรน้อยลงเรื่อยๆ หากเทียบเป็นโรงงานที่มีแรงงานน้อยลง ซึ่งทางเดียว คือ การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งเราเป็น Generation เดอะแบก เพื่อให้ไทยอยู่รอด
ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของไทย คือ การหา Growth Engine เครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งจะมาจากไหน โดยจะมีอยู่ 3 Key Word สำคัญ คือ
1.Global การเติบโตสู่โลก และเอาโลกมาสู่เรา จะเห็นว่าหลังโดนัลด์ ทรัมป์มามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่มองว่าเป็นปลายเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนระเบียบโลก การเปลี่ยนขั้วอำนาจ เพราะในปี 2565 จีนหายรดต้นคอสหรัฐฯ และในปี 2593 โดยจีนจะขึ้นเป็นอันดับ 1 และอันดับ 3 คือ อินเดีย อันดับ 4 อินโดนีเซีย และอันดับ 5 เยอรมัน แปลว่า 3 ใน 5 เศรษฐกิจโลกอยู่ในเอเซีย และอยู่รอบๆ ประเทศไทย และเปลี่ยนจากตะวันตก เป็น ตะวันออก
“ต่อให้สหรัฐฯ ไม่ได้ตั้งกำแพงภาษีกับไทยเลยมแต่ไทยก็โดนหางเลข เพราะจีนผลิตสินค้าเหลือ และเป็นสินค้าที่ไทยผลิต และจีนไม่สามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้เลย จีนจะต้องระบายสินค้าไปทั่วโลก ทำให้การแข่งขันจะเข้มข้นขึ้น แต่ก็เป็นโอกาสของไทยที่จะมีการโยกย้ายการผลิตมาที่อาเซียน ซึ่งเราเห็นแล้วว่าในปี 66 มีการย้ายการลงทุนมาที่อาเซียนชนะจีน แม้ไทยจะยังไม่ใช่พระเอกของอาเซียน แต่เชื่อว่าปีนี้หรืออนาคตตัวเลขจะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่ไทยโดดเด่นจะเป็นเรื่องการดึงดูดคนเก่งเข้ามาได้อย่างไร”
2.เทคโนโลยี สิ่งที่น่าตื่นเต้น คือ การเข้าถึงเร็วขึ้น จะเห็นว่า Chat GPT ที่มีคนใช้กว่า 100 ล้านคนใช้เวลาแค่ 2 เดือน เมื่อเทียบกับเฟสบุ๊กที่ใช้เวลา 4 ปี และการมาของ DeepSeek ที่แม้ว่าสหรัฐฯ จะปิดกั้นการเข้าถึงชิป ดังนั้น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยจะเห็น Tech War เข้มข้นและรุนแรงขึ้น การดิสรัปของอิเล็กทรอนิกส์ซัพพลายเชน และการควบคุมกำกับ AI จะเบาบางลง เพราะทุกประเทศอยากเป็นอันดับ 1 ส่งผลให้การเข้าถึง AI และเทคโนโลยีดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น กว้างขึ้น และถูกขึ้น โดยไทยจะมีทางเลือกหลากหลายที่จะนำมาตอบโจทย์ได้
และ 3.ความยั่งยืน ไทยและทั่วโลกอยู่ในโลกที่ปั่นป่วนและเพี้ยนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทำให้คนมีความต้องการทางด้านสุขภาพและบริการ ซึ่งไม่ใช่แค่ Health แต่เป็น Wellness รวมถึง Personal Care ซึ่งไทยมีจุดแข็งทางด้านบริการ จะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิด High Value จากตรงนี้ได้
“ในช่วงที่พายุมาคลื่น และคลื่นกระแทก เราจะทำอย่างไรให้เราผ่านไปแล้วกลับมาเหมือนเดิม ผมอยากชวนคิดถึงอีกคำหนึ่งคำที่คนเขียนนักเขียน เช่น ซิมทาเล็บ ใช้คำว่า แอนติฟาจาย คือคนเขียนหนังสือเรื่องแบล็ค สวอน บอกว่า ไม่ใช่ล้มแล้วลุกกลับมาอยู่ที่เดิม แต่ล้มแล้วลุกกลับมาแกร่งยิ่งกว่าเดิม
เราต้องเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะว่าเมื่อเราเห็นโอกาสในทวิตนั่นคือโอกาสเหมือนนักกีฬาสูงวัยสามารถกลับมาชนะได้เช่นกัน คลื่นยักษ์ มันกำลังมา เราจะเลือกที่จะสร้างกำแพงแล้วมุดอยู่ใต้กำแพงหลบ คลื่น รอให้มันผ่านไป หรือเราจะคว้าบอร์ดอันหนึ่งมาแล้ว ยืนบนบอร์ดนั้นแล้วขี่คลื่นนั้นเพื่อไปข้างหน้า นั่นคือคำถามที่ผมว่าเราทุกคนต้องตอบให้ได้ภายในปี 2568 นี้”