ทรัมป์กลับลำ ทำตลาดเงินปั่นป่วน

Trump's tax scandal
President-elect Donald Trump speaks at a rally ahead of the 60th Presidential Inauguration, Sunday, Jan. 19, 2025, in Washington. (AP Photo/Evan Vucci)

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (10/4) ที่ระดับ 34.32/33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (9/4) ที่ระดับ 34.57/58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าอย่างรวดเร็วและผันผวนตลอดทั้งวัน ด้านดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวนอย่างมากเช่นเดียวกัน

โดยเช้าวันนี้ Dollar Index ลดแรงบวกลงแถวระดับ 102.94 หลัง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระงับการบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal tariff) กับหลายประเทศทั่วโลกยกเว้นประเทศจีน เป็นเวลา 90 วัน โดยมีผลบังคับใช้ในทันที ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ระงับภาษีดังกล่าวเนื่องจากว่าประเทศต่าง ๆ มากกว่า 75 ประเทศ ได้ติดต่อมายังเจ้าหน้าที่สหรัฐเพื่อทำการเจรจาหาทางออกต่อความกังวลทางการค้าที่เขาได้ยกมาเป็นเหตุผลในการเพิ่มการเรียกเก็บภาษีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเพิ่มการเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจากจีน สู่ระดับ 125% จากเดิมที่ระดับ 104% โดยมีผลบังคับใช้ในทันที เพื่อตอบโต้ต่อการที่จีนเพิ่มการเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐ สู่ระดับ 84% จากเดิมที่ระดับ 34% โดยมีผลบังคับใช้ในวันพฤหัสบดีที่ 10 เม.ย. นอกจากนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเช้าวันนี้ที่ระดับ 3,083.45 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ก่อนที่ระหว่างวันจะปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 3,100 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ โดยการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของราคมทองคำได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเพิ่มเติมอีกด้วย

ด้านปัจจัยในประเทศ วันนี้ (3/4) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ระบุว่ารัฐบาลไทยมีการเตรียมแผนรับมือไว้แล้ว และครอบคลุมเพียงพอ ในด้านของการเจรจากับสหรัฐ นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังกล่าวว่าได้รับการตอบรับจากฝั่งสหรัฐว่าจะมีโอกาสได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองประเทศ

แต่ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวันเดินทางอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้นายพิชัยระบุว่า หากการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จและเศรษฐกิจโลกเกินวิกฤต ประเทศไทยจะต้องเตรียมแผน 2 ไว้เพื่อรองรับ โดยสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือปรับเพดานหนี้สาธารณะเพื่อเปิดช่องให้เกิดการลงทุน ด้านตลาดหุ้นไทยวันนี้เปิดตลาดช่วงเช้าปรับตัวขึ้นกว่า 4% โดย SET ช่วงเช้าปรับตัวขึ้นที่ระดับ 1,136.58 จุด เพิ่มขึ้น 48.40 จุด มูลค่าการซื้อขายราว 27,818 ล้านบาท ทั้งนี้ระหว่างวันการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอยู่ในกรอบระหว่าง 34.10-34.28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.20/21 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

คาเงินยูโรเคลื่อนไหวเปิดดตลาดเช้านี้ (10/4) ที่ระดับ 1.0983/85 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (2/4) ที่ระดับ 1.1031/33 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยสหภาพยุโรป (EU) ให้การอนุมัติมาตรการตอบโต้สหรัฐ ที่มีการเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจาก EU ในอัตรา 20% ไปก่อนหน้านี้

ADVERTISMENT

โดย EU จะเรียกเก็บภาษีต่อสินค้าส่วนใหญ่จากสหรัฐในอัตรา 25% ซึ่งครอบคลุมสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่าราว 2.2 หมื่นล้านยูโรในปีที่แล้วแต่อย่างไร นายเบิร์น แลงจ์ ประธานคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของรัฐสภายุโรป กล่าวว่า ยังพร้อมที่จะเจรจากับสหรัฐ เนื่องจาก EU และสหรัฐยังคงมีโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1048-1.0942 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1039-42 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวเปิดตลาดเช้านี้ (10/4) ที่ระดับ 146.81/82 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (9/4) ที่ระดับ 145.15/18 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อวานนี้โยชิมาสะ ฮายาชิ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐ ยกเลิกมาตรการกำแพงภาษี โดยก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นพยายามร้องขอให้สหรัฐยกเว้นภาษี แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

ADVERTISMENT

แต่อย่างไรก็ตามนายฮายาชิกล่าวว่า จะยังคงเรียกร้องอย่างจริงจังอีกครั้งให้สหรับ ทบทวนมาตรการเหล่านี้ ท่ามกลางความกังวลว่า กำแพงภาษีที่สูงขึ้นอย่างมากนี้จส่งผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ด้านคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษี

โดยกล่าวว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้ภาวะเศรษฐิจและเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเผชิญกับความไม่แน่นอนในระดับที่รุนแรงขึ้น นายอุเอดะได้แถลงว่า BOJ จะจับตาผลกระทบของมาตรการภาษีที่มีต่ออุตสาหกรรมและการบริโภคภายในประเทศญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด และ BOJ จะทำการตัดสินใจ “อย่างเหมาะสม” ว่าควรจะรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อหรือไม่ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนอยู่ในกรอบระหว่าง 147.71-146.11 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 146.20/21 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ, ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) เดือน มี.ค.

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -7.3/-7.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -6.0/-4.8 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ