เปิด 5 กลุ่มหุ้น รับอานิสงส์ ครม.ไฟเขียวเบียร์สดใส่ถัง Keg ขายนอกโรงเบียร์ได้

เบียร์

บล.กรุงศรี ชี้ ครม.ไฟเขียวเบียร์สดใส่ถัง Keg ขายนอกโรงเบียร์ได้ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจฐานราก สู่ “Soft Power” แบบมีมูลค่าเพิ่ม เปิด 5 กลุ่มหุ้นรับอานิสงส์บวก แนะหุ้นกลุ่มบริการ Premium Service โดดเด่นขึ้น เน้นลงทุน AOT-MINT-BJC-CPALL-SCGP

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติเบียร์สดใส่ถัง Keg ขายนอกโรงเบียร์ได้ ผสานกับการทยอยคลายเงื่อนไขประกอบธุรกิจทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มรายได้ชุมชน หนุนซอฟต์พาวเวอร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเด็นข้างต้นมองว่า การที่ ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการผลิตสุรา (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่เสนอโดยกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ปลดล็อกข้อจำกัดการจำหน่ายคราฟต์เบียร์ เบียร์สดในถัง Keg ขายนอกโรงเบียร์ได้ทั่วประเทศ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในระดับโครงสร้าง ที่จะมีผลเชิงบวกต่อ 4 ระดับพร้อมกันดังนี้

1. รายได้ชุมชน : รัฐบาลสร้าง “เครื่องจักรทางเศรษฐกิจ” ตัวใหม่

  • ภาครัฐกำลังใช้สุราชุมชนเป็น Soft Power + GDP Multiplier : การเปิดเสรีครั้งนี้ไม่ใช่แค่ “ปลดล็อกธุรกิจ” แต่คือการสร้างเครื่องจักรเศรษฐกิจรากฐาน ให้สามารถผลิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Micro-Industry) เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นดัน Sake, เกาหลีใต้ Soju
  • คาดการณ์ GDP Multiplier 1.6-2.0 เท่า ต่อธุรกิจคราฟต์เบียร์หนึ่งแห่ง (จากการจ้างงาน, วัตถุดิบท้องถิ่น, บริการรองรับ)

2. การเกิดใหม่ของเศรษฐกิจ SMEs : พลิกชุมชนเป็นผู้ผลิต มูลค่าหมุนเวียนใหม่เกิดขึ้น

  • การเปิดเสรีให้ใช้ถัง Keg จำหน่ายนอกสถานที่ทั่วประเทศ = โอกาสทางรายได้ระดับหมู่บ้าน
  • สร้างธุรกิจใหม่ในชนบท ได้แก่ โรงต้มคราฟต์เบียร์, โฮมสเตย์-เบียร์, จุดท่องเที่ยวตามรอยสุราท้องถิ่น
  • ส่งเสริม “โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนระดับท้องถิ่น” ด้วยการใช้ผลผลิตข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ

3. การใช้ Soft Power แบบ Local Intelligence : อุตสาหกรรมใหม่ของไทยที่รัฐหนุนเต็มตัว

ADVERTISMENT
  • การยกระดับข้อกำหนดระยะห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะ เปิดโอกาสให้ตั้งโรงงานได้ทั่วประเทศ
  • แก้ Pain Point สำคัญของ startup/SMEs ที่ถูกจำกัดสิทธิมานาน
  • คาดเห็นการเกิดคลัสเตอร์ใหม่ของผู้ผลิตในภาคเหนือ อีสาน และภาคตะวันตก ที่มีวัตถุดิบหลากหลาย

4. การสร้าง S-Curve ใหม่ให้กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, บรรจุภัณฑ์, ค้าปลีก และเครื่องดื่ม

ในมุมกลยุทธ์ ตลาดหุ้นไทยได้อานิสงส์เชิงบวกระยะกลางถึงยาว โดยมีกลุ่มที่ได้อานิสงส์บวกดังนี้

1. ท่องเที่ยว : MINT, CENTEL, ERW, โรงแรม+รีสอร์ตสามารถจัดกิจกรรมคราฟต์เบียร์/ดึงนักท่องเที่ยวด้วยธีม Craft & Local

2. สนามบิน AOT เสริมการท่องเที่ยว รายได้ Duty-Free & Commercial Area จากคราฟต์เบียร์ไทยในสนามบิน

3. ค้าปลีก CPALL, BJC, CPAXT ได้สิทธิจำหน่ายคราฟต์เบียร์จากผู้ผลิตท้องถิ่นโดยตรง เพิ่มความหลากหลายของ shelf

4. บรรจุภัณฑ์ SCGP การ custom บรรจุภัณฑ์เฉพาะแบรนด์

5. เครื่องดื่ม/F&B CBG, ICHI, MALEE มีโอกาสรับจ้าง OEM หรือต่อยอดสร้างคราฟต์แบรนด์ของตนเอง