นักลงทุนกลับมาเข้าซื้อดอลลาร์ หลังร่วงหนักเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (24/7) ที่ระดับ 33.46/48 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยตามทิศทางของเงินสกุลในภูมิภาคจากระดับปิดตลาดในวันจันทร์ (23/7) ที่ระดับ 33.44/46 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากการที่นักลงทุนหันกลับมาถือครองดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ถูกเทขายอย่างหนักเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้ แม้จะถูกวิจารณ์จากประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัล ทรัมป์ เมื่อสัปดาห์ก่อน สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองร่วงลง 0.6% ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบรายเดือนสู่ระดับ 5.3% ล้านยูนิต โดยเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.42-33.48 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 33.42/44 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (24/7) ที่ระดับ 1.1693/96 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (23/7) ที่ระดับ 1.1695/98 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยเมื่อวานนี้มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนเดือนกรกฎาคม ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 0.6 สูงกว่าที่คาดไว้เพียงเล็กน้อยที่ -0.7 จึงทำให้ค่าเงินยูโรยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากภาพรวมการบริโภคของยูโรโซนยังคงอ่อนแอ ทั้งนี้นักลงทุนให้ความสนใจไปที่ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ (26/7) โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1655-1.1702 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1686/89 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนปิดตลาดเช้าวันนี้ (26/7) ที่ระดับ 111.19/21 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (23/7) ที่ 111.14/17 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในช่วงตลาดเงินนิวยอร์ก ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ที่ระดับ 110-74 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีนักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOI) อาจมีการปรับลดนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อส่งสัญญาณในการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะยาวให้ไปแตะที่ระดับ 0% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า (30-317) ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวส่งผลให้อัตรา่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึีน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น sbps มาอยู่ที่ระดับ 0.86% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะเดียวกันเมื่อวานนี้ (23/7) มีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือนกรกฎาคทม ปรับและลงสู่ระดับ 51.6 จากระดับ 53.0 ทั้งนั้นค่าเงินเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 111.07-111.51 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 111.17/20 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ประจำเดือน มิ.ย.สหรัฐ (25/7), ตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์สหรัฐ (25/7), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ และยูโรโซน (25/7), ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน มิ.ย.สหรัฐ (26/7), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐ (26/7), การประชุมนโยบายทางการเงิน ECB (26/7), ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2018 สหรัฐ (27/7) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือน ก.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (27/7)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -2.29-2.15 สตางค์ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -0.7/0.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

 

รับข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อย่าลืมกดติดตาม และกดปุ่ม See first (เห็นโพสต์ก่อน)
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์ ทันสมัย-ทันใจ
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้
ทั้งระบบ ios และ android

อ่านประชาชาติธุรกิจ ทั้งฉบับผ่าน e-Newspaper
ได้ที่แอปพลิเคชั่น Ookbee เลือก “ประชาชาติ”