รายงานการประชุมเฟดส่งสัญญาณการปรับดอกเบี้ย เฝ้าจับตาผลการเจรจา Brexit

แฟ้มภาพ

ฝายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2561 ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันอังคาร (16/10) ที่ 32.62/64 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ ผ12/10) ที่ 32.75/77 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้ปรับตัวอ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐปรับตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้มีการเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกประจำเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% ทั้งนี้ตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร ก็ได้ปรับตัวลดลง 0.1% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% โดยการปรับตัวลดลงของยอดคัาปลีกดังกล่าวเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงอย่างหนักของยอดขายร้านอาหารและบาร์ พร้อมทั้งกระทรวงการคลังสหรัฐ ได้มีการเปิดเผยยอดงบประมาณปี 2561 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน พบว่ามียอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 17% สู่ระดับ 7.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2555 โดยยอดขาดดุลที่พุ่งขึ้นสูงนั้น เป็นผลมาจากมาตรการการปรับลดภาษีและการเพิ่มงบประมาณในภาคกลาโหมของประธานาธิบดีโดนััลด์ ทรัมป์ ซึ่งตัวเลขขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2561 ดังกล่าวถือเป็นสัดส่วน 3.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือเพิ่มขึ้น 0.4% จากปีงบประมาณปี 2560

ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนกันยายน ซึ่งสนับสนุนกับมุมมองของนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ในการประชุมรอบเดือนธันวาคมในปีนี้ เพื่อให้นโยบายทางการเงินมีความสอดคล้องกับเศรษฐกิจของสหรัฐ ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยรายงานการประชุมดังกล่าวได้เปิดเผยว่า ตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนของผู้ประกอบการในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบรายปี อัตราเงินเฟ้อโดยรวมและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็เคลื่อนไหวอยู่ใกล้ระดับร้อยละ 2 ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายของเฟด

ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศนั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เห็นชอบกับเป้าหมายการส่งออกในปี 2562 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ การขยายตัว 8% คิดเป็นมูลค่า 276,011 ล้านดอลลาร์ โดยมีปัจจัยเสี่ยงทีี่ต้องระมัดระวัง ได้แก่ ค่าเงินผันผวน โดยรองนายกกล่าวว่าค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยสิ่งที่เป็นปัจจัยบวกยังคงมี คือความโดดเด่นของไทยในอาเซียน และการค้าชายแดน โดยระหว่างสัปดาห์ ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบ 32.41-32.77 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และยังคงมีแนวโน้มผันผวนอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยการเคลื่อนย้ายเงินทุนหลังจากที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความกังวลสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และซาอุดิอาระเบีย และความกังวลต่อสถานการณ์การเจรจา Brexit รวมทั้งภาวะหนี้ของอิตาลี โดยค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.60/62 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ในส่วนของค่าเงินยูโรนั้น เปิดตลาดในวันอังคาร (16/10) ที่ระดับ 1.1588/89 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (12/10) ที่ 1.1582/84 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินยูโรได้รับแรงกดดันจากการเจรจาจากการถอนตัวของอังกฤษจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) ที่ยังไม่มีความคืบหน้า โดยนักลงทุนจับตาการเจรจาว่าจะมีความคืบหน้าหรือไม่ โดยรายงานล่าสุดระบุว่า นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้แสดงความพร้อมที่จะพิจารณายืดระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายมีเวลาเจรจาการค้าได้มากขึ้น ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผุ้ที่สนับสนุนให้อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยขณะนี้ นักลงทุนกำลังจับตานายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งมีกำหนดแถลงต่อที่ประชุมผู้นำสหภาพยุดรป เรื่องการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป โดยทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับประเด็นชายแดนไอร์แลนด์เหนือ ในขณะที่สหภาพยุโรป (EU) ได้ปฏิเสธแผนการใช้จ่ายของรัฐบาลอิตาลี และกำลังแจ้งผลการพิจารณางบประมาณของอิตาลีไปยังกรุงโรม

อย่างไรก็ตามนายกุนเทอร์ ออตติงเจอร์ หัวหน้าคณะกรรมาธิการงบประมาณของ EU กล่าวว่า รายงานของสื่อดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน และได้กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่ EU จะขอให้อิตาลีแก้ไขร่างงบประมาณจากเดิมที่รัฐบาลอิตาลีต้องการเพิ่มตัวเลขขาดดุลงบประมาณสู่ระดับดับ 2.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปีหน้าให้เป็นงบประมาณที่มีความสมดุลเนื่องจากอิตาลีมีหนี้ภาครัฐจำนวนมาก ทั้งนี้ได้มีการเปิดเผยตัวเลขความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรป จากสถาบัน ZEW ประจำเดือนตุลาคมออกมา ลดลง 19.4 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 9.2 ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1433-1.1565 ดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1443/45 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับค่าเงินเยนนั้น เปิดตลาดในวันอังคาร (16/10) ที่ระดับ 111.87/89 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (12/10) ที่ระดับ 112.27/29 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ค่าเงินเยนได้รับแรงหนุนจากเข้าถือครองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากเหตุความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และซาอุดิอาระเบีย

ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ (15/10) ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น ได้มีการประกาศการปรับขึ้นภาษีอุปโภค บริโภคของญี่ปุ่นจากระดับ 8% เป็น 10% โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2562 โดยเหตุการณ์ปรับขึ้นภาษีดังกล่าวนั้นเพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณสนับสนุนด้านการเงินหลังจากที่ญี่ปุ่นได้เข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ในขณะที่กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 1.0% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยได้แรงหนุนจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นรายงานระบุว่าดัชนี CPI พื้นฐานเดือน ก.ย. ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารเนื่องจากมีความผันผวนนั้น ขยายตัวรวดเร็วกว่าในเดือน ส.ค. ซึ่งปรับตัวขึ้น 0.9% และเป็นการขยายตัวติดต่อกันเดือนที่ 21 อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อนั้นยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ระดับ 2% ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 111.63-112.76 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 112.46/49 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ