ธปท.จับมือแบงก์ชาติสิงคโปร์ ร่วมมือกำกับดูแลฟินเทค

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ร่วมลงนามในความตกลงร่วมมือด้าน FinTech และบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการกากับดูแลสถาบันการเงินฉบับปรับปรุง ในระหว่างการประชุมทวิภาคีระหว่างทั้งสองธนาคารกลาง ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจาทุกสองปี โดยในปีนี้ธนาคารกลางสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ

ความตกลงร่วมมือด้าน FinTech มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศทางการเงินของไทยและสิงคโปร์ รวมไปถึงภูมิภาคอาเซียนให้ดียิ่งขึ้น โดยส่งเสริมให้ ธปท. และ MAS แบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดเกิดใหม่และประสิทธิผลของการกากับดูแลต่อกฎระเบียบในปัจจุบัน อีกทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างบริษัท FinTech ที่เป็นคู่ค้ากัน ความตกลงฉบับนี้แสดงถึงเจตจานงของธนาคารกลางทั้งสองในการร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับโครงการนวัตกรรม โดยเฉพาะการให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดน

ในส่วนของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการกากับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งปรับปรุงจากฉบับเดิมที่ได้ ลงนามเมื่อปี 2549 เป็นการกระชับความร่วมมือในการรักษาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบสถาบันการเงินของทั้งสองประเทศ บันทึกความเข้าใจฉบับปรับปรุงนี้แสดงถึงความตั้งใจของธนาคารกลางทั้งสองในการยกระดับความร่วมมือ ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การพิจารณาให้ใบอนุญาต (licensing) การตรวจสอบสถาบันการเงิน การจัดตั้ง supervisory colleges และการบริหารจัดการสถาบันการเงินในภาวะวิกฤติร่วมกัน

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การลงนามในเอกสารทั้งสองฉบับเป็นอีกหนึ่งก้าวสาคัญในการยกระดับความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางทั้งสองในด้านการกากับสถาบันการเงินและ FinTech เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภูมิภาคท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินจะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงและยกระดับบริการทางการเงินในภูมิภาค


นาย Ravi Menon ผู้ว่าการธนาคารกลางสิงคโปร์ กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางสิงคโปร์ เป็นพันธมิตรในการรักษาและเสริมสร้างเสถียรภาพระบบการเงินมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ธนาคารกลางทั้งสองแห่งยังมีเจตนารมณ์สอดคล้องกันในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อตอบสนองตลาดในภูมิภาค ซึ่งความตกลงทั้งสองฉบับเป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังแสดงถึงการตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดนอีกด้วย