ผู้ว่าฯ​ธปท.ชู​ 3​ ประเด็นสร้างภูมิคุ้มกัน​คนไทย​ เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน​-เข้มกำกับผู้ให้บริการ​ทางการเงิน​

นายวิร​ไท​ สันติประภพ​ ผู้​ว่า​การ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไ​ทย​ (ธปท.)​ กล่าวใน​งานสัมมนา “แนวพระราชดำริ ภูมิคุ้มกันสังคม วัคซีนธุรกิจยั่งยืน” ลดเหลื่อมล้ำ หนุนเศรษฐกิจฐานราก จากเหนือจดชายแดนใต้​ ว่า​ ภาวะเศรษฐกิจ​ไทยหรือเศรษฐกิจ​โลกนั้น​เป็นวัฏจักร​ โดยความผันผวน​เป็นเรื่องระยะสั้น​ แต่ควรมองเรื่องการสร้าง​ภูมิคุ้มกัน​ระยะ​ยาวมากกว่า​ ทั้งต้องดูว่าจะทำอย่าง​ไรให้คนไทยอยู่อย่าง​มีความหวัง​ว่าชีวิต​ความเป็นอยู่​ข้าง​หน้าจะดีขึ้น

ทั้งนี้​ การ​สร้าง​ภูมิคุ้มกัน​มีความท้าทาย​ โดยมี​ 3​ ประเด็น​ที่​ต้อง​พิจารณา​ คือ​ 1.ทำอย่างไร​ให้คนไทย​เก่งขึ้น​ และใช้ความเก่งอย่าง​เต็ม​ความสามารถ​ 2.คำนึงถึงความยั่งยืน​ไม่เบียด​บังทรัพยากร​หรือคุณ​ภาพ​ชีวิตของคนรุ่นต่อไปมาใช้​ เช่น​ การตั้งงบประมาณ​ขาดดุลมากๆ ก็จะเป็นการเบียดบัง​ทรัพยากร​ในอนาคตมาใช้​ เป็น​ต้น​ และ​ 3.​ทำอย่าง​ไรให้​มีภูมิคุ้มกัน​ที่ดี

 

 

“การจะทำให้คนไทย​เก่งขึ้น​ เรื่องที่สำคัญ​ก็คือการศึกษา​ ที่ทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาเป็นการเรียนรู้​ตลอดชีวิต” นายวิร​ไท​กล่าว

นายวิรไท​กล่าวว่า​ ภาคธุรกิจ​ก็ต้องคิดอย่างยั่งยืน​จึงจะทำธุรกิจ​อย่าง​มีภูมิคุ้มกัน​ได้​ ขณะที่​การจะทำ​ให้สังคมอยู่อย่าง​มีความหวัง​มากกว่า​ความกลัว​ ต้องสร้าง​กลไกรองรับเหตุการณ์​ที่เกิด​ขึ้นอย่าง​คาดไม่ถึงได้​ อย่างเช่น​ การทำประกัน​ ที่ปัจจุบัน​มีประกันภัย​รายย่อย​ (ไมโคร​อินชัวรันส์)​ เป็นต้น

สำหรับ​ปัญหา​หนี้ครัวเรือน​ที่อยู่​ระดับสูง​ในปัจจุบั​นนั้น​ นายวิร​ไท​กล่าวว่า​ ส่วนหนึ่งที่สำคัญ​เกิดจากรัฐบาล​ก่อนหน้านี้​มีการทำนโยบาย​รถคันแรก​ จึงเป็นตัวเร่งหนี้ครัวเรือน​ขึ้นมา​ และต่อมาก็มีการแข่งขัน​ปล่อยสินเชื่อรายย่อย​ของผู้ให้บริการ​ทางการเงิน​ มีทำโปรโมชั่น​ผ่อน​ 0% กันมาก​ ซึ่งจากการศึกษา​ของ​ ธปท.​ พบว่าเด็กจบ​ใหม่​ที่เพิ่งเริ่มต้น​ทำงาน​ พร้อมจะก่อหนี้เพื่อไปเที่ยวญี่ปุ่น​ เพราะมีโปรโมชั่น​ 0% 6 เดือน​ รวมถึง​พฤติกรรม​ช็อปปิ้ง​ออนไลน์​ เป็น​ต้น

“การออม​เป็น​เรื่องสำคัญ​ แต่ภาวะ​ดอกเบี้ย​ที่ต่ำมาเป็น​เวลานาน​ ก็ไม่จูงใจ​ให้เกิดการออม​ อย่าง​ไรก็ดี​ ธปท.​ก็พยายาม​ดูไม่ให้มีการแข่งขัน​กันจนเกินพอดี​ แต่ทั้งนี้​ ธปท.ก็​ไม่ได้​กำกับผู้ให้​บริการ​การเงิน​ทั้งหมด​ อย่างสหกรณ์​หรือลีสซิ่ง​ ก็ไม่ได้​กำกับ​” นายวิร​ไท​กล่าว

โดย​สิ่งที่​ ธปท.ดำเนินการที่ผ่านมา​คือ​ การทำคลินิก​แก้หนี้​ เพื่อ​ช่วยให้คนออก​จากวงจร​หนี้ได้​ การปรับเกณฑ์​กำกับ​ดูแล​สินเชื่อต่าง​ๆ​ ทั้งสินเชื่อบ้าน​ สินเชื่อ​ส่วนบุคคล​ บัตรเครดิต​ สินเชื่อ​ทะเบียน​รถ​ และ​ล่าสุดก็มีการลงนามบันทึก​ข้อตกลง​ร่วมกันกับสถาบัน​การ​เงินให้มีการปล่อยสินเชื่อ​อย่าง​มีความรับผิดชอบ​ ซึ่งก็มีผลทำให้บางแบงก์​เลิกทำโปรโมชั่น​ผ่อน​ 0% ทันที