ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ5เดือน หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า และการคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดจะคลี่คลายลง + ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ จากความไม่แน่นอนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. นี้หรือไม่ ส่งผลให้ผู้ที่ถือสกุลเงินอื่น มีความรู้สึกว่าราคาน้ำมันถูกลงและมีความดึงดูดมากขึ้น + ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ว่าตลาดน้ำมันกำลังเข้าสู่ภาวะสมดุล เนื่องจากความต้องการใช้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป อีกทั้งอุปทานจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังปรับตัวลดลง จากความไม่สงบในลิเบียและผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนในสหรัฐฯ + IEAและโอเปก ต่างคาดการณ์การขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันดิบในปี 2561 ยังคงอยู่ในระดับที่ดี โดย IEA คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ในปีหน้าจะขยายตัว 1.40 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่โอเปกคาดการณ์ว่าความต้องการใช้จะขยายตัว 1.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน + ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกเริ่มมีการพูดคุยถึงการขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตจาก มี.ค. 61 ออกไป เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง จากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากการคาดการณ์ความต้องการใช้มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม หลังหมดช่วงของฤดูฝน ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 53-57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่น่าจับตามอง จับตาการเคลื่อนตัวของพายุลูกใหม่ที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งสหรัฐฯ โดยล่าสุดพายุเฮอร์ริเคน Irma ซึ่งได้พัฒนาความรุนแรงสู่ระดับ 5 และคาดว่าจะเป็นพายุ 1 ใน 5 ที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 80 ปี ได้เคลื่อนผ่านหมู่เกาะในทะเลคาลิบเบียน และกำลังเคลื่อนตัวเข้ารัฐฟลอลิด้าในช่วงสุดสัปดาห์ก นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการเคลื่อนตัวของพายุ Jose และ Katia ที่คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งสหรัฐฯ เร็วๆ นี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งสู่ระดับมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากลิเบียสามารถเปิดดำเนินการแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Sharara ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 280,000 บาร์เรลต่อวันได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังได้ทำการซ่อมแซมท่อขนส่งน้ำมันที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งผลิตกับท่าเรือ Zawiya เสร็จสิ้นแล้ว ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะกลับมาดำปรับลดลงในสัปดาห์นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันในพื้นที่ชายฝั่งของอ่าวเม็กซิโกสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้แล้วประมาณร้อยละ 4 ของกำลังการผลิตทั้งหมด หลังในสัปดาห์ก่อนหน้ามีการปิดดำเนินการไปทั้งสิ้นกว่า 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 24 ของกำลังการผลิต