บล.บัวหลวง รายงานภาวะรอบด้านตลาดหุ้น 19 กันยายน 2560

วิเคราะห์ตลาดและแนวโน้ม

เมื่อไรที่หุ้นบูลชิพใหญ่พัก หุ้นเล็กจะขึ้น

เมื่อวานดัชนีฯ ขึ้นทดสอบแนวต้าน ระยะสัปดาห์บริเวณ 1,680 จุด “คาดว่าจากบริเวณนี้ขึ้นไป ดัชนีฯ (หุ้นใหญ่บางตัว) จะเริ่มมีแรงขายมากขึ้น เพราะดัชนีฯเริ่มเข้าโซน Super Overbought จาก Indicator Modified stochastic ที่เกิน 90%K ขึ้นไปทั้ง กราฟรายวัน รายสัปดาห์ และ รายเดือน เป็นสัญญาณเตือนของการปรับฐาน คาดจะเริ่มเห็นการปรับฐานเมื่อเข้าสู่ เดือน ตค.” แต่แรงขายจะไม่รุนแรง จากคาด Wealth effect ช่วยพยุงตลาด และ หุ้นกลาง-เล็กที่มีปัจจัยพื้นฐานรอสนับสนุนจะขึ้นแทน

วันนี้คาดดัชนีฯ “พัก” 1,662-1,675 หลังจากทดสอบแนวต้านรายสัปดาห์ และตลาดจะวนเข้าเล่นหุ้น บูลชิพขนาดกลาง รวมถึงหุ้นตัวเล็ก ที่มีปัจจัยพื้นฐานรอสนับสนุน

สัปดาห์นี้คาดดัชนีฯปรับขึ้นต่อ แนวต้าน 1,680 รับ 1,650 จุด จาก จิตวิทยาบวก (1) Window dressing โดยเน้นการเก็งกำไรไปที่หุ้น IPO ใหม่ๆในปีนี้ เช่น ASAP III ZIGA เป็นต้น และหุ้นที่มีกองทุนต่างชาติซื้อ
ยกบิ๊กล็อตไปก่อนหน้าเช่น เทมเพิลตันซื้อ GIFT JWD MACO VGI เป็นต้น (2) ปัจจัยต่างประเทศคาดผล
การประชุมเฟด จะลดงบดุล (Balance sheet roll out) ในเดือน ตค., คงดอกเบี้ยกรอบ 1-1.25% และให้
มุมมอง นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย คาดเป็นบวกต่อการลงทุนตลาดหุ้นโลก

หุ้นแนะนำวันนี้

CIMBT แนวรับ 1.11 บ. ต้าน 1.20 stop loss 1.05 บ. เมื่อกลางปีนี้เพิ่งเพิ่มทุน (Right offering) ไปใน
ราคา 1 บ. (Downside เชิงจิตวิทยาจำกัดที่ 1 บ.) ทำให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง และ trailing PBV ลง
มาเหลือ 1 เท่า ขณะที่กำไร 3Q17 คาดมีโอกาสจะดีกว่าตลาดคาดจากกำไร “เงินลงทุนเพื่อค้า” ส่วนหนึ่ง
คาดมาจากหุ้น+งาน Underwrite “III” เมื่อเดือน กย.ที่ผ่านมา ซึ่งฐานกำไร CIMBT ค่อนข้างเล็ก กำไรเงิน
ลงทุนจึงมีนัยยะต่อกำไรสุทธิ

หุ้นใน MSCI ที่ยังมี Upside to fair มากกว่า 10% :

BJC แนวรับ 52 ต้าน 54 Stop loss 51

CPF แนวรับ 27 ต้าน 28.5 Stop loss 26

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด

(+) พฤหัสนี้ ปธน.สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ และนายกญี่ปุ่น ประชุมนอกรอบก่อน UN หารือแนวทางแก้ปัญหาเกาหลีเหนือ (คาดความเสี่ยงปัญหาเกาหลีเหนือ ส่งผลต่อหุ้นสหรัฐ และ เอเชียเหนือ แต่มองเป็นบวกต่อหุ้น S.E Asia โดยเฉพาะไทยที่ Laggard ภูมิภาค)

(+) การประชุมธนาคารกลาง เช่น FOMC, BOJ, ธนาคารกลางอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ในสัปดาห์นี้คาดส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย โดยตลาดคาดเฟดคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ และ มีโอกาสไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธค.โดย 53% คาดคงดอกเบี้ย และ 45% คาดขึ้นดอกเบี้ย