ธปท.ยืดเวลา “แบงก์-บล.” ส่งข้อมูล “เก็งกำไรค่าเงินบาท” ช่วงโควิด-19 ระบาด

แบงก์ชาติ ธปท. ค่าเงินบาท กนง.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1 เมษายน 2563) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหนังสือเวียนแจ้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทุกบริษัท ถึงการผ่อนผันการจัดส่งรายงานข้อมูล 3 เรื่อง เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงิน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ไปจนกว่า ธปท. จะแจ้งยกเลิกเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

ประกอบด้วย 1. รายงานธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์กู้ยืมเงินบาท หรือเสมือนการกู้ยืมเงินบาทจาก Non-resident (ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศไทย) แบบมีและไม่มี Underlying รองรับ จากเดิมที่กำหนดจัดส่งเป็นรายวัน โดยรวบรวมจัดส่งเป็นรายเดือน ภายใน 12.00 น. ของวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ผ่อนผันให้สามารถรวบรวมข้อมูลรายวันดังกล่าว จัดส่งเป็นเป็นรายเดือน ภายในสิ้นเดือนของเดือนถัดไป

2. รายงานยอดคงค้างทรัพย์สินประเภทเงินของลูกค้า Non-resident ที่มีอยู่กับบริษัทหลักทรัพย์ จากเดิมที่กำหนดจัดส่งเป็นรายวัน ภายใน 1200 น. ของวันทำการถัดจากวันที่เกิดธุรกรรม ผ่อนผันให้สามารถรวบวมข้อมูลรายวันดังกล่าวจัดส่งเป็นรายสัปดาห์ ภายใน 12.00 น. ของวันทำการแรกของสัปดาห์ถัดไป เช่น ข้อมูลสำหรับวันที่ 13-17 เมษายน 2563 สามารถส่งได้ภายใน 1200 น. ของวันที่ 20 เมษายน 2563

3. รายงานข้อมูลยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ด้รับผลประโยชน์ ที่แท้งจริง (Non-resident Ultimate Beneficiary Owners) จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ผ่อนผันให้สามารถส่งข้อมูลภายใน 2 เดือนถัดไป เช่น ข้อมูลเดือนมีนาคม 2563 ให้สามารถส่งได้ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563

นอกจากนี้ ธปท. ยังมีหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 5 แห่ง เพื่อผ่อนผันการส่งรายงานข้อมูลให้แก่ ธปท. 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่

1. การจัดส่งข้อมูลธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (DMS FM) ประกอบด้วย (1.1) ข้อมูลรายวัน จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายใน 3 และ 7 วันถัดจากวันที่เกิดธุรกรรม ผ่อนผันให้สามารถรวบรวมส่งข้อมูลรายวันที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ของเดือน จัดส่งภายในสิ้นเดือนของเดือนเดียวกัน และข้อมูลที่เกิดตั้งแต่วันที่ 16 – วันสิ้นเดือน ให้จัดส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (2) ข้อมูลรายเดือน จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายใน 10 วันนับจากวันสิ้นเดือนที่รายงาน ผ่อนผันให้สามารถจัดส่งภายใน 15 วันนับจากวันสิ้นเดือนที่รายงาน

2. การจัดส่งข้อมูลตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ประกอบด้วย (2.1) ข้อมูลรายวัน (DF_OLB, DF_BDA และ DF_DWT) จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายใน 12.00 น. ของวันทำการถัดไป ผ่อนผันให้สามารถรวบรวมข้อมูลรายวันดังกล่าวจัดส่งเป็นรายสัปดาห์ ภายใน 12.00 น ของวันทำการแรกของสัปดาห์ถัดไป เช่น ข้อมูลสำหรับวันที่ 13- 17 เมษายน 2563 สามารถส่งได้ภายใน 12.00 น. ของวันที่ 20 เมษายน 2563

(2.2) ข้อมูลรายตือน (DF_SLB) จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายในวันทำการแรกของเดือนถัดไป ผ่อนผันให้สามารถจัดส่งภายในวันทำการแรกของเดือนที่ 2 ถัดจากเดือนของข้อมูลที่รายงาน (2.3) รายงานยอดคงค้าง NRB ณ สิ้นวันเกินกว่ากำหนด โดย Non-resident มีภาระต้องเตรียมเงินบาทเพื่อใช้ชำระธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าการลงทุนในประเทศไทยในวันทำการถัดไป (รายงาน R02) จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายในสิ้นวันของวันที่มียอดคงค้างเกิน ผ่อนผันให้สามารถรวบรวมข้อมูลรายวันดังกล่าวจัดส่งเป็นรายสัปดาห์ ภายใน 12.00 น. ของวันทำการแรกของสัปดาห์ถัดไป เช่น ข้อมูลสำหรับวันที่ 13-17 เมษายน 2563 สามารถส่งได้ภายใน 12.00 น. ของวันที่ 20 เมษายน 256

3. การจัดส่งข้อมูลการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (ข้อมูลเร็ว) และอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย (3.1) ข้อมูลเร็วระหว่างวัน (DF_FXM) จากเดิมที่กำหนดจัดส่ง 4 รอบต่อวัน ผ่อนผันให้จัดส่ง 2 รอบต่อวันของทุกวันทำการ คือ รอบ 8.30 น. และ 16.30 น. (3.2) ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนของธนาครพาณิชย์ (DF_FCR) จากเดิมที่กำหนดให้รายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่สถาบันการเงินประกาศระหว่างวันทุกครั้ง ผ่อนผันให้สามารถรวบรวมส่งเพียงครั้ง
เดียวได้ภายใน 16.30 น.ของทุกวันทำการ

และ 4. การจัดส่งข้อมูลยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (Non-resident Ultimate Beneficiary Owners) ประกอบด้วย (4.1) ข้อมูลยอดคงค้างการถือครองตรสารหนี้ที่ออกในประทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ผ่อนผันให้สามารถส่งข้อมูลภายใน 2 เดือนถัดไป เช่น ข้อมูลเดือนมีนาคม 2563 ให้สามารถส่งได้ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563

ทั้งนี้ ธปท. อาจขอข้อมูลข้างต้นก่อนวันครบกำหนดการจัดส่งข้อมูลในบางกรณีหากจำเป็น