ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลโควิด-19

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สถานการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 7 เมษายน 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (7/4) ที่ระดับ 32.82/83 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (7/4) ที่ระดับ 32.93/93 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ บาทปรับตัวแข็งค่าจากปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (3/4) โดยปรับตัวแข็งค่าจากราคาทองคำที่พุ่งตัวสูงขึ้นเมื่อเช้านี้ (7/4) และดอลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเรื่องโรคระบาดโควิด-19 และนักลงทุนได้เทขายเงินดอลลาร์เพื่อทำกำไร กระทรวงพาณิชย์เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ ในเดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ 101.82 ลดลง -0.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง -0.86% จากเดือน ก.พ. 63 โดยในช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 63 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.41%

โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 3 และมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อภาคเอกชนของ ธปท. ตลอดจนมาตรการรับมือควมเสี่ยงจากโคิด-19 ของหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่ภาพรวมข้อมูลเศรษฐกิจ สหรัฐยังคงแย่ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมาแย่กว่าคาด

นอกจากนี้ตลาดเริ่มมีความหวังว่าหลายประเทศหลายเมืองในยุโรปอัตราผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดเริ่มลดลง กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรดิ่งลง 701,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2553 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 10,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 4.4% ในเดือน มี.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.7% หลังจากแตะระดับ 3.5% ในเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี

นอกจากนี้ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่าดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 52.5 ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2559 จากระดับ 57.3 ในเดือน ก.พ. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 44.0 ดัชนีภาคบริการของสหรัฐถูกกดดันจากการร่วงลงของดัชนีคำสั่งซื้อใหม่แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2559 ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 32.72-32.91 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 32.77 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (7/3) ที่ระดับ 1.0792/93 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (3/4) ที่ระดับ 1.0825/26 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ นักลงทุนกำลังประเมินข้อมูลที่ว่าอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าในยุโรปกำลังชะลอตัวลง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในญี่ปุ่นและบางประเทศในเอเชียกลับเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ต้องติดตามในภายหลังคือรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเรียกประชุมทางไกลเพื่อหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการระดมทุนเพื่อตอบสนองนโยบายของภูมิภาคต่อไวรัส โดยมีแผนการหลายข้อในการพูดคุย แต่ข้อเสนอของสเปนและอิตาลีที่ร่วมกันออก “Coronabonds” น่าจะถูกปฏิเสธโดยเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และอื่น ๆ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0783-.0877 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0868/71 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (7/4) ที่ระดับ 109.81/20 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ออนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (3/4) ที่ระดับ 108.42/47 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากญี่ปุ่นเตรียมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในประเทศ

ทั้งนี้ นักลงทุนกำลังประเมินข้อมูลที่ว่าอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าในยุโรปกำลังชะลอตัวลง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในญี่ปุ่นและบางประเทศในเอเชียกลับเพิ่มขึ้น สถานการณ์แพร่ระบาดที่ยังไม่สู้ดีในญี่ปุ่นส่งผลให้นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเตรียมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ

นายอาเบะเปิดเผยต่อที่ประชุมพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ในวันนี้ว่า คาดว่าจะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันพรุ่งนี้ โดยจะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 6 พ.ค.ครอบคลุมพื้นที่กรุงโตเกียว โอซาก้า และอีก 5 จังหวัด นอกจากนี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี

สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของครัวเรือนที่ประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่สองคนขึ้นไป อยู่ที่ 30.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด นับตั้งแต่ที่เคยแตะที่ระดับ 29.4 เมื่อเดือน มี.ค. 2552 ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลก ตัวเลขที่ลดลง 7.4 จุด ยังเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2547 เมื่อครั้งที่สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเริ่มทำผลสำรวจเป็นประจำทุกเดือน โดยคาดว่าที่ดัชนีลดลงอย่างมากอาจเกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทั้งนี้ระห่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 108.65-109.27 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 108.90/93 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.ของเยอรมนี ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน มี.ค.ของจีน ดัชนีราคาบ้านเดือน มี.ค.จากฮาลิแฟกซ์ของอังกฤษ และตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน ก.พ. ของสหรัฐ ส่วนในวันพรุ่งนี้ ดุลบัญชีเดือนสะพัดเดือน ก.พ. และยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน ก.พ. ของญี่ปุ่น ดุลการค้าเดือน ก.พ.ของอังกฤษและเยอรมนี (9/3) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มี.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และสต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือน ก.พ. ของสหรัฐ (9/3) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค. ของสหรัฐ (10/3)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.2/+0.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเททศอยู่ที่ +0.75/+2.75 สตางค์/ดลลาร์สหรัฐ